ปัจจุบันสถาปัตยกรรมนั้นไร้พรมแดน ผลงานทางสถาปัตยกรรมนั้นเหมือนกับงานศิลปะ เฉกเช่นเดียวกับเพลง ดนตรี หรือภาพวาด มันได้กลายเป็นภาษาสากลที่ทั่วโลกรับรู้ และในงาน World Architecture Festival ครั้งที่สิบ ณ Arena Berlin ประเทศเยอรมันก็ได้รวบรวมผลงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกจากทั่วโลกมาเพื่อหาว่าผลงานการออกแบบชิ้นใดจะเป็นที่สุดของปีที่ผ่านมา และนี่คือผลงานในสาขาต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับแล้วว่าคือผลงานชิ้นโบว์แดง

สาขาอาคารสาธารณะและสังคม : Streetlight Tagpuro, Tacloban, Philippines, โดย Eriksson Furunes + Leandro V Locsin ผลงานจากนักศึกษาสถาปัตย์สามคนและองค์กร NGO Streetlight ร่วมกันสร้างอาคารศูนย์การเรียนและอุปถัมป์เด็กกำพร้า โดยทำการสร้างใหม่เนื่องจากอาคารหลังเดิมที่พังเพราะพายุในปี 2013 โดยพวกเขาเลือกที่จะใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่มาใช้ในการก่อสร้าง และใช้เทคนิคในการสร้างอาคารด้วยการใช้คอนกรีตที่มีน้ำหนักมากร่วมกับโครงหลังคาที่เป็นไม้น้ำหนักเบา

สาขางานจัดแสดง : The Smile, London, United Kingdom, โดย Alison Brooks Architects ผลงานจากสถาปนิกชาวบริติช Alison Brooks สร้างจากไม้แปรรูป Cross-Laminated timber (CLT) โดยมีชื่อผลงานว่า รอยยิ้มของเทศกาลออกแบบแห่งลอนดอน (The Smile for London Design Festival.) โครงสร้างรูปท่อสร้างด้วยไม้เอนจิเนียร์ทิวลิป โดยมีทรงโค้งขึ้นที่ปลายทั้งสองข้างในขณะที่ตรงกลางติดพื้น

 

สาขาที่บ้านชุด : Super Lofts, Amsterdam, Netherlands, โดย Marc Koehler ผลงานของสถาปนิกชาวดัชท์ Marc Koehler โดย Super Lofts ผลงานชิ้นนี้ถือเป็นต้นแบบของ Co-Housing ที่ที่ผู้ใช้สามารถดัดแปลงบ้านของตนได้ มีความยืดหยุ่นในการดัดแปลง ทำให้สามารถเข้ากับไลฟสไตล์ที่ต่างกันของเจ้าของบ้านแต่ละคนได้

 

สาขาวัฒนธรรม : The Palestinian Museum, Birzeit, Palestine, โดย Heneghan Peng ผลงานของสตูดิโอจากไอริช Heneghan Peng สถาปัตยกรรมหินอ่อนที่แสดงถึงวัฒนธรรมปาเลสติเนียน ตั้งอยู่ที่สวนในเมือง Birzeit ด้วยที่ตั้งนั้นตั้งอยู่บนหุบเขาทำให้สามารถเห็นวิวของทะเลเมดิเตอเรเนียนได้

 

สาขาบ้านเดียว : Binh House, Ho Chi Minh City, Vietnam, โดย Vo Trong Nghia Architects สถาปนิกจากเวียดนาม Vo Trong Nghia Architects ได้ออกแบบบ้านทรงผอม และประดับไปด้วยต้นไม้เพื่อต้องการให้เกิดพื้นที่สีเขียนมากขึ้นในพื้นที่

 

สาขาใหม่และเก่า : การซ่อมแซมและบูรณะหลังเหตุแผ่นดินไหวหมู่บ้าน Guangming ,Zhaotong, China, โดย The Chinese University of Hong Kong ในโครงการซ่อมแซมและบูรณะความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารสำหรับอยู่อาศัยที่ทั้งปลอดภัยจากแผ่นดินไหว ราคาย่อมเยา และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

สาขาอาคารสำนักงาน : Co Op Kyosai Plaza, Tokyo, Japan, โดย Nikken Sekkei ไม้เลื้อยที่เลื้อยตามลวดที่ขึงเป็นหน้าอาคารสำนักงานแห่งนี้เป็นผลงานของบริษัทจากชิบุย่า  Nikken Sekkei

 

สาขาพลังงาน การผลิต และการรีไซเคิล : The Farm of 38-30, Afyonkarahisar, Turkey, โดย Slash Architects และ Arkizon Architects โรงงานฟาร์มนมแห่งนี้ตั้งอยู่ในกลางประเทศตุรกี โดย Slash Architects และ Arkizon Architects ด้วยรูปทรงโค้งและศูนย์กลางเป็นสนามหญ้า ทำให้ผู้มาเยือนสามารถมองเห็นการกระบวนการผลิตชีสที่อยู่ภายในได้

ที่มา : Dezeen

Previous articleShanghai Smart Home Technology (SSHT) 2017 งานแสดงนวัตกรรมเพื่อบ้านอัจฉริยะ
Next articleเนเธอร์แลนด์เจ๋ง! เตรียมสร้างสะพานโลหะจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติแห่งแรกของโลก
เอกนรินทร์ หมอยา
จบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันเป็น Content Writer ของกองบรรณาธิการ BuilderNews / DesignerHub