ทุกท่านที่อยู่ในวงการออกแบบก่อสร้าง อาจมีความคุ้นเคยกับวิชาชีพที่เรียกกันว่า Facility Management ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ค่อนข้างใหม่ หลักการคือการบริหารจัดการอาคารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่เจ้าของและผู้ ใช้ เพื่อรักษาคุณค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ เพราะไม่ว่าการออกแบบก่อสร้างจะมีคุณภาพดีเพียงใด หากนำมาใช้อย่างไม่เหมาะสม ไม่มีการดูแลรักษาที่ดีอย่างมีหลักการจัดการ อสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ จะเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วเกินสมควร

เทคโนโลยีที่ใช้ในอาคารของโลกยุคปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น การจัดการอาคารการจ้างแรงงานราคาถูกที่มีหน้าที่เพียงการทำความสะอาดและซ่อม แซมเล็กน้อยย่อมไม่เพียงพออีกต่อไป โดยเฉพาะอาคารบางอาคารที่มีระบบ Building Automation System อาจถึงขนาดต้องจ้างวิศวกรที่มีประสบการณ์ มาทำการดูแลอาคารก็เป็นได้

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้วิชาชีพ Facility Management เป็นที่สนใจของทั้งสถาปนิกและวิศวกรหลายคนที่ต้องการผันตัวเองเข้ามา หลักการอาคารเขียวในส่วนวิชาการทางด้านการออกแบบก่อสร้างเป็นสิ่งที่มีการ เรียนการสอน และถ่ายโอนความรู้กันมาอย่างต่อเนื่อง แต่วิชาการด้านการบริหารจัดการให้ใช้อาคารตามปรัชญาเขียว (Green หรือ Sustainability) อย่างเหมาะสมยังเป็นสิ่งที่ใหม่มาก ข้อสังเกตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ หลายท่านจะคิดว่าหลักวิชาดังกล่าวคือการ “บริหารจัดการอาคารเขียว” หรือ “Green Building Management” แต่ในความเป็นจริงแล้วหลักวิชาดังกล่าวคือการ “บริหารจัดการแบบเขียวสำหรับอาคาร” หรือ “Green Management for Building” ซึ่งหลักการทั้งสองนั้น มีกรอบความคิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

Green Building Management คือการนำอาคารเขียวมาจัดการให้ดำเนินไปได้ หลักการที่ถูกวางมาตั้งแต่ตอนออกแบบ จะถูกนำมาปฎิบัติหรือไม่ในช่วงการเข้าใช้อาคารก็สุดแล้วแต่ผู้บริหารอาคารจะ พิจารณา ซึ่งในที่สุดคือการจัดการอาคารแบบธรรมดาแต่นำมาปฎิบัติในอาคารเขียวเท่านั้น

ในขณะที่ Green Management for Building นั้นคือการใช้แนวคิด Green เข้ามาพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการอาคาร ซึ่งอาคารดังกล่าวจะเป็นอาคารที่ถูกสร้างมาเป็นอาคารเขียว (Green Building) หรือไม่ก็ได้ แนวทางการปฎิบัติคือ การสร้างนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การสร้างแผนดำเนินการตามกรอบนโยบายดังกล่าว เช่น การเปิดปิดเครื่องปรับอากาศ ระบบน้ำ การพัฒนาคู่มือให้พนักงานรับผิดขชอบด้านต่างๆปฎิบัติตามแผน การเก็บข้อมูลการใช้พลังงาน ข้อมูลการใช้น้ำ การแยกขยะเพื่อทิ้ง หลักการจ้างบริษัทหรือการจัดซื้อจัดจ้างที่มีแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ ดีเข้ามาใช้ในโครงการเป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะสังเกตได้ว่าแทบไม่เกี่ยวกับการออกแบบก่อสร้างสักเท่าใด ดังนั้นหากท่านสนใจเรื่องอาคารเขียว ตลาดของ Green Facility Management ก็จะเป็นตลาดใหม่ที่ท่านสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ในฐานะผู้นำได้

Image: http://stratadeveloper.com.au

Previous articleบ้านสามเหลี่ยม “Triangle House” ผลงานสถาปนิกไทย “พงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ์”
Next article‘อาคาร’ ที่ต้องผ่านการตรวจสอบ 9 ประเภท เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร
Builder
กองบรรณาธิการนิตยสาร Builder - เดิมเคยเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ ภายใต้ชื่อ Builder News เผยแพร่เนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับวงการธุรกิจก่อสร้างมากว่า 10 ปี ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นนิตยสารรายเดือนในชื่อว่า Builder เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปในยุคปัจจุบัน มุ่งนำเสนอเรื่องราวในวงการก่อสร้าง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง ตลอดจนความรู้เรื่องวัสดุอย่างครบวงจร