White Canvas + Playing with Space + architect ’18

ผ่านพ้นไปไม่นานกับมหกรรมงานแสดงสินค้าสุดยิ่งใหญ่แห่งอาเซียน สถาปนิก ’61 โดยปีนี้ได้มีผู้เข้าร่วมจัดแสดงสินค้ามากกว่า 850 ราย จากบริษัทชั้นนำในไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้แต่ละรายก็ได้มีการออกแบบบูธ เพื่อประชันบทบาทและน้อมนำเสนอสุดสร้างสรรค์ โดยกิจกรรมภายในงานก็ได้มีการประกาศผลรางวัลการประกวดบูธแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์นวัตกรรม Booth Design & Innovative Product Awards 2018 โดยแยกย่อยออกเป็นดังนี้

  1. รางวัลประเภทสอดคล้องกับแนวคิดการจัดงาน (Exposition Theme Booth Award)
  2. รางวัลประเภทความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Booth Award)
  3. รางวัลประเภทกรีน (Green Booth Award)
  4. รางวัลผลิตภัณฑ์นวัตกรรม (Innovative Product Award)

บรรยากาศภายในที่ให้ความรู้สึกเรียบง่ายและมีความโมเดิร์นจากรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์

โดยครั้งนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับบริษัทที่ได้รับรางวัลชมเชย การออกแบบบูธพื้นที่จัดแสดงสินค้าประเภทความคิดสร้างสรรค์ กับ บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ L&E ซึ่งปีนี้ได้มาด้วยคอนเซ็ปต์ White Space โดยเป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง 2 โจทย์หลัก ได้แก่ White Canvas + Playing with Space เพื่อเป็นการสอดคล้องต่อผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีความเรียบง่ายอันประยุกต์ไปกับการดีไซน์ด้วยรูปทรงเรขาคณิต

White Canvas คือการสื่อด้วยรูปลักษณ์การออกแบบโทนสีขาว เพื่อให้แสงที่ถูกติดตั้งตามเหลี่ยมมุมได้สามารถตกกระทบไปตามจุดต่างๆ หรืออีกนัยคือการวาดภาพด้วยแสงบนพื้นที่สีขาวอันเรียบง่ายให้เกิดลูกเล่นดึงดูดสายตาแก่ผู้เข้าชม

Playing with Space คือการสร้างพื้นที่ว่าง ด้วยกระบวนการ Merging, Interlocking และSubtracting เพื่อความน่าค้นหา พร้อมสร้าง Sneak Peek ซึ่งทำหน้าที่เป็นช่องว่างขนาดเล็ก ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงการมองเห็นระหว่างพื้นที่ภายในและพื้นที่ภายนอกไม่ให้ปิดทึบและตัดขาดออกจากกัน

การเพิ่มช่องแสงที่ผนังเพื่อสร้างลูกเล่นจากสี

สำหรับการออกแบบบูธจัดแสดง L&E ในครั้งนี้ คุณนภษร ฤทธารมย์ และ คุณสุดรัก ปรีชานนท์ ได้เป็นผู้ให้แนวคิดและคอนเซ็ปต์หลัก รวมถึงได้ร่วมกันออกแบบกับคุณวรพล ทรงงาม (แห่ง GDX) โดยเป็นการสร้างสรรค์ผลงานภายใต้ขนาดพื้นที่ 144 ตร.ม. เติมแต่งด้วยโครงสร้างของไม้และเหล็กเป็นหัวใจหลัก ฟอร์มภายนอกเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่ดูเรียบง่าย พร้อมแฝงกลิ่นไอบรรยากาศภายในที่คล้ายกับแกลเลอรีหรือพิพิธภัณฑ์

สัดส่วนพื้นที่ภายใน ได้มีการจัดแบ่งตามลำดับความสำคัญของลักษณะกลุ่มสินค้า โดยมีการสร้างพื้นที่บังคับทางเดินภายในไปตามเส้นทาง เพื่อเป็นการแมตช์เข้ากับรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะได้อย่างลงตัว

ช่อง Sneak Peek จากบริเวณภายนอก 

สมมาตรการยืนและการเว้นระยะเพื่อติดตั้งอุปกรณ์จากแสงสว่างที่เหมาะสม

ด้วยรูปลักษณ์การออกแบบของปีนี้ L&E ต่างได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักออกแบบตกแต่งภายในและสถาปนิก เนื่องจากได้มีการเสริมลูกเล่นเข้าไปในชิ้นงาน ด้วยความที่รูปทรงของบูธเป็นรูปทรงปิด จึงได้คำนึงถึงการออกแบบ Sneak Peek โดยทำหน้าที่เป็นช่องว่างเพื่อให้คนที่อยู่บริเวณภายนอก ให้สามารถมองเข้ามาเห็นบรรยากาศภายในได้ เพื่อเป็นการสร้างความดึงดูดให้อยากเข้ามาชมภายใน พร้อมทั้งยังทำให้บรรยากาศบูธจัดแสดงไม่ดูปิดทึบจนเกินไปนัก

 

 

Previous articleARTISAN RATCHADA Be the maker of your life
Next articleNOBLE AROUND ARI : be different, be noble