สำหรับท่านที่ทำงานในออฟฟิศหรือที่บ้านเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงกำลังรู้สึกเบื่อ อยากหาที่นั่งทำงานใหม่ๆเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น บางคนนัดคุยงาน นัดทำงานกับเพื่อนก็เบื่อที่จะไปนั่งแช่อยู่แต่ร้านกาแฟ ซึ่งก็ไม่รู้จะไปที่ไหนดี ล่าสุดที่จุฬาลงกรณ์ ซอย 6 ถนนบรรทัดทอง กรุงเทพฯ ได้มี Co-Working Space แห่งใหม่ ซึ่งเปิดเมื่อไม่นานมานี้ในชื่อ  NAPLAB ซึ่งทาง BuilderNews ได้ไปทดลองใช้บริการมาแล้ว      จึงได้นำมารีวิวและแนะนำผู้อ่านทุกๆท่านได้ลองรับชมและสัมผัสกัน  

        NAPLAB ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อเป็นแค่สถานที่ทำงานเท่านั้น หากแต่ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกและออพชั่นอื่น ๆ เสริม อาทิ มุมนั่งเล่นพื้นที่ส่วนตัว, ห้องนอนโครงเหล็ก, ห้องประชุม, สไลเดอร์จากบริเวณ    ชั้น 4, เคาน์เตอร์บาร์เครื่องดื่มเป็นต้น

         คุณอาทิตย์ เสมอกาย หรือคุณป๋อง (เจ้าของโครงการและผู้ออกแบบ NAPLAB ) ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า “จากการทำ Research ในแวดดวง Co-Working Space มาหลายปี ผมได้พบว่าธุรกิจนี้มีลักษณะที่ไม่ควรที่จะมีบรรยากาศตึงเครียด ผู้เข้าใช้บริการจะต้องได้รับความรู้สึกผ่อนคลายเป็นหลักสำคัญ  ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง, นอน, หรือยืนก็ตาม ซึ่งด้วยโจทย์หลักนี้ ทางผมจึงได้พยายามออกแบบพื้นที่ภายใน    ให้เป็นเหมือนสนามเด็กเล่น คือ เมื่อยามที่เครียดจากการทำงานหรือการอ่านหนังสือหลายชั่วโมง ก็สามารถลงไปเล่นและพักผ่อนปล่อยความคิดได้ตลอดเวลา”

         สำหรับพื้นที่ภายในและฟอร์มโดยรวมทั้งหมดของ NAPLAB มีขนาดพื้นที่ทั้งหมดอยู่ที่ 1,300 ตารางเมตร ฟังก์ชันการใช้งานภายในไม่ได้มีแต่เพียงธุรกิจ Co-Working Space เท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงธุรกิจต่างๆ ที่แฝงตัวอยู่ในอาคารแห่งนี้ อาทิ ร้านอาหาร, มุมออกกำลังกาย,หอพัก

  • Floor 1 โซน Café สุดชิค หลากหลายแบรนด์ดังในกรุงเทพฯ
  • Floor 2 Fitness สำหรับออกกำลังกาย
  • Floor 3 – 4 เป็นส่วนของ NAPLAB Co-Working Space
  • Floor 5 NAPLAB Apartment สำหรับให้เช่า                                                                       

         นอกจากเรื่องของการแบ่งฟังก์ชันของพื้นที่แล้ว NAPLAB ยังมีมุมไฮไลต์ที่ลูกค้าให้ความสนใจและเข้าไปใช้บริการทั้งวันทั้งคืน นั่นคือมุมต้นไม้ใหญ่ ที่มีความสูงเท่ากับตึก 8 ชั้น โดยตั้งสง่าอยู่บริเวณเบื้องหน้า ซึงเป็นมุมที่อยู่แล้วทำให้รู้สึกสบายตาและไม่ร้อนจนเกินไป     

         ในส่วนของโครงสร้างภายในได้ออกแบบดดยการเลือกใช้วัสดุที่มีความคงทนสูง ติดตั้งง่าย (เนื่องจากตัวอาคารมีสัญญาเพียงแค่ 5 ปี ) จึงได้เลือกวัสดุตกแต่งให้เหมาะสมกับสภาพสัญญามากที่สุด โดยโครงสร้างหลักได้เน้นโครงสร้างที่มีความเบา เช่น ผนังโครงเหล็ก, พื้นสมาร์ทบอร์ด พร้อมปูทับด้วยแผ่นลามิเนต (Laminate) และส่วนของวัสดุ Finishing นั้นทั้งหมดเป็นวัสดุที่สามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น หญ้าเทียมหรือกระเบื้องยาง โดยข้อดีของวัสดุเหล่านี้คือสามารถดูแลทำความสะอาดง่ายมีอายุยืนยาวหลายสิบปี

NAPLAB FL. 3-4

         การออกแบบบริเวณชั้น 3-4 ภาพรวมทั้งหมด อยู่ในรูปลักษณะของ Cave คือเป็นช่องโครงเหล็กสีเหลืองสด โดยมีจำนวน 16 ช่อง (ภายใน 1 ช่อง สามารถใช้งานได้ประมาณ 1-2 คน) ขนาดความกว้างและระยะการใช้งานทั้งหมด นักออกแบบ ได้มีการเว้นระยะเพื่อสร้างความผ่อนคลาย พร้อมผสมผสานสีสันโทนสว่าง อย่างเฉดสีเหลือง ที่ช่วยให้บรรยากาศรอบข้างดูสดใสและขับพลังการสร้างสรรค์แห่งจินตนาการ

         พื้นที่การรองรับและการแบ่งจำนวนโต๊ะภายใน NAPLAB ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ Private Living Room และ Common Space

  1. Private Living Room โดยแบ่งออกเป็น 3 ห้อง เริ่มตั้งแต่ห้อง 7 ที่นั่ง, ห้อง 30-40 ที่นั่ง,

    ห้องใหญ่ 120 ที่นั่ง

  1. Common Space สามารถรองรับผู้เข้าใช้บริการได้ประมาณ 200 ที่นั่ง

แบ่งอัตราการเข้าใช้บริการในรูปแบบแพ็คเกจดังนี้

บุคคลทั่วไป

150 บาท / 4 ชั่วโมง

295 บาท / 12 ชั่วโมง

395 บาท / 24 ชั่วโมง

ราคาสำหรับนักเรียน/ นักศึกษา

100 บาท / 4 ชั่วโมง

195 บาท / 12 ชั่วโมง

295 บาท / 24 ชั่วโมง

         คุณอาทิตย์ ยังได้กล่าวเสริมในส่วนสุดท้ายไว้ว่า “ก็อยากจะฝากโครงการ NAPLAB นี้ไว้ เนื่องจากเป็นโครงการที่เราตั้งใจทำกันมาก เราได้รวมความเป็น Café และ Co-Working Space พื้นที่ทำงานไว้ด้วยกัน ถ้าหากท่านใดสนใจก็สามารถมาลองใช้บริการกันได้ครับ เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากรถไฟฟ้ามาก สามารถเดินมาหรือจะนั่งบริการรถรับจ้างก็เดินทางมาได้เช่นเดียวกัน หากท่านใดสนใจสามารถติดต่อมาได้ตามที่อยู่ดังนี้

Previous articleFjordenhus สถาปัตยกรรมบนผืนน้ำ และกาลเวลา
Next articleHill Country House บ้านต้นแบบ เพื่อความยั่งยืนแห่งอนาคต