สถาปนิกคิดไกล นำ ‘วัสดุก่อสร้างเหลือทิ้ง’ จำนวนมากถึง 100 ตัน มาใช้ในงานออกแบบอย่างสร้างสรรค์ ที่งานแสดงศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Venice Architecture Biennale 2016 ประเทศอิตาลี

งานแสดงศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Venice Architecture Biennale 2016 เปิดฉากภายใต้แนวคิด ‘Reporting from the Front’ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอว่า สถาปัตยกรรม สามารถช่วยให้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ ใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพได้อย่างไรบ้าง โดยภายในงาน มีการนำเสนอไอเดียการออกแบบต่าง ๆ อย่างมากมายโดยเฉพาะการนำ ‘วัสดุก่อสร้างเหลือทิ้ง’ มาใช้ให้เกิดประโยชน์

ทั้งนี้ พื้นที่แรกสุด ที่ผู้ชมงานจะได้พบนั้น เรียกกันว่า ‘Introductory Room’ ภายในพื้นที่จัดแสดงดังกล่าว ก่อสร้างและตกแต่งด้วย ‘วัสดุก่อสร้างเหลือทิ้ง’ ปริมาณมากถึง 100 ตัน ซึ่งเป็นวัสดุที่ได้จากการรื้อถอนส่วนจัดแสดงต่าง ๆ จากงาน Venice Biennale 2014 เมื่อครั้งที่ผ่านมา โดยมีการนำ โครงเคร่าเหล็ก (Metal Stud) มาประดับห้อยจากเพดานเป็นระยะทางยาว 14 กิโลเมตร ภายในพื้นที่ดังกล่าวมีขนาด 10,000 ตารางเมตร และมีการกั้นแบ่งห้องด้วยการนำแผ่นยิปซั่มเหลือใช้ (Plaster Board) มาวางซ้อนกัน โดยหันด้านสันออก เพื่อเป็นผนัง กั้นการนำเสนอโปรเจ็คต่าง ๆ ให้เป็นสัดเป็นส่วน

สถาปนิกคิดไกล ใช้ 'วัสดุก่อสร้างเหลือทิ้ง' ในงานดีไซน์ได้อย่างสร้างสรรค์
image @ designboom

พื้นที่ Introductory Room ควบคุมการออกแบบและวางแผนงาน โดย Alejandro Aravena สถาปนิกชาวชิลี เจ้าของรางวัล Pritzker Prize ประจำปี 2016 ซึ่งถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติ และรางวัลสูงสุดสำหรับวงการสถาปัตยกรรม

สำหรับการนำ ‘วัสดุก่อสร้างเหลือทิ้ง’ มาใช้ในงานดีไซน์ครั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้ไอเดียอย่างสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการรีไซเคิล รียูส และการเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้ง ด้วยการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนสร้างการตระหนักรับรู้ให้กับผู้คนในแวดวง ว่าการก่อสร้างและการรื้อถอนต่าง ๆ ก่อให้เกิดขยะวัสดุมากน้อยเพียงใด เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาวงการอย่างยั่งยืนต่อไป

อนึ่ง งาน Venice Architecture Biennale ถือเป็นแสดงผลงานและแนวคิดทางสถาปัตยกรรม ที่ยิ่งใหญ่และได้รับความสนใจมากที่สุดงานหนึ่งของโลก จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ 2 ปี และดำเนินมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 แล้ว โดยในปีนี้ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 27 พฤศจิกายน 2559

สำหรับประเทศไทย ก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานจัดแสดงด้วยเช่นกัน ซึ่ง Thai Pavilion ในปีนี้ใช้ชื่อว่า Class of 6.3 เป็นการแสดงผลงานการออกแบบก่อสร้าง อาคารเรียนเร่งด่วน ให้กับโรงเรียน 9 แห่ง ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 โดยเป็นผลงานของสถาปนิก 9 คน ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

image @ designboom
image @ designboom
venice-architecture-biennale-2016-introductory-room-reporting-from-the-front-designboom-0071
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom
image @ designboom

Source: Designboom

Previous articleโตโยต้าสร้างสำนักงานแห่งใหม่ในเท็กซัส
เน้นคอนเซ็ปต์ อาคารเขียว ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
Next articleถึงเวลาแล้วหรือยัง? ที่ไทยควรสร้าง BRT ลอยฟ้าเสียที
กิตติยา เธียรนันทน์
บรรณาธิการเว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส วิชาโทการผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เคยเป็นผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ประจำสำนักข่าวหลักในประเทศ 2 แห่ง ปัจจุบันผันมาเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าววงการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม