ทีมออกแบบ Khalili ส่งผลงาน The Pipe  โรงงานผลิตน้ำจืด ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เข้าร่วมประกวดออกแบบ Land Art Generator Initiative 2016 ในรอบสุดท้าย ตอบโจทย์การสร้างแหล่งผลิตน้ำตามนโยบายโครงสร้างพื้นฐานของรัฐแคลลิฟอร์เนีย ด้วยศักยภาพผลิตน้ำจืดได้มากถึง 4.5 พันล้านลิตรต่อปี พร้อมรูปลักษณ์สวยงามเป็นที่สะดุดตาต่อผู้คนทั่วไป และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รัฐแคลลิฟอร์เนีย ต้องการสร้างแหล่งผลิตพลังงานและน้ำสะอาดเป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองนโยบายปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รวมถึงข้อตกลงจากนานาชาติที่มีมติร่วมกันในการประชุม ณ กรุงปารีสเมื่อปีที่ผ่านมา ที่ต้องการให้ทุกชาติใช้พลังงานสะอาด สำหรับช่วยกันลดอุณหภูมิของโลก 1.5 – 2 องศา ก็เป็นข้อบังคับให้รัฐแคลลิฟอร์เนียต้องสร้างโรงงานผลิตน้ำสะอาดที่ปราศจากมลภาวะ และเนื่องด้วยงานประกวดออกแบบ Land Art Generator Initiative 2016 ( LAGI 2016) ในปีนี้ จะจัดขึ้นที่รัฐแคลลิฟอร์เนียพอดี จึงถือว่าเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้สิ่งก่อสร้างตามโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวเป็นโจทย์หลักในการออกแบบของเหล่าผู้ร่วมประกวดทั้งหลาย

The-Pipe-Land-Art-Generator-Initiative-1-1020x610

สำหรับการประกวดครั้งนี้ ทาง LAGI ได้ยื่นโจทย์ให้เหล่านักออกแบบ ว่าต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ผลิตพลังงานสะอาดหรือผลิตน้ำบริสุทธิ์สำหรับอุปโภคและบริโภคของชาวเมือง หรือจะนำองค์ประกอบทั้งสองมาประยุกต์รวมกันก็ได้เช่นกัน และที่สำคัญตัวผลงานจะต้องมีความโดดเด่นสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ดึงดูดสายตาจากผู้อยู่อาศัยชาวแคลลิฟอร์เนียทั่วไป ซึ่งทีม Khalili ผู้เข้าประกวดจากแคนนาดาที่ผ่านเข้ามาจนถึงรอบสุดท้าย ก็ได้วาดลวดลายออกแบบโรงผลิตน้ำบริสุทธิ์จากน้ำทะเล โดยตัวโรงงานมีลักษณะคล้ายกับท่อขนาดยักษ์ลอยอยู่เหนือผิวน้ำทะเลใกล้กับท่าเรือ Monica Pier พร้อมด้วยการตกแต่งสุดแปลกตา สามารถมองเห็นได้ชัดจากริมชายฝั่ง

ผลงานการออกแบบดังกล่าวมีชื่อว่า The Pipe ซึ่งคล้ายรูปลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างโดยตรง พร้อมด้วยขนาดใหญ่มหึมามองเห็นได้ชัดเจน จากท่าเรือ Santa Monica ที่อยู่ใกล้เคียง โรงงานแห่งนี้ใช้แสงอาทิตย์เป็นตัวสร้างพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับแยกเหลืออกจากน้ำเค็ม เพื่อสร้างน้ำสะอาดสำหรับหล่อเลี้ยงชาวเมือง โดยมีศักยภาพผลิตพลังงานได้ 10,000 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง หรือสามารถผลิตน้ำจืดได้มากถึง 4.5 พันล้านลิตรได้ในแต่ละปีเลยทีเดียว ซึ่งเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชนทั่วแคลิฟอร์เนีย และจุดเด่นที่สำคัญก็คือกระบวนการผลิตน้ำทั้งหมดล้วนใช้พลังงานสะอาดทั้งสิ้น จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบแต่อย่างใด

technical

บริเวณรอบนอกของโครงสร้าง จะติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์เป็นจำนวนมากครอบคลุมพื้นผิวอาคารทั้งหมด ซึ่งจะทำหน้าที่รับแสงอาทิตย์ที่สาดส่องลงมาเป็นพลังงานหลักสำหรับการผลิตน้ำจืดบริสุทธิ์ กระบวนการดังกล่าวจะเริ่มต้นจากสูบน้ำทะเลที่อยู่โดยรอบเข้ามาในตัวอาคาร และจะใช้พลังแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยกระตุ้นให้ผลึกเกลือและสิ่งสกปรกอื่น ๆ แยกตัวออกจากน้ำทะเล ส่งผลให้ได้น้ำจืดมาใช้งาน โดยน้ำจืดที่ได้จะถูกลำเลียงส่งผ่านตามท่อไปยังชายฝั่งสำหรับนำไปใช้ตามความต้องการของประชากร ส่วนเค็มเข้มข้นที่เหลือจากการแปรสภาพ ก็จะถูกส่งไปยังบ่อบำบัด ก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเลต่อไป ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาของเสียจากการผลิตได้อย่างยั่งยืน และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โรงงานผลิตน้ำจืด The Pipe นับเป็นตัวอย่างของงานออกแบบก่อสร้างสำหรับแปรสภาพน้ำในอนาคต โดยที่ยังคงเน้นการออกแบบให้มีรูปลักษณ์ที่สวยงามแบบศิลปะร่วมสมัย และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตรงตามโจทย์การประกวดแบบที่ LAGI ได้ตั้งไว้ นอกจากนี้ The Pipe ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งก่อสร้างที่มีเทคโนโลยีอันล้ำสมัยเท่านั้น แต่ยังเป็นแลนด์มาร์กสำหรับให้ผู้ชมมาทอดสายตาผ่อนคลาย บนวิวทะเลอันสวยงามอีกด้วย เรียกได้ว่าทั้งได้ประโยชน์ ทั้งเป็นเป้นกับสิ่งแวดล้อม และโดนใจประชาชนผู้อยู่อาศัยอย่างลงตัว

The-Pipe-Land-Art-Generator-Initiative-lead-1020x610 The-Pipe-Land-Art-Generator-Initiative-4-1020x610 The-Pipe-Land-Art-Generator-Initiative-2-1020x610

Source : inhabitat

Previous articleดูไบอวดโฉม Mohammed bin Rashid Stadium สนามกีฬารูปชามหงาย บนความจุ 60,000 ที่นั่ง
Next articleOSI ยกนวัตกรรม เครื่องปรับอากาศ N-Save.Bet ออกบูธจัดแสดง ในงานสัมมนา ณ เชียงใหม่
วีรศักดิ์ ประสพบุญ
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยปฏิบัติงานเป็นนักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านรถเพื่อการพาณิชย์ การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม