Penda สตูดิโอสถาปัตยกรรมในปักกิ่งและเวียนนา วางแผนการออกแบบสะพาน ‘San Shan Bridge’ พาดผ่านแม่น้ำ Giu ในจีน ใช้เป็นทางเข้าออกระหว่างเมืองใหญ่ ๆ อย่างปักกิ่ง ไปยังแม่น้ำสายอื่น ทางเหนือ

โดยรูปแบบของสะพาน จะเป็นรูปห่วงทั้งหมด 5 ห่วง ไขว้ตัดกันไปมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโอลิมปิกฤดูหนาว ที่กำลังจะมีขึ้นในปี 2022 ซึ่งโครงสร้างของสะพานจะตัดขวางและคานกันอยู่ทั้งด้านล่างและด้านบน ด้วยดีไซน์แบบเกลียวขดคล้ายก้นหอย สร้างโดยบริษัทวิศวกรรมโครงสร้าง ที่ชื่อ Arup ที่มีลูกเล่นในการดีไซน์ให้โค้งรอบสะพานมีความบางมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การจัดวางตำแหน่งของสะพานก็ออกแบบให้เกิดเป็นโครงสร้างที่ลงตัวที่สุดด้วยเช่นกัน

San Shan Bridge

San Shan Bridge หมายถึง ภูเขาทั้งหมด 3 ลูก มีกำหนดเปิดใช้พร้อมกันกับการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว ที่จะมีขึ้นในปี 2022 ซึ่งสะพานแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยหุบเขาจำนวนมาก และใช้เป็นทางผ่านไปยังเมืองจางเจียโข่ว หรือก็คือเมืองที่ใช้สำหรับแข่งขันโอลิมปิคฤดูหนาวในอีก 6 ปีข้างหน้านั่นเอง พื้นที่รอบ ๆ สะพาน เป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนของทั้งผู้คนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว จึงมีการเติบโตและพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยิ่งการแข่งขันใกล้เข้ามามากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีเทรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายตามมาด้วยเช่นกัน รวมทั้งแผนการพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ นอกจากนี้ ‘San Shan Bridge’ ยังจะกลายเป็นสะพานที่เชื่อมเอานักท่องเที่ยวต่างชาติและคนในท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน รวมทั้งเป็นอีกหนึ่งผลงานชิ้นสำคัญของกรุงปักกิ่งอีกด้วย

สะพานมีความยาวมากถึง 452 เมตร ใช้โครงสร้างแบบเกลียวคู่ทั้งหมด 3 คู่ด้วยกัน สร้างเป็นรูปแบบคล้ายกับการถัก ร้อยไปมาจนได้เป็นสะพานโค้งวงกลมล้อมรอบ บนสะพานมีพื้นที่ให้รถผ่านทั้งหมด 4 เลนส์ด้วยกัน มีทางเท้าสำหรับคนเดิน และยังมีต้นไม้ปลูกอยู่ริมสองข้างทางคอยกั้นระหว่างพื้นที่ในส่วนทางเท้า และถนน ให้แยกออกจากกัน โดยวางแผนจะสร้างให้เสร็จทันงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี 2019 ที่จะจัดขึ้นในกรุงปักกิ่งนี้

San Shan Bridge

San Shan Bridge

Source: archdaily, designboom

Previous articleนวัตกรรม คลังสินค้า ‘Sustainable Warehouse’
Next articleเสริมความรู้และทักษะกับ 12 รายการสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก บนสื่อ Youtube
ณัฐธิกานต์ อัจฉริยบดี
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านงานออกแบบ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม