ในโลกของวงการฟุตบอลสมัยใหม่ นอกจากแต่ละสโมสรจะมีผู้เล่นระดับ Super Star เพื่อดึงดูดความน่าสนใจต่อแฟนบอลประจำแล้ว “สเตเดียม” จึงเปรียบเสมือนไอคอนส่วนหนึ่ง ที่คอยย้ำเตือนความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ความสำเร็จ จิตวิญญาณ รวมถึงธุรกิจและระดับการเงินของสโมสรว่ามีความแข็งแกร่งมั่นคงเพียงใด การสร้างสเตเดียมแต่ละแห่ง จำต้องใช้งบประมาณสูง ทั้งในด้านการจัดซื้อวัสดุ การจัดซื้อหรือเช่ายืมที่ดิน และการว่าจ้างผู้เกี่ยวข้องในทุกฝ่าย ซึ่งนั่นจึงเป็นโจทย์หลักและจุดเปลี่ยนให้มาขบคิดว่า แล้วถ้าเราจะสร้างสนามฟุตบอลด้วยงบประมาณที่ลดลง สามารถก่อสร้างขนส่งรวดเร็ว พร้อมทั้งปรับแต่งขนาดไซต์ได้สะดวกขึ้นล่ะจะทำได้ไหม?…

เพื่อต้อนรับมหกรรมฟุตบอลโลก 2022 อีก 8 ปีข้างหน้าในประเทศกาตาร์ สุดยอดไอเดียพลิกโฉมประวัติศาสตร์ของวงการสถาปัตยกรรมโลกฟุตบอลจึงได้ถือกำเนิดเกิดขึ้น ด้วยโปรเจ็กต์การสร้างสรรค์สเตเดียม Ras abu aboud stadium ด้วยวัสดุบล็อกแยกส่วน โดยเป็นผลงานจากสถาปนิก Fenwick Iribarren สามารถจุที่นั่งได้ราว 40,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ทางริมน้ำของเมืองโดฮา เมืองทางตะวันออกกลาง ด้วยคอนเซ็ปต์การแสดงถึงนวัตกรรมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การลดใช้วัสดุเพื่อลดการสร้างขยะ และลดการปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง

โครงสร้างภาพรวมทั้งหมดเป็นเสาเหล็ก คานเหล็ก และตู้คอนเทนเนอร์ โดยจุดเด่นของสนามแห่งนี้ จะอยู่ในเรื่องของการติดตั้งที่รวดเร็วและสามารถรื้อถอนโครงสร้างเพื่อย้ายสถานที่ตั้งสเตเดียมได้ แค่มีลานกว้างหรือสนามหญ้าเปิดโล่งเพียงเท่านั้น นอกจากนี้เรื่องการจัดส่งวัสดุอุปกรณ์สำหรับติดตั้งโครงสร้าง ก็ไม่ได้เป็นปัญหาหลักสำคัญนัก เนื่องจากถูกกำหนดให้ใช้การขนส่งทางน้ำผ่านเรือขนส่งเป็นหลัก จึงทำให้เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเคลื่อนย้ายรวมถึงลดระยะเวลาการก่อสร้างลงเป็นเท่าตัว

www.designboom.com

Previous articleTHE ESSE SUKHUMVIT 36 สมดุลแห่งความต่าง สไตล์ไทยร่วมสมัย
Next articleสภาวิศวกรสรุปผลการทดสอบวิศวกรจีน รุ่น 1-3 เดินหน้าจัดหลักสูตรถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านการออกแบบ เพื่อรองรับโครงการเฟส 2