กรรมมาธิการสถาปนิกอีสาน สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เดินหน้าจัดงาน “สถาปนิกอีสาน’59” พร้อมชูแนวคิด “BACK TO THE FUTURE : เจาะเวลาหาที่อยู่” มุ่งให้บริการวิชาการแก่ชุมชน พร้อมแสดงผลงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

14222262_875356335929031_8412126486621001585_nงานสถาปนิกอีสาน’59 ครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นระว่างวันที่ 21-23 ตุลาคม 2559 ณ ลานลูกยางลิ้วลม ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า อุบลราชธานี ระหว่างเวลา 10.00-19.00 น. ภายในงานนอกจากจะนำเสนอความรู้ด้านวิชาการแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ นิทรรศการแสดงผลงานด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสถาปนิกภูมิภาคอีสาน ตลอดจนการแสดงผลงานนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การให้คำปรึกษาด้านการออกแบบก่อสร้างและการซ่อมแซมอาคาร รวมถึงการแจกแบบบ้านฟรี เป็นต้น

สำหรับกิจกรรมทั้งหมดภายในงานสถาปนิกอีสาน’59 ตลอดทั้ง 3 วันจัดแสดง มีรายละเอียดดังนี้:

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2559

  • เวลา 11.00-19.00 น.
    นิทรรศการแสดงผลงานด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสถาปนิกภูมิภาคอีสาน การแสดงผลงานนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การให้คำปรึกษาด้านการออกแบบก่อสร้างและการซ่อมแซมอาคาร และกิจกรรมแจกแบบบ้านฟรี
  • เวลา 11.00-12.00 น.
    กิจกรรมพรีเซ็นต์ workshop บ้านแห่งอนาคต โดยนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ (ช่วงที่ 1)
  • เวลา 12.00-13.00 น.
    คลินิกหมอบ้าน On Stage
  • เวลา 13.00-13.30 น.
    ลงทะเบียน และการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ โดยประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ โล่ห์วนิชชัย
  • เวลา 13.30-14.30 น.
    เสวนา “เป็น อยู่ อย่าง Eco”
    โดย รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เวลา 14.30-15.30 น.
    กิจกรรมพรีเซ็นต์ workshop บ้านแห่งอนาคต โดยนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ (ช่วงที่ 2)
  • เวลา 16.00-17.00 น.
    พิธีเปิด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ โล่ห์วนิชชัย ประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน ประจำปี 2559-2561,ผศ.ดร.กัญญา จึงวิมุติพันธ์ ประธานจัดงานสถาปนิกอีสาน’59, คุณอัชชพล ดึสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมเป็นประธานในพิธี
  • เวลา 17.30-18.00 น. คลินิกหมอบ้าน On Stage

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2559

  • เวลา 11.00-19.00 น.
    นิทรรศการแสดงผลงานด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสถาปนิกภูมิภาคอีสาน การแสดงผลงานนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การให้คำปรึกษาด้านการออกแบบก่อสร้างและการซ่อมแซมอาคาร และกิจกรรมแจกแบบบ้านฟรี
  • เวลา 11.00-12.00 น.
    คลินิกหมอบ้าน On Stage
  • เวลา 13.30-14.00 น.
    แนะนำวัสดุก่อสร้าง (ช่วงที่ 1)
  • เวลา 14.30-15.30 น.
    เสวนา “BACK TO THE FUTURE”
    โดย บริษัท ไอวิวดีไซน์สตูดิโอ จำกัด
  • เวลา 15.30-16.00 น.
    แนะนำวัสดุก่อสร้าง (ช่วงที่ 2)
  • เวลา 17.00-18.00 น.
    คลินิกหมอบ้าน On Stage

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2559

  • เวลา 11.00-19.00 น.
    นิทรรศการแสดงผลงานด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมของสถาปนิกภูมิภาคอีสาน การแสดงผลงานนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น การให้คำปรึกษาด้านการออกแบบก่อสร้างและการซ่อมแซมอาคาร และกิจกรรมแจกแบบบ้านฟรี
  • เวลา 11.00-12.00 น.
    คลินิกหมอบ้าน On Stage
  • เวลา 13.30-14.00 น.
    แนะนำวัสดุก่อสร้าง (ช่วงที่ 1)
  • เวลา 14.00-15.00 น.
    เสวนา “เปลี่ยนหลังคาเป็นเงินเก็บดอกเบี้ยสูง”
    โดย บริษัท พระครูวิมลปัญญาคุณ วัดป่าศรีแสงธรรม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี
  • เวลา 15.30-16.00 น.
    ประกาศผลโหวด และมอบรางวัล Workshop บ้านแห่งอนาคต
  • เวลา 16.30-17.00 น.
    แนะนำวัสดุก่อสร้าง (ช่วงที่ 2)
  • เวลา 17.00-18.00 น.
    คลินิกหมอบ้าน On Stage

พร้อมกันนี้ กรรมมาธิการสถาปนิกอีสาน ยังได้จัดเตรียมพื้นที่แสดงผลงานให้สมาชิกสมาคมฯ โดยสมาชิกสมาคมฯผู้สนใจ สามารถส่งไฟล์ผลงานในรูปแบบ .jpg หรือ. png ขนาดเท่าจริง 20×30 นิ้ว แนวตั้งรูปแบบอิสระ รูปถ่ายบุคคล ผลงาน รายละเอียดที่อยู่ มาที่ email: [email protected] และ [email protected] ภายในวันที่ 30 กันยายน 2559 เพื่อคัดเลือกนำเสนอ ภายในงานสถาปนิกอีสาน’59

Previous articleบ้านโมดูลาร์ ‘Kokoon’ โครงสร้างไม้ ทางเลือกใหม่ของบ้านราคาประหยัด
Next articleสถาปนิกเฮ !! ดูภาพตึกซูมใกล้ ๆ ได้แล้ว บนอินสตาแกรม
กิตติยา เธียรนันทน์
บรรณาธิการเว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส วิชาโทการผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เคยเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ประจำสำนักข่าวหลักในประเทศ 2 แห่ง ปัจจุบันผันมาเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าววงการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม