เนื่องด้วยความนิยมในการขี่จักรยานบนพื้นที่ในเขตเมืองนั้นมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวนอร์เวย์จึงเกิดไอเดียในการสร้างพื้นที่แห่งความยั่งยืนในอนาคตด้วยการสร้างโรงแรมที่มีทางจักรยานอยู่ภายใน จนทำให้ทุกวันนี้ บริเวณสถานีรถไฟหลายแห่งมีการสร้างโรงแรมจักรยานขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานเป็นยานพาหนะหลัก

Lillestrøm Bicycle Hotel นับเป็นหนึ่งตัวอย่างของโรงแรมจักรยานที่น่าสนใจ ออกแบบโดย Various Architects สตูดิโอในนอร์เวย์ เริ่มเปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2016

img_2_1480421339_18512a14089ee256c1798ef0def70648
ด้านบนอาคารมีหลังคาสำหรับกันฝน ซึ่งยื่นออกจากตัวฟาซาด

Various Architects ร่วมมือกับ Rom Eiendom AS บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในนอร์เวย์ และการรถไฟแห่งชาตินอร์เวย์ หยิบเอาโปรเจคโรงแรมจักรยานนี้มาเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยรอบให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น และยังเรียกได้ว่าเป็นการคืนพื้นที่ในส่วนของโรงแรมให้กับสาธารณะ โดยนำเอาพื้นที่ดาดฟ้ามาใช้เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟ

โรงแรมจักรยาน มีลักษณะเป็นหลังคาไม้รูปทรงอิสระ ล้อมรอบด้วยกระจกและฐานคอนกรีต ตัวอาคารมีฟาซาดโปร่งแสง สำหรับให้แสงจากภายนอกลอดเข้ามาภายในได้ในช่วงกลางวัน และในช่วงกลางคืน ตัวอาคารก็จะทำหน้าที่ส่องแสงไปยังบริเวณรอบ ๆ เมื่อมองกลับมายังตัวอาคาร จะเห็นเป็นภาพที่แตกต่างกันระหว่างช่วงกลางวันและกลางคืน โดยหลังคาไม้แบบลาดที่ใช้ประดับอาคารนั้นมีส่วนช่วยให้โครงสร้างอาคารดูมีชีวิตชีวามากขึ้น และยังทำหน้าที่เป็นเหมือนจุดชมวิว ที่ช่วยให้สามารถมองเห็นวิวของเมือง Lillestrøm ได้แบบพาโนรามา

img_3_1480421339_3b62fd24a11119b0210e69997e68ad55

รูปแบบอาคารได้รับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบรวมทั้งวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างอาคารเหล่านั้น เช่น คอนกรีต กระจกรางรูปตัวยู เหล็ก ไม้ และต้นเซดัม ซึ่งผู้ออกแบบนำวัสดุเหล่านี้มาใช้ในการสร้างโรงแรมจักรยานด้วยเช่นกัน โดยด้านในอาคารจะใช้คอนกรีตในการปูพื้นและผนัง ส่วนตัวฟาซาดด้านนอกจะใช้กระจกรางรูปตัวยู โดยไม่ต้องใช้โลหะมาช่วยพยุงโครงสร้าง นอกจากนี้ ยังมีการใช้ไม้เป็นโครงสร้างหลัก และใช้สำหรับประดับตกแต่งในส่วนของเพดานด้านบนอีกด้วย

อาคารแห่งนี้ได้ชื่อว่า เป็นอาคารที่ใช้พลังงานไปน้อยที่สุด เพราะในระหว่างวันจะได้แสงอาทิตย์จากภายนอกส่องสว่างเข้ามาด้านในโดยไม่จำเป็นต้องเปิดไฟเพิ่มในตัวอาคาร และในช่วงกลางคืน แสงไฟที่ถูกประดับตกแต่งอยู่ภายในก็จะทำหน้าที่เป็นตัวส่องสว่างให้กับบริเวณโดยรอบ ส่วนในเรื่องของระบบถ่ายเทอากาศนั้น อากาศภายในจะสามารถถ่ายเทออกไปด้านนอกโดยผ่านช่องว่างระหว่างฟาซาดกระจกนั่นเอง

img_4_1480421339_7bae4b811395bb893a059fae74b3634a img_5_1480421339_9c101a6311f19fa92056d8f24f0e2d65 img_6_1480421339_03b96a60d382f31bf9547dc6e166eff8 img_7_1480421339_1fd4bf3934210b03d72f6e152dbb4b2c img_8_1480421339_eca15c48473993de648201d1c57d6147 img_9_1480421339_7b7bf09df68efc59cc25f39ef2cd75b0 img_10_1480421339_f01f33715dd8c28449d7b446210a061a img_11_1480421339_f98733080842cec0610bae4e557f0f56 img_12_1480421339_1d832a7286864b1a405e7b05b8f1d696
Source: designboom

 

Previous articleเจ.เอส.พี. นำเยี่ยมชมโครงการ พร้อมเปิดตัวทีมบริหาร
Next articleInstuMMents 01 อุปกรณ์สแกนผิววัตถุ 3 มิติ แบบพกพา ช่วยให้งานออกแบบเป็นเรื่องง่าย
ณัฐธิกานต์ อัจฉริยบดี
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านงานออกแบบ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม