สถาปนิก Paolo Venturella งัดจินตนาการออกแบบอาคารอนุรักษ์โลก ‘Global Cooling Skyscraper’ อาคารพลังงานลม เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น โดยตึกระฟ้ามโหฬารนี้มีความสูงเสียดฟ้าทะลุห้วงอวกาศ กั้นระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ในรูปแบบเรือนกระจกขนาดใหญ่ ซึ่งได้คว้ารางวัลชมเชย eVolo Skyscraper 2016 มาครอง

ภายในโครงสร้างกระจกขนาดใหญ่ที่ล้อม อาคารพลังงานลม ไว้ คล้ายกับเรือนกระจก จะคอยเก็บกักความร้อนไว้ด้านใน ความร้อนที่ถูกสะสมจะทำให้เกิดกระแสลมตามธรรมชาติจากร้อนไปสู่เย็น หมุนวนอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น ซึ่งลมดังกล่าวจะพัดพาความร้อนไปจากโลก ผลที่ตามมาคือโลกจะเย็นลง เพราะอุณหภูมิลดลง ยิ่งไปกว่านั้น กังหันลมที่ติดตั้งไว้ภายในโครงสร้าง จะช่วยสร้างพลังงานทดแทนขึ้นด้วย

ตึกระฟ้าแห่งนี้มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับ Solar Tower โดยการออกแบบให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทน ที่ได้มีการติดตั้งกังหันลมไว้โดยรอบอาคาร เพื่อให้พลังงานและผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับลักษณะภายนอกของอาคาร จะปรากฏให้เห็นในลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ผู้สังเกตการณ์ยืนอยู่บนโลก ซึ่งหากยืนอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร จะมองเห็นอาคารในแนวนอน แต่หากยืนอยู่ตำแหน่งขั้วโลก (ขั้วโลกเหนือและใต้) จะมองเห็นอาคารในแนวตั้ง

(หลักการทำงานของ Solar Power คือ การให้อากาศภายใต้ “หลังคารับแดด” รับพลังงานความร้อนจากแสงแดด เพื่อให้ลอยตัวขึ้นยังปล่องสูง ด้วยการไหลแบบการพาความร้อนธรรมชาติ จากนั้นใช้กังหันเทอร์ไบน์ดูดซับพลังงานจากการไหลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป : 21-eme-siecle)

‘Global Cooling Skyscraper’ นับว่าเป็นการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่นอกจากจะล้ำเหนือจินตนาการแล้ว ยังเลือกใช้วัสดุและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย การันตีได้จากรางวัลชมเชย eVolo Skyscraper 2016 การแข่งขันออกแบบตึกระฟ้าที่เน้นความเป็นอนาคต

อาคารพลังงานลม

อาคารพลังงานลม

อาคารพลังงานลม

1paoloventurelladesignboom04

อาคารพลังงานลม
Source: inhabitat, evolve, designboom

 

Previous articleภาษีทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง: แล้วเราจะเสียภาษีกันอย่างไร
Next article“จีโนลกรุ๊ป”อบรม PC แบรนด์ CT. ELECTRIC ไทวัสดุเขตภาคตะวันออก
สุชยา ตันติเตมิท
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะการสื่อสารมวลชน วิชาเอกวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม