Norman Foster

เชื่อว่าหลายคนคงรู้จัก Norman Foster หรือลอร์ดนอร์แมน สถาปนิกชาวอังกฤษผู้โด่งดังด้วยผลงานสถาปัตยกรรมอันเลื่องชื่อ ทั้งนี้ลอร์นอร์แมนได้ร่วมให้สัมภาษณ์กับ Engadin Art Talks (E.A.T.) ที่เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรื่องราวด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม การออกแบบ ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์และวรรณกรรม

Norman Foster

ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ 30 มกราคมผ่านช่องทาง Virtual ซึ่งในเวลา 12 ชั่วโมงของการถ่ายทอดสด ศิลปิน สถาปนิก นักออกแบบ นักเขียน และนักวิทยาศาสตร์ต่างได้แบ่งปันไอเดีย ความคิด และโปรเจกต์ของตนเองในธีมของปีที่ผ่านมาอย่าง “Longue durée” โดยผู้ดูแลอย่าง Hans Ulrich Obrist และ Philip Ursprung ในหัวข้อเรื่อง “Long duration in the city” ซึ่งได้เลือกโปรเจกต์ที่เชื่อมโยงกับเวลาที่มองย้อนกลับไปอดีตและยังมองการณ์ไกลไปสู่อนาคตมาในการสัมภาษณ์ครั้งนี้

โดยนอร์แมน ฟอสเตอร์ได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคิดของเขาต่อคำว่า “Long duration in the city” รวมไปถึงการพูดคุยเรื่องโปรเจกต์ของเขาอย่าง “InnHub la punt” ที่เป็นศูนย์รวมนวัตกรรมแห่งใหม่ใจกลางหุบเขาเอนกาดิน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

Long duration in the city” การมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การก่อสร้างเมืองและคาดการณ์ไปสู่อนาคต

บทสนทนาระหว่างผม นักวิจารณ์ และผู้ดูแลอย่าง Hans Ulrich Obrist จะเน้นไปที่ 3 โปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับเวลา และ “ระยะเวลาที่ยาวนาน (long duration)” อย่าง Reichstag (ชื่อของรัฐสภาเยอรมัน) ในกรุงเบอร์ลิน Willis Faber & Dumas ในอิปสวิช และมูลนิธิของผมในมาดริด โดยที่โปรเจกต์ Reichstag เกี่ยวกับการรวมเศษส่วนของประวัติศาสตร์ของตึกที่เคยเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองแห่งเชื้อชาติ ซึ่งเราต้องมองย้อนกลับไปที่ต้นกำเนิดของตึกนั้น ซึ่งก็คือประวัติศาสตร์ของมันนั่นเอง และในขณะเดียวกันก็มองไปในอนาคตข้างหน้าอีกด้วย

Norman Foster

ทว่าโปรเจกต์ Willis Faber & Dumas คือ วิธีการที่ยืดหยุ่นเพื่อการรองรับอนาคตที่ไม่แน่นอน ในช่วงที่อาคารถูกสร้างขึ้น แม้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ส่วนประกอบสำคัญของการทำงาน แต่อย่างไรก็ตามการปฎิวัติทางดิจิทัลจะเกิดตามมาไม่นาน ในขณะที่องค์กรอื่นจะต้องสร้างตึกใหม่เพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ แต่ Willis Faber ถูกออกแบบมาเพื่อให้ปรับตัวได้ง่ายกับพื้นที่การทำงานรูปแบบใหม่ โดยไอเดียที่มีเพื่อการเตรียมตัวไปสู่อนาคตนี้คือสิ่งที่เป็นแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมูลนิธิของผมในมาดริด พวกเราได้ช่วยกันนำความคิดที่ชาญฉลาดจากคนรุ่นใหม่มาผสมให้เข้ากับแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญและเมนเทอร์เพื่อช่วยสร้างไอเดียในอนาคตที่ไม่แน่นอนดังกล่าว โดยเกี่ยวโยงอย่างลึกซึ้งกับคำถามที่ว่าการแพร่ระบาดของไวรัส ณ ปัจจุบันส่งผลต่อวิถีชีวิตของพวกเราและเมืองอย่างไรบ้าง

 

เมืองในอนาคตที่ตอบสนองต่อสภาวะของโลกทุกวันนี้ในความคิดของนอร์แมน ฟอสเตอร์

ประวัติศาสตร์ของความรุ่งเรืองคือประวัติศาสตร์ของเมืองและพื้นที่เมือง โดยเหตุการณ์มหาอัคคีภัยแห่งลอนดอน (The great fire of London) ในปี 1666 ทำให้เกิดการสร้างเมืองด้วยอิฐทนไฟในจอร์เจีย ส่วนการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคในยุคกลางศตวรรษที่ 19 ทำให้ท่อระบายน้ำแบบเปิดที่เทมส์กลายเป็นสุขาภิบาลที่ทันสมัยและเขื่อนเทมส์ ทว่าทุกเหตุการณ์ ทั้งระบบอาคารป้องกันไฟ ระบบท่อระบายน้ำ และสวนสาธารณะสีเขียวยังไงก็ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว ซึ่งวิกฤตการณ์ในวันนี้เร่งการมาถึงของสิ่งเหล่านั้นให้เร็วขึ้น

Norman Foster

และการแพร่ระบาดครั้งยิ่งใหญ่ช่วงปี 2019-20 ได้สร้างใจกลางเมืองร้าง เฟซมาส์ก การล็อกดาวน์และการกักตัว แต่ก็ยังก่อให้เกิดการปฏิวัติทางสังคมและวัฒนธรรมของปี 2020 ด้วยการสร้างโฉมใหม่ของพื้นที่ทางสังคม เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ และสเตเดียม ด้วยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ได้เห็นการเพิ่มขึ้นของการเคลื่อนย้ายของผู้คน สินค้า และข้อมูล ในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับความเป็นจริงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเราต้องมาดูกันต่อไปว่าในอนาคตเมืองของเราจะเป็นเช่นไร

 

“เมือง 15 นาที” โฉมหน้าของเมืองในอนาคตอันแสนเรียบง่าย

ตอนนี้พวกเรากำลังมองหาเทรนด์ใหม่ที่หลีกเลี่ยงการใช้พลังงานจากฟอสซิล (น้ำมัน) ไปสู่ยานพาหนะจากแรงขับด้วยพลังงานไฟฟ้าซึ่งสามารถชาร์จแบตได้ซึ่งจะมีความสะอาดกว่า หรือยานพาหนะที่ไม่ต้องอาศัยคนขับ การบริการขนส่ง เช่น uber การผลิตสกู๊ตเตอร์ที่เพิ่มขึ้น e-bike และโอกาสในการเติบโตของเทคโนโลยีโดรนสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้คนและสินค้า ซึ่งการเพิ่มตัวเหล่านี้ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ขึ้นมา สถานที่ทำงานแบบเดิมจะอยู่รอดและเหมาะกับสังคม ทว่าจะต้องอาศัยความยืดหยุ่นและความสมดุลระหว่างเวลาที่ใช้ออกจากบ้านหรือสถานที่อื่น ๆ เพื่อสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น

Norman Foster

ใจกลางเมืองจะเงียบสงบมากขึ้น สะอาดขึ้น ปลอดภัยมากกว่าเดิม ปลอดภัย มีความสะดวกสบายมากขึ้นจนสามารถเดินและขี่จักรยานได้ นอกจากนี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย คุณลองนึกภาพรัฐสภาที่เป็นสวนสาธารณะที่มีต้นไม้เรียงราย ละแวกใกล้เคียงได้เห็นการฟื้นตัวของเมืองอย่างน่าสนใจพร้อมกับป้ายว่า “เมือง 15 นาที” ซึ่งเป็นเมืองในอุดมคติที่ผู้คนสามารถอยู่อาศัย ทำงาน นอน ซื้อของ ทานมื้อค่ำ ได้รับการศึกษา สังสรรค์และสนุกสนาน ด้วยสถานที่สำหรับกิจกรรมเหล่านั้นซึ่งสามารถเดินถึงกันได้ ซึ่งแนวคิดการอยู่อาศัยเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ได้รับความสนใจและกระตุ้นให้เกิดไวขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

 

“InnHub la puntพื้นที่สำหรับการร่วมมือกันและความคิดสร้างสรรค์

Norman Foster

“InnHub la punt” คือ ศูนย์วิจัยใหม่สำหรับนวัตกรรม สร้างขึ้นใจกลางหุบเขา Engadin ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่มุ่งหาผู้เยี่ยมชมใหม่ ๆ ร่วมกับสังคมพื้นบ้านเพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ สร้างงาน และฟื้นฟูงานฝีมือและผลผลิตในท้องถิ่น ซึ่งมีฐานไอเดียมาจาก “third place” ซึ่งไกลจากบ้านและที่ทำงานเพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการร่วมมือกันและความคิดสร้างสรรค์ โปรเจกต์นี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเป็นศูนย์รวมของผู้คนและความคิดสร้างสรรค์ โดยไอเดียมาจากการที่ได้หารือกันกับ Caspar Coppetti และ Beat Curti เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้คนไม่อพยพออกจากภูมิภาคไปสู่เมืองต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญไปที่ผู้คน ท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว แต่ในขณะเดียวกันก็รวมไปถึงชนพื้นเมืองและบริษัทเทคโนโลยี สตาร์ทอัพและมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์และการรวมตัวกัน

 

ตึกพลังงานสะอาด สร้างเพื่อใช้พลังงานให้คุ้มค่าที่สุด

การออกแบบ “InnHub la punt” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภูมิทัศน์รอบ ๆ และสถาปัตยกรรมท้องถิ่นด้วยกำแพงป้องกันที่โอบล้อมพื้นที่เพื่อป้องกันลมหนาวและทำให้มีที่พักพิงเหมาะสำหรับอากาศเฉพาะถิ่นของที่นี่ ผนังนี้ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมชั่วคราวระหว่างผนังฉนวนหนาและหน้าต่างลึกของหุบเขาซึ่งมีการเปิดช่องขนาดเล็กเพื่อลดการสูญเสียความร้อน ตึกนี้สร้างจากวัสดุท้องถิ่น หลังคาถูกออกแบบอย่างระมัดระวังเพื่อสร้างร่วมกับระบบผลิตพลังงานหมุนเวียน จัดเรียงบนพื้นผิวที่ทำมุมเพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของหิมะ ในขณะที่ทำให้แสงอาทิตย์เข้าไปในส่วนที่ลึกที่สุดของตึกได้ ระบบประหยัดพลังงานเหล่านี้ทำงานร่วมกับแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งสร้างพลังงานได้ถึง 1 ใน 3 ของความต้องการใช้พลังงานทั้งหมดในอาคาร

 

หุบเขา Engadin ภูมิภาคแห่งแรงบันดาลใจของนอร์แมน ฟอสเตอร์

ผมอาศัยอยู่ใน St. Moritz มาหลายปี ภูมิภาคนี้จึงใกล้ชิดกับหัวใจของผมมาก ผมพบแรงบันดาลใจในขนาดและความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติในขณะเล่นสกีข้ามประเทศและในสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านและเมืองในหุบเขานี้ ซึ่งสถาปัตยกรรมในหุบเขา Engadin มีมาตั้งแต่สมัยยุคกลางด้วยขนาดที่กว้างขวาง หลังคาขนาดใหญ่และหน้าต่างบานเลื่อนที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นแรงบันดาลใจให้แก่สถาปนิกยุคใหม่เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่น Le Corbusier ในความคิดของผม โบสถ์ของเขาที่ Ronchamp คงจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ถ้าไม่มีแบบอย่างของสถาปัตยกรรมอัลไพน์เอนกาดิน ดังนั้นผมจึงนึกถึงหุบเขานี้และโปรเจกต์อื่น ๆ ของผมในพื้นที่นี้ตลอด นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องดีที่เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย

Norman Foster

การที่จะออกแบบสิ่งใดแต่ละอย่างล้วนแล้วแต่อาศัยแรงบันดาลใจและความตั้งใจประกอบกับความรู้ความสามารถ ซึ่งคงจะดีหากอินไปกับสิ่งที่ได้ออกแบบจริง ๆ ซึ่งนอกจะทำให้ผลงานที่ได้ออกมาดีแล้ว ยังสร้างกำลังใจและความสุขให้ผู้ออกแบบได้มากมายอีกด้วย และ Norman Foster ก็เป็นตัวอย่างของบุคคลที่ “อิน” ไปกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสามารถสร้างสรรค์ผลงานอันน่าจดจำขึ้นมาได้นั่นเอง

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.designboom.com/architecture/interview-norman-foster-long-duration-engadin-art-talks-02-02-2021/?utm_source=designboom+weekly&utm_medium=email&utm_campaign=taking+a+long+view%3A+interview+with+norman+foster+on+%27long+duration+in+the+city%27

Previous articleลีฟคลีน พัฒนา แผ่นฆ่าเชื้อ ซีทัช (Z-Touch) แผ่นป้องกันและกำจัดเชื้อโควิด-19
ได้มากถึง 99.99%
Next articleThe Chloroplast สวนแนวตั้งย่อส่วน
ที่รวมศาสตร์ของ ประติมากรรม ธรรมชาติ และ สถาปัตย์ เข้าไว้ด้วยกัน
Porntiwa
สาวรัฐศาสตร์หน้าใส หัวใจรักการเขียน ผู้ผันตัวจากสายการเมือง มุ่งหน้าสู่สถาปัตยกรรมเต็มตัว