จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการลงทุน โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามเชียงใหม่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางการลงทุน การศึกษา ศูนย์ราชการ วัฒนธรรม เมืองหลักในภาคเหนือ และศูนย์กลางของ AEC CLMV โดยเศรษฐกิจ GPP เชียงใหม่ ยังคงขยายตัวสูงเฉลี่ยถึง 8.0% ต่อปี ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา ล่าสุดในปีพ.ศ. 2557 GPP 184,132 ล้านบาท เป็นลำดับที่ 1 ในภาคเหนือ

ศักยภาพในอนาคต การเชื่อมต่อกับ AEC, CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม เป็นประเทศในกลุ่ม ASEAN ที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจโตต่อเนื่องและยังมีแร่ธาตุทรัพยากรอุดมสมบูรณ์) การเชื่อมต่อด้านการท่องเที่ยว การลงทุนเศรษฐกิจกับมหาอำนาจใหม่ประเทศจีน

ด้านการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวจาก 3.0 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2553 เพิ่มเป็น 7.4 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2558 (เพิ่ม 146% ในรอบ 5 ปี) ผู้โดยสารผ่านสนามบินเชียงใหม่ในปีพ.ศ. 2558 จำนวน 8.3 ล้านคน เที่ยวบินจำนวน 982 flights ต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ AOT ยังคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2568 ผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 14.6 ล้านคน (แผนขยายสนามบินเชียงใหม่ให้รองรับได้ 18 ล้านคนต่อปี) และในปีพ.ศ. 2578 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 19.7 ล้านคน (แผนขยายสนามบิน ขยายรองรับได้ 20 ล้านคนต่อปี) แผนการขยายสนามบินเชียงใหม่ (สนามบินแห่งเดิม)
2 ระยะ คือ

ระยะแรก ปีพ.ศ. 2559-2568 จะทำการปรับปรุงอาคาร Terminal ในประเทศและระหว่างประเทศเดิม 38,000 ตารางเมตร รองรับได้ 11 ล้านคนต่อปีก่อสร้างอาคาร Terminal ระหว่างประเทศหลังใหม่ 78,000 ตารางเมตร รองรับ 7 ล้านคนต่อปี (รองรับผู้โดยสารรวม 18 ล้านต่อปี) ทำการปรับปรุงทางวิ่ง Taxiway และ Rapid Exit Taxiway ขยายลานจอดอากาศยาน-ปรับปรุงลานจอดเดิม รองรับ 31 หลุมจอด และก่อสร้างอาคารคลังสินค้าแห่งใหม่
ก่อสร้างอาคารจอดรถยนต์สำหรับอาคาร Terminal ในประเทศและระหว่างประเทศ จำนวน 6,300 คัน

ระยะที่สอง ปีพ.ศ. 2569-2578 ขยายอาคารผู้โดยสารในประเทศรองรับ 12 ล้านคนต่อปี ขยายอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศรองรับ 8 ล้านคนต่อปี ก่อสร้างหลุมจอดอากาศยานเพิ่มอีก 7 หลุม รวมเป็น 38 หลุมจอด รองรับผู้โดยสารทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวม 20 ล้านคนต่อปี

นอกจากนี้ยังมี Mega Project สำคัญ โครงการ High Speed Train สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ด้านระบบราง และบันทึกความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน ร่วมกับนายเคอิชิ อิชิอิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น สาระสำคัญของเอ็มโอยูด้านระบบรางจะเป็นเรื่องของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ซึ่งเบื้องต้นจะนำเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น หรือชินคันเซ็นที่มาตรฐานความปลอดภัยสูงมาใช้ในโครงการนี้ โดยเป็นรูปแบบรางเฉพาะ และจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ คือ 1.กรุงเทพ-พิษณุโลก และ 2.พิษณุโลก-เชียงใหม่ ทั้งนี้ทางญี่ปุ่นต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนำเสนอฝ่ายไทยพิจารณารูปแบบการลงทุนว่าจะเป็นแบบใด โดยญี่ปุ่นจะรายงานความเป็นของโครงการในเดือนพฤศจิกายน หากโครงการมีความเป็นไปได้ จะใช้เวลาในการออกแบบอีก 1 ปี หรือประมาณปีพ.ศ. 2560 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปีพ.ศ. 2561 อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวมีผลตอบแทนทางการเงินค่อนข้างต่ำจะใช้เวลาประมาณ 50 ปี จึงคืนทุนไทยจึงให้ญี่ปุ่นเข้ามาช่วยพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี และการพัฒนาเมืองตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเพิ่มผลตอบแทน โดยล่าสุดญี่ปุ่นยินดีให้ความช่วยเหลือและจะดำเนินการคู่ขนานไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (ที่มา : รถไฟไทยดอทคอม (rodfaithai.com) 7 ส.ค. 59)

อีกทั้งยังมีโครงการ Motorway เชื่อมเชียงใหม่-เชียงราย อุโมงค์ทางลอด วงแหวนรอบ 4 โครงการรถไฟฟ้าในเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น ที่จะเสริมศักยภาพด้านการขนส่งการเดินทางในอนาคต

และนอกจากนี้จังหวัดยังมีแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี พ.ศ. 2557- 2560 โดยกำหนดให้เป็น
1. เมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวและบริการระดับสากล : MICE City, Wellness City
2. เมืองศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการคมนาคมขนส่ง : Northern Land Port
3. เมืองแห่งเกษตรปลอดภัย : Northern Food Valley
4. เมืองศูนย์กลางการศึกษานานาชาติสู่สากล : Education Hub
5. เมืองน่าอยู่ : Eco-Town, Eco-Village

ปัจจัยข้างต้นล้วนส่งเสริมศักยภาพของจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่มีอุปสงค์จากการขยายตัวอีก 2 เท่า จะเป็นปัจจัยสำคัญ โดยนักท่องเที่ยวหลักยังเป็นคนไทยกว่า 60% ที่มักท่องเที่ยวในฤดูหนาว ส่วนอีก 40% เป็นชาวต่างชาติ (1 ใน 3 เป็นยุโรป, 1 ใน 3 เป็นเอเชียที่ไม่ใช่จีน และ 1 ใน 3 เป็นนักท่องเที่ยวจีน)

โอกาสการลงทุนย่อมมีแน่ (แต่ที่นี่ปราบเซียนมาเยอะแล้ว) ตลาดอสังหาฯ ประเภทบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ที่เชียงใหม่เริ่มโงหัวขึ้นแล้ว เนื่องจากกำลังซื้อที่พึ่งพาคนท้องถิ่นแต่เดิมได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นนานาชาติมากขึ้น ตลาด
Retirement ก็น่าสนใจ ชาวญี่ปุ่นมาอยู่ที่เชียงใหม่เป็นอันดับ 3 รองจากทองหล่อและศรีราชา การลงทุนต้องค้นหาข้อมูลกันต่อ


นิตยสาร Builder Vol.35 SEPTEMBER 2016

Previous articleถนนสีแดงต้านแรงลื่นไถล ช่วยลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุได้จริงหรือ?
Next articleการออกแบบและทดสอบปรับแต่งระบบประกอบอาคาร โครงการ CPF บางน้ำเปรี้ยว
วสันต์ คงจันทร์
นักเขียนนิตยสาร Builder กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด