จากการวิเคราะห์สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและขึ้นกับข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทวีความรุนแรงส่งผลให้ประเทศ ต่าง รวมทั้งไทยต้องดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง

ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ และกำหนดเป้าหมายของประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ ต่ำกว่าระดับการปล่อยตามปกติ ร้อยละ 7 -20 ภายในปี พ.ศ. 2563 นอกจากนี้ ความตกลงปารีส ( Paris Agreement) ที่นานาประเทศได้รับรองร่วมกันเมื่อ 12 ธันวาคม 2558 ซึ่งมุ่งควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และประเทศไทยได้ ลงนามรับรองความตกลงดังกล่าวเมื่อ 22 เมษายน 2559 ส่งผลให้ไทยต้องมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องโดยกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ภายในปี พ.ศ. 2573 อีกทั้งต้องมี การทบทวนเพื่อเพิ่มระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุก 5 ปี ก่อให้ เกิดนัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ดังจะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

ที่จะต้องเร่งดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ ตลอดจนภาคครัวเรือน เป็นแรงกดดันให้ ประเทศต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานชีวภาพเพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มในการใช้ ประเด็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเงื่อนไขสำหรับกำหนดมาตรฐานสินค้าในการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย แต่ก็อาจสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ ผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเพิ่มประสิทธิภาพการลดของเสีย เป็นต้นอย่างไรก็ดี แม้ว่ากรอบอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ กำหนดให้มีความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ในทางปฏิบัติ ยังมีข้อจำกัดเพราะความขัดแย้งกับแนวทางการปกป้องสิทธิ ของทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้กรอบการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ ในส่วนนี้ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศและภัยธรรมชาติ มีความผันผวนและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อการผลิตในภาคเกษตรและความมั่นคงด้านน้าและอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศก่อให้ เกิดการขาดแคลนน้ำ อุทกภัย และภัยธรรมชาติ ที่รุนแรง สร้างความเสียหายต่อระบบการเพาะปลูกทำให้ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรของโลกลดลง อาจก่อให้ เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหาร สำหรับประเทศไทยความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อเนื่องไปยังการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ สำคัญของประเทศอาจก่อให้ เกิดความไม่มั่นคงด้านอาหารทั้งระดับประเทศ และระดับครัวเรือน ในขณะเดียวกันภาคเกษตรก็ เป็นแหล่งรายได้ หลักของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่ต้องประสบความสูญเสียจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ส่งผลซ้ำเติมต่อปัญหาความยากจน ซึ่งมีข้อเสนอมากมายที่ให้พิจารณาถึง ปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของภสาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง และมีการประเมินมูลค่าความเสียหายที่ต้องการได้รับการชดเชย การลดลงของผลิตภัณฑ์อาหารจากภาคการเกษตร บทความนี้จึงอยากจะเรียกร้องให้หันมาปฏิรูประบบการเกษตรกรรมอย่างจริงจึงและมีผลให้ประชาชนอยู่รอดจึงมีช้อเสนอในระยะยาวดังนี้

1. ใช้กลไกทางการเงินในการสร้างตลาดสินค้าเกษตรที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น พืชใช้น้ำน้อย เป็นต้น

2. การสนับสนุนการกำหนดผังเมือง หรือ zoning พื้นที่เพาะปลูกอย่างจริงจัง และมีความหลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงจากการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว

3. การสื่อสารให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต

4. การสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการปรับตัวจากภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น

จากข้อเสนอทั้งห้าข้อเป็นส่วนหนึ่งที่มองการเปลี่ยนแปลงปัจจุบันสู่อนาคต ที่ภาคการเกษตรกรรม ที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญ จะต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตทางการเกษตรกรรมที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

source : รัฐ เรืองโชติวิทย์

Previous articleแดนอาทิตย์อุทัย แปรสภาพจากสนามกอล์ฟร้างสู่ โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
Next articlePRIME พร้อมลุยตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย มองน่าลงทุนอันดับ 1 ในเอเชีย
Builder News
กองบรรณาธิการเว็บไซต์ Builder News - ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่มาพร้อมกับการรับข่าวสารในรูปแบบใหม่ ทั้งจากสื่อออนไลน์ และโซเชี่ยลมีเดีย เว็บไซต์ Builder News จึงถือกำเนิดขึ้น แตกย่อยออกมานอกเหนือจากนิตยสาร Builder โดยเน้นนำเสนอเรื่องราวในวงการก่อสร้าง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง ตลอดจนความรู้เรื่องวัสดุอย่างครบวงจร ที่มุ่งถึงกลุ่มผู้อ่านออนไลน์มากยิ่งขึ้น