เสาคอนกรีตเป็นโครงสร้างที่สำคัญของอาคาร และยังเป็นส่วนที่มีความแข็งแรงและคงทนต่อสภาพแวดล้อม แต่เสาคอนกรีตโรมัน สามารถคงอยู่ได้อย่างไรกว่า 2000 ปี ซึ่งวิทยาศาสตร์มีคำตอบของเรื่องนี้

จากการสังเกตคอนกรีตจากวิหารต่างๆ ในกรุงเอเธนส์ประเทศกรีซ พบว่าโครงสร้างของอาคารและวิหารมีความแข็งแรงถึงแม้บางส่วนจะถูกน้ำกัดเซาะ โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาเก็บตัวอย่างวิหารหลายแห่ง ก่อนำชิ้นส่วนของคอนกรีตไปศึกษาค่าแร่ธาตุที่ประกอบอยู่ในเสาเหล่านั้น

โดยผลการตรวจสอบพบว่าส่วนผสมในเสาวิหาร มีส่วนผลมของ น้ำทะเล ขี้เถ้าภูเขาไฟ ที่ทำให้เกิดแร่ธาตุตัวใหม่ที่เข้ามาเสริมทำให้เสาคอนกรีตแข็งแรง ซึ่งแร่ธาตุตัวใหม่ มีชื่อว่า aluminium tobermorite ที่นักวิจัยต่างเชื่อว่า เกิดจากภูมิปัญญาของผู้ก่อสร้างวิหารชาวโรมันเมื่อกว่า 2000 ปีก่อน

และในการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบว่ากระบวนการที่ทำให้คอนกรีตของวิหารโรมันมีความแข่งแกร่ง เนื่องจากน้ำทะเลซึมผ่านเข้าไปในเนื้อเสา ก่อนจะทำปฏิกิริยาที่ทำให้คอนกรีตมีความคงทนมากขึ้น ทั้งนี้จากการค้นพบในครั้งนี้ หากทำกาวิจัยต่อเนื่องเพื่อค้นหาสูตรและส่วนผสมที่ทำให้คอนกรีตในปัจจุบันมีคุณสมบัติคล้ายกันนั้นก็สามารถทำได้ ซึ่งถือเป็นการค้นพบที่สามารถนำเอาผลการวิจัยไปต่อยอดและพัฒนาในอนาคต

Source : telegraph

Previous articleพ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560 กับผลกระทบด้านอสังหาฯ-รับเหมา
Next article‘ดี.พี. เซรามิคส์’ จับมือ ‘โคห์เลอร์’ เปิดโชว์รูม โคห์เลอร์ แฟลกชิพ สโตร์ ย่านทองหล่อ