ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเหตุภัยพิบัติที่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในประเทศ และต่างประเทศ อาทิ เช่น การจัดการภัยพิบัติ ณ ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน เหตุการณ์เขื่อนแตกในประเทศลาว เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศอินโดนีเซีย และเหตุการณ์น้ำท่วมที่คาดว่าอาจจะมีแนวโน้มมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งในแต่ละภัยพิบัติจะเห็นว่า วิศวกรมีส่วนสำคัญที่จะป้องกันตลอดจนบรรเทาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้สภาวิศวกรจึงกำหนดให้มีการจัดสัมมนาใหญ่ เตรียมตัวพร้อมใจรับมือภัยพิบัติ ขึ้นในระหว่างวันที่ 15-16 สิงหาคม ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ความรู้กับวิศวกรที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากจากวิศวกรถือว่าเป็นบุคลากรต้นทาง ในการเตรียมการรับมือภัยพิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมโครงสร้างให้แข็งแรง และ การฟื้นฟูสภาพอาคารหลังจากภัยพิบัติแล้ว

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เปิดเผยว่า ในงานสัมมนาดังกล่าว จะเชิญวิศวกรมาร่วมงานประมาณ 200 คน โดยจะครอบคลุมภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น อุทกภัย แผ่นดินไหว อัคคีภัย วาตภัย ตลอดจนให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการภัยพิบัติอย่างถูกวิธีอีกด้วย นอกจากนี้ สภาวิศวกรยังจะไปจัดสัมมนาในต่างจังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงรายในเดือนกันยายน 2561 และ จังหวัดอุบลราชธานีในเดือน ตุลาคม 2561 นี้ โดยจะระดมวิศวกรในพื้นที่ประมาณ 100 รายในแต่ละจังหวัด และ ยังถือโอกาสเปิดรับสมัครวิศวกรอาสา ที่จะพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น

ศ.ดร.อมร พิมานมาศ อธิบายว่า งานสัมมนาดังกล่าวเราจะจัดขึ้นทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจากวิศวกรที่เป็นสมาชิกของสภาวิศวกร โดยเรามุ่งเน้นให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการรับมือภัยพิบัติ และเพื่อให้วิศวกรได้มีโอกาสทำหน้าที่จิตอาสา ช่วยเหลือประชาชนในยามที่เกิดภัยพิบัติ ปัจจุบันสภาวิศวกรมีวิศวกรที่ขึ้นทะเบียนประมาณ 200000 คน ซึ่งถือว่าเป็นกำลังคนทางงานช่างและงานวิศวกรรมที่สำคัญ และเราจำเป็นต้องสร้างความตื่นตัวให้กับวิศวกรของเรา เพราะไม่อาจคาดได้ว่า ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นเมื่อใดในอนาคต

Previous articleกระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าเปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ภาคที่ 9 จ.ชลบุรี ตึกเอกชนรายใหญ่ ตั้งศูนย์ฝึกระบบอัตโนมัติเป็นศูนย์ต้นแบบ พร้อมยกระดับศักยภาพ SMEs ไทยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ
Next articleออกบูธแสดงสินค้ายังไง? ให้โดดเด่นด้วย 5Cs