พาชมงาน ‘สำรวจงานสร้างสรรค์ไทยเพื่อไปต่อ’ พร้อมตัวอย่างผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมในยุคปัจจุบัน

462

นิทรรศการ “Creativity onward: สำรวจงานสร้างสรรค์ไทยเพื่อไปต่อ” ที่จัดขึ้นใน TCDC ณ ไปรษณีย์กลาง เจริญกรุง ไม่ใช่แค่เพียงสะท้อนความเชื่อมันในศักยภาพของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยในยุคที่ผ่านมาเพียงเท่านั้น แต่ยังเชิญชวนให้มาร่วมคิดและมองหาโอกาศใหม่ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไทยให้ก้าวทะยานไปข้างหน้าและเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศอย่างที่เคยเป็นมา

เมื่อโลกผันแปรไปตามความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีและสังคมยุคใหม่กระบวนการคิดและแนวทางการสร้างสรรค์แบบเก่าจึงถูกทดแทนด้วยวิธีการแบบใหม่มากขึ้น นำไปสู่การปรับตัวขนาดใหญ่ในทุกระดับ และประเทศไทยเองก็ตกอยู่ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงระลอกใหม่นี้เช่นกัน แต่ก่อนที่เราจะเดินหน้าไปสู่การปรับเปลี่ยน การหันกลับมาสำรวจความเป็นไปที่ผ่านมาอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ทั้งการเรียนรู้งานสร้างสรรค์ในอดีตที่จะช่วยให้เข้าใจลักษณะเฉพาะและจุดแข็งของตัวเองได้อย่างถ่องแท้ และการเรียนรู้งานสร้างสรรค์ในปัจจุบัน ซึ่งช่วยชี้ให้เห็นถึงโอกาศจากแนวทางการผลิตแบบใหม่

แนวคิดแรกที่เราจะนำมาเสนอวันนี้คือ สร้างสรรค์เพื่อพลเมืองโลก Creating for the Global Citizens
‘การเชื่อมโลกด้วยอินเตอร์เน็ตทำให้การเข้าถึงวัฒนธรรมทั่วโลกกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปัจจุบัน ความคุ้นเคยเหล่านี้เปิดโอกาศให้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในยุคใหม่เป็นไปได้ทั้งการนำเสนอความเป็นตัวคนและพื้นถิ่นตลอดจนคุณค่าและการใช้งานที่เป็นสากล เพื่อตอบโจทย์ตลาดโลกที่ใหญ่กว่า’

รสชาติในแบบที่ควรจะเป็น
‘ซอสและเครื่องแกงสำเร็จรูปนับเป็นความพยายามสร้างรสชาติอาหารไทยให้เป็นมาตราฐาน ผลิตได้ในปริมาณมาก โดยยังชงรสชาติที่เหมือนกัน ช่วยแก้ปัญหาความซับซ้อนของส่วนผสมในอาหารไทยกับผู้ที่ไม่คุ้นเคย เมื่ออาหารไทยเป็นที่นิยมมากขึ้น ยิ่งเพิ่มโอกาศในการคิดค้นนวัตกรรมผลิตซอสและเครื่องแกงที่หลากหลายและให้ความรู้สึกอุ่นใจว่านี่คือรสชาติอาหารไทยที่ควรจะเป็น’

ร่วมกันเพื่อตอบโจทย์ที่ดีกว่า Together we can find better solutions
‘ในวันที่เทคโนโลยีเปิดโอกาศให้ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการ นักออกแบบจึงสามารถทำงานร่วมกับผู้บริโภคและผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา เพื่อสร้างสรรค์ผลงานโดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลาและระยะทาง ทั้งยังสามารถทดสอบผลการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจลูกค้าและตอบโจทย์ทางธุรกิจ’

ลูกค้า = นักออกแบบ
คราฟท์คา, ชนาสิญจ์ สัจจเทพ และ นีล ไมเออร์ส
‘คราฟท์คา คือแบรนด์รองเท้าผ้าใบที่ให้ทุกคนร่วมออกแบบลวดลายรองเท้าได้ เพียงอัพโหลดที่ต้องการไม่ว่าจะลายกราฟิค รูปวาด หรือรูปถ่ายที่ไม่ผิดลิขสิทธิ์บนเว็บไซต์ ระบบก็จะแสดงผลทันทีว่ารองเท้าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ก่อนถูกนำไปผลิตด้วยการพิมพ์ลายละเอียดสูงและส่งตรงถึงบ้าน นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังสามารถเลือกซื้อรองเท้าผ้าใบที่ผู้อื่นออกแบบไว้บนเว็บไซต์ได้ โดยผู้ออกแบบจะได้รับส่วนแบ่ง 10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคู่’

งานจักสานในบริบทร่วมสมัย
แจกันไม้ลาบอราทอรีและเชิงเทียนพิลลาร์, ปาตาเพียร สตูดิโอ
‘ผลงานงานของ ปาตาเพียร สตูดิโอ เกิดจากความคิดที่ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับงานจักสานไทย โดยใช้เอกลักษณ์ทางด้านลวดลายและการใช้คู่สีของงานจักสานดั้งเดิม มาจับคู่กับผลิตภัณฑ์ของไม้ที่ออกแบบให้ให้เข้ากับวิธิชีวิตของคนในปัจจุบัน โดยทำงานร่วมกับชาวบ้านโดยทดลองจักสานด้วยไม้ไผ่เส้นเล็กกว่าปกติเพื่อให้ชิ้นงานดูทันสมัยมากขึ้น’

ตัวช่วยดูแลสุขภาพรถ
ไดรฟ์บอท, บริษัท ไดรฟ์บอท จำกัด
‘ไดรฟ์บอท เป็นอุปกรณ์เสริมติดรถยนต์ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่เข้าใจสถานะต่าง ๆ ของรถ เช่น สภาพเครื่องยนต์ น้ำมัน ระบบเบรค แบตเตอร์รี่ ฯลฯ โดยส่งข้อมูลมายังแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน หากรถยนต์มีปัญหา ไดรฟ์บอทจะช่วยระบุต้นเหตุให้กับผู้ใช้งาน ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด นอกจากนี้ยังช่วยบันทึกเส้นทางการเดินทางพร้อมปริมาณน้ำมันที่ใช้ เพื่อช่วยวางแผนการเดินทางในอนาคต ความสามารถเหล่านี้เป็นที่สนใจของผู้ใชรถเป็นจำนวนมาก ทำให้ไดรฟ์บอทระดมผ่านเว็บไซต์อินดี้โกโกสำเร็จในเวลาเพียง 6 วัน’

ลงแรงสร้างโคมไฟ
ลานนา แฟกตอรี่, บริษัท ธิงค์ สตูดิโอ จำกัด
‘ลานนา แฟกตอรี่ทำหน้าที่ผลิตโคมไฟเส้นได้ด้วยหลักการแบบเดียวกันกับเครื่องทำผ้าพื้นบ้านลานนา โดยผู้ใช้ต้องเลือกสีของด้ายที่ต้องการ เลือกรูปร่างของแม่แบบ และลงมือทำด้วยตัวเองผ่านการปั่นแป้นถีบในอริยาบทเดียวกับการถีบจักรยานเพื่อหมุนแม่พิมพ์พันด้าย และหมุนพวงมาลัยขยับตำแหน่งด้าย ลานนา แฟกตอรี่จึงเป็นงานออกแบบที่มอบประสบการณ์การออกแบบชิ้นงานด้วยตัวเองของผู้ใช้’

นี่ก็เป็นแค่ 7 ตัวอย่างของนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดแสดงในงานเพียงเท่านั้น หากใครสนใจชมผลงานอื่น ๆ สามารถเยี่ยมชมได้ในงาน “Creativity onward: สำรวจงานสร้างสรรค์ไทยเพื่อไปต่อ” ที่จัดขึ้นใน TCDC ณ ไปรษณีย์กลาง เจริญกรุง ตั้งแต่เวลา 10.30 – 21.00 น. โดยงานจะสิ้นสุดภายในวันที่ 17 กันยายนนี้

Previous articleทำไมพื้นไม้คอร์กถึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับวัสดุปูพื้น
Next articleสยามไฟเบอร์กลาส ผู้ผลิตฉนวนกันเสียงด้วยวัสดุใยแก้ว เจ้าแรกแห่งประเทศไทย