จากการที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ได้มีแผนเปลี่ยนสะพานไฮเวย์ลอยฟ้าแห่งหนึ่งที่ใช้งานมายาวนานกว่า 40 ปี ให้เป็นทางเดินสาธารณะสำหรับมวลชน ซึ่ง MVRDV สตูดิโอ ออกแบบสัญชาติดัตช์ ก็ได้เข้ามารับหน้าที่นี้ พร้อมนำเสนอแผนออกแบบรีโนเวท สะพานดังกล่าว เป็นทางเดินลอยฟ้าสวยงามที่ปกคลุมไปด้วยพืชพรรณไม้นานาชนิดเป็นระยะทางกว่า 983 เมตร ลอยอยู่เหนือถนน

ผลงานออกแบบนี้มีชื่อว่า Seoullo 7017 ซึ่งหมายถึง “Seoul Street” ผนวกกับปีที่สร้างคือปี ค.ศ. 1970 และ ปีที่จะมีการรีโนเวท ค.ศ. 2017 ด้วยการออกแบบปรับพื้นที่ให้เป็นทางเดินลอย จะมีความโดดเด่นที่มีพรรณไม้นานาชนิดกว่า 24,000 สายพันธุ์ ตกแต่งตลอดทางเดินเป็นแนวยาว ส่วนทางลาดที่เป็นทางขึ้นไฮเวย์เดิมนั้น ก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นบันได และลิฟท์ สำหรับเป็นจุดที่ประชาชนจะใช้เป็นทางขึ้นสวนลอยฟ้า นอกจากนี้ตลอดเส้นทางยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายทั้ง ร้านค้า ร้านน้ำชา พื้นที่แกลลอลี่ ลานแสดง และร้านอาหาร มอบประสบการณ์ให้ผู้ชมได้ดื่มด่ำกับธรรมความเขียวขจี สร้างความสุขขณะเดินเท้า ในฐานะพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมือง

การจัดวางพรรณไม้บนสวนลอยฟ้าแห่งนี้จะแบ่งตามตัวอักษรภาษาเกาหลีตามพจนานุกรม ผนวกกับมีการเล่นองค์ประกอบสีและกลิ่นที่ลงตัว ให้ผู้ชมได้สัมผัสกับฤดูกาลที่แตกต่างกันออกไป การจัดวางพืชนั้นยังคงสื่อถึงวัฒนธรรมเกาหลีภายใต้แนวคิดการเชื่อมโยงสังคมเมืองเข้ากับธรรมชาติ และในขณะเดียวกันเส้นทางลอยฟ้าก็ยังเชื่อมไปยังพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เกาหลี และ ประตูนัมแดมุน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอันสำคัญของเกาหลีด้วย ส่วนในเวลาค่ำคืนตัวสวนก็ยังถูกแต่งเติมให้เกิดความสวยงามมากขึ้นด้วยหลอดไฟส่องสว่างสีฟ้า โดยนอกจากจะยกระดับให้ภาพรวมดูสวยงามสวยแล้วยังช่วยบำรุงให้พืชสมบูรณ์อีกทางหนึ่ง

Source : inhabitat.com

Previous articleหลุดสู่โลกแห่งจินตนาการ ในกล่องแสงสี ‘Kaleidoscopic’ ตกแต่งด้วยหินและกระจกสีจาก Caesarstone
Next articleสถาปนิกแดนปลาดิบ ไอเดียเจ๋ง สร้างสรรค์พื้นที่มิกซ์ยูสในอาคารด้วยบานเลื่อนสไตล์ญี่ปุ่น
วีรศักดิ์ ประสพบุญ
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยปฏิบัติงานเป็นนักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านรถเพื่อการพาณิชย์ การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม