ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์ทั่วเมืองใหญ่ของโลก อาทิมณฑล  เหอหนาน ประเทศจีน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนีและเบลเยียม ทำให้บ้านเรือนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง เนื่องจากต้องเผชิญกับฝนตกหนัก

วันนี้ BuilderNews จะพาไปชมภาพเรนเดอร์การออกแบบ “เมืองลอยน้ำ” นวัตกรรมการพัฒนาที่ทำให้หมดกังวลกับปัญหาน้ำท่วมในอนาคต

ซีสเครเปอร์ The Seascraper

ผลงานดีไซน์โดย William Erwin และ Dan Fletcher สถาปนิกชาวอเมริกัน เมืองลอยน้ำซีสเครเปอร์ สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยกังหันแสงอาทิตย์จากแผงโซลาเซลล์ตกแต่งรอบผนังเมือง เช่นเดียวกับพลังงานไฟฟ้าที่ถูกนำไปใช้กับส่วนอื่น ๆ สำหรับลักษณะรูปโค้งเว้าของตัวเมือง ออกแบบมาเพื่อใช้กักเก็บน้ำฝนไว้บริโภค

มัลดีฟส์ โฟลทติ้ง ซิตี้ Maldives Floating City

ผลงานดีไซน์โดย Dutch Docklands บริษัทออกออกแบบสถาปัตยกรรมสัญชาติเนเธอร์แลนด์ จากการออกแบบมัลดีฟส์ โฟลทติ้ง ซิตี้ ให้กลายเป็นที่พักอาศัยริมน้ำและบริการต่าง ๆ นับพัน ด้วยการเน้นโทนสีสันที่สดใสอย่างสีคัลเลอร์ฟูล เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของประเทศหมู่เกาะปะการัง ให้ลอยไปตามกริดที่ยืดหยุ่นและใช้งานได้สะดวกบนทะเลสาบขนาด 2 ตารางกิโลเมตร

ออโทเปีย แอมแปร์ Autopia Ampere

ผลงานดีไซน์โดย Wolf Hilbertz สถาปนิกชาวเยอรมัน ด้วยการออกแบบรูปทรงเมืองลอยน้ำด้วยรูปร่างคล้ายก้นหอย ที่อาศัยกระบวนการพอกพูนด้วยไฟฟ้า โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลักในการทำงาน

กรีนสตาร์ Greenstar

ผลงานดีไซน์โดย Water Studio ด้วยการใช้รูปทรงดาวขึ้นมา เพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเนื่องจากภาวะโลกร้อน ภายในเมืองมีห้องพักทั้งหมด 800 ห้อง สามารถรองรับประชากรได้ 2000 คน

เฮกซาโกนอล โฟลทติ้ง ซิตี้ Hexagonal Floating City

ผลงานดีไซน์โดย AT Design Office เมืองลอยน้ำซึ่งมีถนนและทางเดิน ที่เกิดจากการออกแบบเชื่อมต่อกันด้วยโมดูลหกเหลี่ยม โดยอาศัยแรงยึดจากท่อใต้น้ำ ภายในเมืองยังมีที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร แหล่งการค้า แหล่งผลิตพลังงานและระบบจัดการของเสียอย่างครบครัน

ไบโอไดเวอร์ ซิตี้ Biosdiver City

ผลงานดีไซน์โดย Quentin Perchet Thomas Yvon และ Zarko Uzlac เมืองลอยน้ำที่ออกแบบเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้คนเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศใต้ท้องทะเล

พื้นที่ด้านบนผิวน้ำใช้เป็นที่พักอาศัย ส่วนด้านล่างเป็นพื้นที่ไว้ให้ลงไปชมสัตว์ใต้ท้องทะเลและส่วนล่างสุดจะมีเสายาวนับร้อยเสาเชื่อมเข้ากับใต้เมือง เพื่อเป็นที่ยึดเกาะของจุลินทรีย์และสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง

เดอะ ซิตี้ ออฟ เมอเรียน The City of Mériens

ผลงานดีไซน์โดย Jacques Rougerie ผ่านการออกแบบให้เป็นรูปปลากระเบน โดยอาศัยแหล่งพลังงานจากน้ำแต่ไม่มีการทำลายระบบใต้ทะเลแต่อย่างใด สามารถรองรับประชากรทั้งหมดได้มากถึง 7000 คน อีกทั้งยังมีห้องปฏิบัติการ ห้องเรียน พื้นที่พักผ่อนไว้สำหรับสันทนาการและเล่นกีฬาอีกต่างหาก

“เมืองลอยน้ำ” ยังถือเป็นการออกแบบที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทยเช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เสี่ยงจะจมอยู่ใต้บาดาลภายใน 10-15 ปีนี้ จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยน้ำมือมนุษย์

 Source

https://archinect.com/people/project/2904302/seascraper/2906731

https://maldivesfloatingcity.com/

http://jacquesrougeriedatabase.com/Projects/project/6/0

https://www.waterstudio.nl/projects/greenstar-floating-hotel-and-conference-center-maldives/

https://www.designboom.com/architecture/bjarke-ingels-big-floating-city-oceanix-04-04-2019/

https://inhabitat.com/biodivercity-floating-artificial-reef-lets-visitors-view-ocean-wildlife/

https://architizer.com/projects/city-of-meriens/  

Previous article“T House” บ้านคอนกรีต 3 ชั้น กับการใช้งานแบ่งสเปซแบบ Mixed Use ที่แทรกตัวอยู่ในย่านชิบูย่า
Next article12 เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ
ตอบโจทย์ชาว Work from Home
นั่งทำงานสบาย ไม่ปวดหลังแน่นอน
จิตรกมล ขวัญแก้ว
สาวขี้อาย จบการศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ที่ชอบแสงแดดยามบ่าย ไอซ์ลาเต้ และเต็มเปี่ยมไปด้วยความสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม