มาดูแนวคิดและประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ DIY ตัวสะสมแบตเตอร์รี่หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘พาวเวอร์วอลล์’

924

เราเสียเงินกับค่าแผงโซลาร์และพาวเวอร์วอลล์ไปเท่าไหร่เคยคิดกันหรือไม่ แต่ถ้าหากเราสร้างมันขึ้นมาเองได้ มันก็จะช่วยประหยัดเงินเราไม่ใช่น้อยเลย ปัจจุบันเราจึงเห็นว่าคนเริ่มให้ความสนใจกับการสร้างพาวเวอร์วอลล์ (อุปกรณ์สะสมพลังงาน) ด้วยตัวเองมากขึ้น เห็นได้จากตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น YouTube Facebook หรือเว็บไซต์ต่างประเทศ พวกเขานำเสนอทั้งเครื่องมือที่ใช้ ขั้นตอนการทำ และประโยชน์ที่ได้รับจากตัวสะสมแบตเตอร์รี่ที่มีข้อดีไม่ต่างจากแผงโซลาร์ราคาสูงตามห้างสรรพสินค้าเลย วันนี้เราลองมาดูแนวคิดและผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้างพาวเวอร์วอลล์ของเหล่านักสร้างสรรค์จากยูเอสกันดีกว่า

บนเฟสบุ๊ค ยูทูป และฟอรั่มต่าง ๆ ผู้คนเริ่มเรียนรู้วิธีสร้างสรรค์อุปกรณ์สะสมพลังงานในรูปแบบของตัวที่มีราคาถูกกว่าการซื้อพาวเวอร์วอลล์จากผู้ผลิตชื่อดังมาใช้เสียอีก Jehu Garcia หนึ่งในผู้สร้างพาวเวอร์วอลล์ที่โด่งดังที่สุด เขาได้บอกไว้ว่า “มันคืออนาคตของเรา ทั้งบริสุทธิ์ เรียบง่าย มีประสิทธิภาพ และมีความทนทานสูง”
นอกจากนี้ Joe Williams อีกหนึ่งผู้สร้างพาวเวอร์วอลล์ กล่าวว่า “ผลลัพธ์คือเราสามารถพึ่งพามันได้ ผมไม่ใช่แค่สร้างมัน แต่ผมยังเข้าใจจุดเชื่อมต่อของพลังงานบางส่วนรวมไปถึงการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด ซึ่งนั่นก็เป็นแรงบันดาลใจสำหรับผม”

มีตัวพาวเวอร์วอลล์ DIY อีกหลากหลายเวอร์ชั่นที่สามารถกักเก็บพลังงานได้เป็นอย่างดี ใน Diypowerwalls.com เว็บไซต์ของประเทศฝรั่งเศษ มีผู้สร้างชื่อ Glubux กล่าวว่าพาวเวอร์วอลล์ของเขาสามารถกักเก็บพลังงานได้ถึง 28 กิโลวัตต์ “ผมใช้มันกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของผม ที่จริงแล้วผมยังซื้อเตาอบไฟฟ้าและกระทะไฟฟ้าเพื่อใช้เป็นพลังงานเสริมในช่วงฤดูร้อนอีกด้วย”

ยูทูปเบอร์ชาวออสเตรเลีย Peter Matthews อ้างว่า เขาสร้างแบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่ที่สามารถกักเก็บพลังงานได้ถึง 40 กิโลวัตต์ โดยในรายงานบอกไว้ว่าพลังงานเหล่านี้ได้จากแผงโซลาร์กว่า 40 ตัวที่อยู่บนหลังคาบ้านของ Matthews และมากพอที่จะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านของเขา “มีเพียงอุปกรณ์ขนาดใหญ่สองอันเท่านั้นที่ผมไม่ได้ใช้พลังงานสะสมนั่นก็คือเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความร้อน” เขากล่าว เราสามารถมองหาพลังงานทางเลือกอื่นที่มีประสิทธิภาพพอกันกับพาวเวอร์วอลล์ได้อีกมากมาย

ผู้สร้างพาวเวอร์วอลล์มือสมัครเล่นส่วนใหญ่ใช้แบตเตอร์รี่ลิเทียม ไอออนในการสร้างตัวสะสมพลังงาน ซึ่งตัวแบตเตอร์รี่ล้วนบรรจุอยู่ในพลาสติกหลากหลายสีสันและหาได้ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น แล็ปท็อป เป็นต้น ถ้าเราหาซื้อออนไลน์หรือตามศูนย์คอมพิวเตอร์ แบตเตอร์รี่จะมีราคาสูงกว่า 5 ดอลล่าร์แน่นอน แต่ถ้าเราได้ของมือสองมาจากโน๊ตบุ๊คเครื่องเก่าอย่าง Dell, HP, Lenovo, หรือ LG เราก็สามารถประหยัดเงินได้เป็นร้อยหรือเป็นพันดอลล่าร์ บางคนอาจจะคิดค้นไอเดียสะสมแบตเตอร์รี่ด้วยวิธีแปลกใหม่ที่บริษัทเทคโนโลยีเองยังต้องยกนิ้วให้กับความครีเอทของเขาเลยก็ได้

ข้อดีของเทรนด์การทำ DIY พาวเวอร์วอลล์คือบ้านเมืองจะมีขยะลดน้อยลง แต่ประมาณ 95% ของแบตเตอร์รี่ที่ขายในประเทศอเมริกาไม่ได้มาจากการรีไซเคิลและจากขยะทั่วไป ทั้งนี้ Carl E. Smith ซีอีโอและประธานแห่งบริษัท Call2Recycle กล่าวว่า “ตามจริงแล้ว แบตเตอร์รี่ทั้งหมดสามารถนำมารีไซเคิลเป็นสินค้ามือสองได้ พวกเขาไม่ควรทิ้งมันแต่ควรนำมารีไซเคิลแทน”

ถึงแม้มันค่อนข้างที่จะใช้เวลานานในการสร้างแบตเตอร์รี่ให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มันก็ถือว่าคุ้มค่าในการลงทุนสำหรับนักสร้างสรรค์ DIY พาวเวอร์วอลล์รุ่นใหม่ และถ้าพวกเขาใส่ใจในขั้นตอนการทำมากขึ้น ความเสี่ยงที่มันจะส่งผลอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในบ้านก็จะลดน้อยลงไปด้วย ท้ายสุดนี้ มันอาจจะมีความเสี่ยงในการสร้างอุปกรณ์สะสมพลังงานด้วยตัวเอง แต่เราก็อยากให้ทุกคนติดตามเทรนด์นี้ต่อไปเพราะมันจะส่งผลดีต่อพวกเราในอนาคตได้อย่างแน่นอน

Source: inhabitat

Previous articleกทม.วางผังเชื่อมต่อ 7 จังหวัด มุ่งพัฒนาเมือง
Next articleยลโฉม TCDC แหล่งรวมความรู้และพื้นที่พบปะแห่งใหม่ที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบให้กับทุกคน