กรมทางหลวง เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วม จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง 20 จุดเสี่ยงในกรุงเทพ และปริมณฑล ดูแลสถานการณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง

นายสราวุธ ทรงศิวิไล รองอธิบดีกรมทางหลวงฝ่ายบำรุงทาง เปิดเผยเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2559 ว่า ได้สั่งการให้ สำนักงานทางหลวงที่ 13 (กรุงเทพฯ) และแขวงทางหลวง ในสังกัดที่รับผิดชอบพื้นที่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้กำหนดจุดเฝ้าระวัง จุดที่สุ่มเสี่ยง/อ่อนไหว น้ำท่วมทาง พร้อมทั้งเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องสูบน้ำ เครื่องมือเครื่องจักรอื่นและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกปลอดภัยให้พร้อมตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ จนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย พร้อมทั้งติดตาม รายงาน สถานการณ์เป็นระยะ ๆ

ทั้งนี้ จะพยายามไม่ให้มีน้ำท่วมขังบนผิวจราจรและกระทบต่อการจราจร ในสายทางที่กรมทางหลวงรับผิดชอบนั้น สำนักทางหลวงที่ 13 (กรุงเทพ) และแขวงทางหลวงในสังกัด ได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กทม. เทศบาลในพื้นที่ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่พบพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่จุดเฝ้าระวัง จุดที่อ่อนไหว ที่คาดว่าจะเกิดน้ำท่วมขังจำนวน 20 จุด ดังนี้

จุดที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 31 ถนนวิภาวดี บริเวณวิภาวดี ซอย 3 พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 31 ถนนวิภาวดี บริเวณหน้าสมบัติทัวร์ พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 3 ทางหลวงหมายเลข 31 ถนนวิภาวดี บริเวณหน้า Toshiba – Central ลาดพร้าว พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 304 ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณช่วงคลองประปา – ศูนย์ราชการ พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 5 ทางหลวงหมายเลข 304 ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณช่วงวงเวียน – ราชภัฏพระนคร พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 304 ถนนรามอินทรา บริเวณรามอินทรา ซอย 5 พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 7 ทางหลวงหมายเลข 304 ถนนสุวินทวงศ์ บริเวณนิมิตใหม่ – ราษฎร์อุทิศ พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 8 ทางหลวงหมายเลข 351 ถนนเกษตร – นวมินทร์ บริเวณคลองบางบัว พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 9 ทางหลวงหมายเลข 3901 , 3902 บริเวณช่วงคลองปากน้ำ พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 10 ทางหลวงหมายเลข 3312 ถนนลำลูกกา บริเวณช่วงปากทางลำลูกกา พื้นที่กรุงเทพมหานคร
จุดที่ 11 ทางหลวงหมายเลข 302 ถนนงามวงศ์วาน บริเวณช่วงใต้ทางด่วนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี
จุดที่ 12 ทางหลวงหมายเลข 306 ถนนติวานนท์ บริเวณช่วงอุโมงค์ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
จุดที่ 13 ทางหลวงหมายเลข 304 ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณแยกเมืองทอง จังหวัดนนทบุรี
จุดที่ 14 ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท บริเวณซอยแบริ่ง – ซอยลาซาล จังหวัดสมุทรปราการ
จุดที่ 15 ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท บริเวณแยกปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ
จุดที่ 16 ทางหลวงหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท บริเวณ กม.33 – กม.34 จังหวัดสมุทรปราการ
จุดที่ 17 ทางหลวงหมายเลข 3344 ถนนศรีนครินทร์ บริเวณแบริ่ง – ลาซาล จังหวัดสมุทรปราการ
จุดที่ 18 ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน บริเวณหน้าตลาดสี่มุมเมือง จังหวัดปทุมธานี
จุดที่ 19 ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน บริเวณหน้า ม.กรุงเทพ จังหวัดปทุมธานี
จุดที่ 20 ทางหลวงหมายเลข 1 พหลโยธิน บริเวณหน้าศูนย์มิตซูบิชิ จังหวัดปทุมธานี

รองอธิบดีกรมทางหลวงฝ่ายบำรุงทาง กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับจุดเฝ้าระวังดังกล่าวจำนวน 20 จุด กรมทางหลวงได้ จัดเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคอยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และช่วยเหลือประชาชนขณะเกิดฝนตกหนัก รวมถึงเตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เร็วไว้ไปสูบน้ำในสายทางที่ฝนตกหนักและระบายน้ำไม่ทัน ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแจ้งเหตุน้ำท่วมบนผิวทางต่าง ๆ ได้ที่ สายด่วนกรมทางหลวง 1586 ทุกวันฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

Previous articleจากเส้นทางที่หลากหลาย สู่แนวคิดแบบ OPENSPACE
Next articleเคล็ด(ไม่)ลับ 21 ข้อ สู่เส้นทางความสำเร็จในสายงานสถาปัตยกรรม
กิตติยา เธียรนันทน์
บรรณาธิการเว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส วิชาโทการผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เคยเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ประจำสำนักข่าวหลักในประเทศ 2 แห่ง ปัจจุบันผันมาเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าววงการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม