สถาปนิกทั้ง 3 จากบริษัทสถาปนิก RCR Arquitectes ได้รับรางวัล Pritzker Prize 2017 ซึ่งนับเป็นรางวัลที่มีเกียรติสูงสุดในวงการสถาปนิก โดยรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลในปีนี้ค่อนข้างเหนือความคาดหมาย และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีชื่อเสียงถึงมากระดับโลก

Rafael Aranda, Carme Pigem และ Ramon Vilalta สถาปนิกทั้ง 3 เริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 1988 ซึ่งแผนการดำเนินงานของบริษัทจะเป็นการรวมเอาสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์เข้าด้วยกัน เพื่อทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดขึ้นได้จริง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเกี่ยวข้องกับอะไรก็ตาม พวกเขาสร้างพอร์ทงานในแต่ละโปรเจคโดยสะท้อนสภาพธรรมชาติภายในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสเปน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้าตลอดเวลา โดยภูมิภาคดังกล่าวเป็นบ้านเกิดของพวกเขาเอง เพราะเหตุนี้ เราจึงจับตามองไปยังโปรเจคบางโปรเจคซึ่งค่อนข้างเป็นที่รู้จักของ RCR Arquitectes ที่มีส่วนเอาชนะใจกรรมการไปได้ในปีนี้

Soulages Museum เมือง Rodez ประเทศฝรั่งเศส

RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-01
© hisao suzuki

ขอเริ่มกันที่ Soulages Museum พิพิธภัณฑ์ที่สร้างเสร็จเมื่อปี 2014 ภายในประกอบด้วยผลงานหลากหลาย รังสรรค์โดย Pierre Soulage ศิลปินแนว abstract พิพิธภัณฑ์นี้ใช้การประดับตกแต่งด้วยหน้าต่างกระจกสี งานกระจก ตลอดจนผลงานภาพพิมพ์ โดยใช้รูปแบบของลูกบาศก์ วัสดุที่ใช้คือ เหล็ก Corten Steel หรือเหล็กที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ตัวอาคารและทิวทัศน์โดยรอบจะมีลักษณะกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียว

โรงบ่มไวน์ Bell-Lloc เมือง Palamós ประเทศสเปน

RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-02
© hisao suzuki
RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-03
© hisao suzuki

โรงบ่มไวน์แห่งนี้ ประดับด้วยหลังคาจากโลหะ มีกำแพงโค้ง มีหน้าต่างขนาดใหญ่พร้อมทิวทัศน์กลางป่า ในส่วนของห้องใต้ดินยังมีไร่องุ่น และบริเวณหลังคาจะยาวครอบคลุมทั้งห้องแล็บและทางเท้าทั้งหมด โดย RCR Arquitectes ออกแบบอาคารนี้ให้กลายเป็นอาคารที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้กับทุกอารมณ์เลยทีเดียว คือ สามารถได้ยินเสียงของความเงียบ รับรู้ได้ถึงกลิ่นของไวน์ ความแข็งแรงของวัตถุดิบ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิก็ยังสามารถรู้สึกได้เช่นกัน หรือแม้แต่แสงไฟที่ริบหรี่ที่สุดก็ยังสามารถเห็นได้ภายในโรงบ่มไวน์ Bell-Lloc

โรงละคร ‘La Lira Theater Public Open Space’ เมือง Ripoll ประเทศสเปน

RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-04
© hisao suzuki
RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-05
© hisao suzuki

โรงละครแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อชาว Ripoll เมื่อปี 2011 ด้วยความร่วมมือระหว่างบริษัทสถาปนิก 2 แห่ง คือ RCR Arquitectes และ Joan Puigcorbe ออกแบบมาเป็นลานกว้างที่มีโรงละครและสถานที่สำหรับพบปะสังสรรค์อยู่ในตัวอาคาร เชื่อมด้วยสะพานข้ามแม่น้ำยาว 40 เมตร

ร้านอาหาร ‘Les Cols Restaurant Marquee 2011’ เมือง Olot ประเทศสเปน

RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-06
© hisao suzuki
RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-07
© hisao suzuki

ร้านอาหารแห่งนี้ ประกอบด้วยหลังคาน้ำหนักเบา ทำจากท่อทรงโค้งเพื่อสร้างเป็นกระโจม เหมาะแก่การพักผ่อน ปิกนิกกับเพื่อนหรือคนรู้ใจเป็นอย่างยิ่ง พื้นที่ด้านนอก มีลานสำหรับจัดงานเลี้ยงขนาดย่อม ทั้งยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกได้จากด้านในอาคาร โดยนำหินมาเป็นวัสดุที่ใช้ประกอบเป็นผนัง ฉากกั้น รวมถึงทางเดิน

Sant Antoni – Joan Oliver Library เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน

RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-08
© hisao suzuki

ชื่อของห้องสมุดแห่งนี้ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ Joan Oliver นักเขียนและนักกวีชาวฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นห้องสมุดที่ทำให้ RCR ได้รับรางวัลเมื่อปี 2005 อีกด้วย ซึ่งทีมงานผู้ออกแบบต้องการให้พื้นที่บริเวณสนามด้านในกลายเป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ เช่นเดียวกับจุดประสงค์ของการสร้างห้องสมุดที่มีขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยห้องสมุดห้องหลักจะถูกล้อมรอบด้วยกระจก ที่ช่วยให้แสงสว่างภายนอกส่องเข้ามาได้อย่างทั่วถึง บริเวณทางเดินก็เช่นกัน

‘Row House’ บ้านพักส่วนตัว เมือง Olot ประเทศสเปน

RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-09
© hisao suzuki
RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-10
© hisao suzuki

สถาปนิกนำเอาบ้านเก่าที่ทรุดโทรม มาออกแบบบ้านพักส่วนตัว โดยให้มีกำแพงปิดกั้นทั้ง 2 ด้าน และยังคงฟาซาดเดิมเอาไว้ ด้วยความต้องการของชาวเมืองที่อยากให้บ้านหลังนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแห่งหนึ่ง คอนเซ็ปต์ของโครงการนี้คือความต้องการให้สิ่งจำเป็นอยู่ภายในบ้านทั้งหมด และลดพื้นที่ในส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป ทั้งยังคำนึงถึงธรรมชาติของบ้านว่าควรจะประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง เพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้านดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

การตกแต่งภายในเป็นการออกแบบให้พื้นที่แต่ละมีความสูง-ต่ำไม่เท่ากัน เพื่อให้เกิดการแยกแยะความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน กำแพงของบ้านจะทำจากหิน ส่วนวัสดุที่ใช้สำหรับแบ่งพื้นที่ด้านข้างแยกจากห้องนั่งเล่น คือ เหล็ก

โรงเรียนอนุบาล ‘El Petit Comte Kindergarten’ เมือง Besalú ประเทศสเปน

RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-11
© hisao suzuki
RCR-arquitectes-project-round-up-pritzker-prize-designboom-12
© hisao suzuki

โรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ ใช้ท่อยาวหลาย ๆ แท่งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่างกัน และใช้สีรุ้งสร้างเส้นรอบวง เพื่อทำให้ดูเหมือนเป็นดินสอสีแท่งใหญ่วางล้อมรอบโรงเรียน สร้างบรรยากาศของความเป็นโรงเรียนให้มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งยังช่วยสร้างสีสันให้กับสถานที่ตั้งโรงเรียนที่เป็นย่านเก่าในเมือง Besalú ได้อีกด้วย โดยวัสดุที่ใช้ปิดล้อมอาคารตั้งแต่พื้นไปจนถึงเพดานกระจก มีส่วนช่วยให้แสงจากธรรมชาติดูมีสีสันมากยิ่งขึ้น

Source: designboom

Previous article‘The Frame’ โทรทัศน์รุ่นใหม่จาก Samsung เปลี่ยนเป็นแกลเลอรี่ส่วนตัวในพริบตา!
Next articleย้อนรอยงานสถาปนิก’60 คอนเซ็ปต์ “บ้าน บ้าน” สู่ความสำเร็จ ด้วยยอดผู้เข้าชมทะลุ 4 แสน !
ณัฐธิกานต์ อัจฉริยบดี
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านงานออกแบบ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม