การจัดการคุณภาพงานก่อสร้างเป็นหัวข้อหนึ่งของงานก่อสร้างที่จะต้องมี เพราะเป็นการจัดการงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านความมั่นคงแข็งแรงตามมาตรฐานและความสวยงามตามที่ผู้ออกแบบการจัดการคุณภาพงานก่อสร้างที่ดี เป็นการสร้างความมั่นใจในการก่อสร้างว่าจะดำเนินการตามแผนและข้อกำหนดเกี่ยวกับเวลาและงบประมาณที่กำหนด รวมถึงสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความปลอดภัย

จุดประสงค์การจัดการคุณภาพของงานก่อสร้างจะถูกกำหนดให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือมาตรฐานที่ใช้กัน หรือเป็นที่ยอมรับอย่างเหมาะสม สำหรับโครงการก่อสร้างที่มีคุณภาพ เริ่มต้นจากความต้องการ ตั้งแต่การออกแบบ เพราะการออกแบบเป็นการกำหนดมาตรฐาน คุณภาพ หลักเกณฑ์ และเอกสารการออกแบบที่ถูกต้องตอบสนองความต้องการเหล่านี้ นักออกแบบจึงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานคุณภาพและผู้รับเหมาในการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพในการวางแผนและข้อกำหนดควบคุมคุณภาพของงาน

วัตถุประสงค์ของการจัดการคุณภาพการก่อสร้าง Construction Quality Management (CQM) ของโครงการใด ๆ คือความพยายามที่จะจัดการในการประสานงานและความร่วมมือกับผู้รับเหมา ผู้ควบคุมงานเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพงานที่ออกมา การดำเนินการตามกำหนดแบบแผนก่อสร้างจะประสบความสำเร็จ CQM เป็นความพยายามร่วมมือของผู้รับเหมา มีความรับผิดชอบหลักในการผลิตงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนข้อกำหนดและมาตรฐานที่ยอมรับของอุตสาหกรรม ถ้าใช้ CQM ตามที่กำหนดไว้นี้จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุและข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้คุณภาพที่ต้องการของการก่อสร้าง ซึ่งเป็นการป้องกันเชิงรุกในแง่ของบุคลากร

CQM เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานผลประโยชน์ที่เจ้าของจะได้รับจากการทำงานตามแผนและข้อกำหนดเกี่ยวกับเวลาที่กำหนดและภายในงบประมาณที่กำหนดไว้ คุ้มค่าเงินของเจ้าของโครงการและผู้รับเหมาจะได้ผลกำไรเพิ่มขึ้นจากการป้องกันเชิงรุกและการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้าง

ไม่ว่าโครงการขนาดใหญ่หรือเล็ก ผู้รับเหมาจะประสบความสำเร็จในการจัดการคุณภาพงานก่อสร้างได้นั้นจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการ
• การจัดการด้านบุคลากร
• การจัดการควบคุมค่าใช้จ่าย
• การจัดการงานการเงิน
• การจัดการงานประมาณ
• การจัดการตารางเวลาการทำงาน
• การจัดการกระแสเงินสดของโครงการ
• การจัดการความปลอดภัยในหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ
• การจัดการรักษาคุณภาพของระบบที่มีประสิทธิภาพของการควบคุม
20b464c5สามเหลี่ยมระดับการควบคุมฝั่งด้านซ้ายมือ ฝ่ายสำนักงานไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาหรือ CM (Construction Management)
ระดับที่ 1 ต้องมีคู่มือการดำเนินการ
ระดับที่ 2 ต้องมีการดำเนินการแบ่งเป็นขั้นตอนการทำงาน
ระดับที่ 3 ต้องจัดทำเป็นเอกสารเพื่อให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบ

สามเหลี่ยมด้านขวามือฝ่ายโครงการต้องมีนโยบายการดำเนินการของโครงการ
ระดับที่ 1 ต้องมีแผนการควบคุมการดำเนินการ, แผนการบริหารสิ่งแวดล้อม, แผนความปลอดภัยต่างๆ ในโครงการ
ระดับที่ 2 โครงการต้องมีขั้นตอนการดำเนินการ
ระดับที่ 3 ในโครงการการดำเนินการต้องมีแบบฟอร์มเช็คลิสต์ และวิธีการดำเนินการ

Quality Plan จึงมีส่วนช่วยให้เกิดคุณภาพในงานก่อสร้าง สามารถนำไปใช้ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ทั้งหมด เพื่อบรรลุตามจุดประสงค์ในการก่อสร้าง

Previous articleมาตรฐานควรรู้เกี่ยวกับ ‘ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน’ และ ‘โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน’
Next articleGuangzhou Electrical Building Technology 2016
Builder
กองบรรณาธิการนิตยสาร Builder - เดิมเคยเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ ภายใต้ชื่อ Builder News เผยแพร่เนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับวงการธุรกิจก่อสร้างมากว่า 10 ปี ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นนิตยสารรายเดือนในชื่อว่า Builder เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปในยุคปัจจุบัน มุ่งนำเสนอเรื่องราวในวงการก่อสร้าง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง ตลอดจนความรู้เรื่องวัสดุอย่างครบวงจร