ระหว่างที่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก Rio 2016 กำลังดำเนินไปด้วยความสนุนสนาน เราจะนำภาพ โลโก้โอลิมปิก ที่ถูกโหวตว่าดีที่สุดและแย่ที่สุด ตั้งแต่ปี 1924 จนถึง ปัจจุบัน มาให้ชมกัน ทั้งหมดได้รับการคัดเลือกจากความชื่นชอบของกราฟฟิกดีไซเนอร์ผู้โด่งดัง Milton Glaser และนักวิจารณ์ Alice Rawsthorn

ในปี 1896 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ระหว่างวันที่ 6-15 เมษายน ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) ส่วนสัญลักษณ์โอลิมปิกนั้นถูกออกแบบขึ้น เมื่อปี 1912 โดย Pierre de Coubertin ผู้ก่อตั้งกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ มีลักษณะเป็นห่วงสี 5 ห่วง คล้องกัน คือ สีฟ้า เหลือง ดำ เขียว และ แดง

Paris 1924
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 8 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม–27 กันยายน 1924 (พ.ศ.2467)

1paris-logo-column_dezeen_936_0โลโก้ที่มีลักษณะเหมือนโล่กำบัง มีรูปเรือใบอยู่ตรงกลาง พื้นหลังเป็นลายเส้นขีดในแนวตั้งและแนวนอน Milton Glaser ให้ความเห็นว่า เป็นโลโก้ที่ดูไม่สวยเอาเสียเลย ซ้ำตัวอักษรยังอ่านยาก เมื่อครั้งให้สัมภาษณ์กับสถาบันการออกแบบจากสหรัฐอเมริกา (AIGA American Institute of Graphic Arts)

Los Angeles 1932
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 10 ณ นครลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม–14 สิงหาคม 1932 (พ.ศ.2475)

1los-angeles-column_dezeen_936_0

Los Angeles เป็นเจ้าภาพการแข่งโอลิมปิกฤดูร้อนเมื่อปี 1932 โลโก้มีความโดดเด่นของ star-Spangled Banner หรือแปลว่า ธงดาราอันแพรวพราว ซึ่งเป็นธงประจำชาติของสหรัฐ พร้อมคติพจน์ประจำเกมส์โอลิมปิกในปีนั้นว่า citius, altius, forties ซึ่งเป็นภาษาละตินมีความหมายว่า เร็วกว่า (Swifter) สูงกว่า (Higher) แข็งแรงกว่า (Stronger)

London 1908
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 4 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 27 เมษายน–31 ตุลาคม 1908 (พ.ศ.2451)

1london48-column_dezeen_936_0โลโก้ที่ใช้สัญลักษณ์ของกรุงลอนดอน คืออาคารรัฐสภา และหอนาฬิกาบิ๊กเบน เป็นฉากหลัง โดยมีห่วง 5 ห่วง ซ้อนทับอยู่ตรงกลาง ด้านบนสุดเป็นตัวอักษรโค้งลง เขียนคำว่า XIV OLMPLAD หรือ โอลิมปิกครั้งที่ 4 และด้านล่างเป็นตัวอักษรเรียบ ๆ ไม่หวือหวา เขียนคำว่า LONDON 1948

Helsinki 1952
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 15 ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม–3 สิงหาคม 1952 (พ.ศ.2495)

1helsinki-column_dezeen_936_0

หอคอยโอลิมปิกสเตเดียมตั้งเด่นเป็นสง่าห์อยู่เบื้องหน้า เหนือขึ้นไปมีห่วงคล้องกัน 5 ห่วง ลอยอยู่เหนือหอคอย พื้นหลังเป็นสีฟ้าขาว ที่ลอกเลียนแบบมาจากธงชาติฟินแลนด์ โดยรูปแบบนี้ได้ถูกพิมพ์ลงบนเหรียญตราที่มอบให้กับผู้สูงศักดิ์ และแขกคนสำคัญในงาน

Tokyo 1964
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 18 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10–24 ตุลาคม 1964 (พ.ศ.2507)

1tokyo-column_dezeen_936_0

ด้านบนสุดออกแบบเป็นดวงอาทิตย์สีแดงสดใส สัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น ถัดลงมาใต้ดวงอาทิตย์เป็นห่วง 5 ห่วง อยู่เหนืออักษรตัวหนาคำว่า TOKYO 1964 ออกแบบโดยความร่วมมือระหว่าง Masaru Katsumi และ Yusaku Kamekura ซึ่งได้รับการจัดอันดับการออกแบบโลโก้ที่ดีที่สุด จาก AIGA ในอันดับที่ 92 จากทั้งหมด 100 อันดับ

Mexico City 1968
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 19 ณ เมืองเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก ระหว่างวันที่ 12-27 ตุลาคม 1968 (พ.ศ.2511)

1mexico-column_dezeen_936_0

ออกแบบโดยนักออกแบบชาวอเมริกัน Lance Wyman การออกแบบโลโก้สำหรับโอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 19 ดูแปลกตาจากโลโก้ปีอื่นที่ผ่านมา โดยเน้นการตกแต่งตัวอักษรคำว่า Mexico และตัวเลข 68 ในรูปแบบ multi-stroke เป็นการใส่ลายเส้นเข้าไปในตัวอักษรและตัวเลข เพิ่มความหนาดูสะดุดตา ผสมผสานด้วยสัญลักษณ์ห่วงโอลิมปิก วนทับอยู่บนเลข 68 ซึ่งก็คือสองเลขท้ายของปีที่จัดการแข่งขันโอลิมปิกนั่นเอง

Munich 1972
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 20 ณ เมืองมิวนิค ประเทศเยอรมันนี ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม-10 กันยายน 1972 (พ.ศ.2515)

munich-column_dezeen_936_0

ภาพความจำของใครหลายคนเกี่ยวกับโอลิมปิกเกมส์เมื่อปี 1972 คงไม่ใช่เรื่องการแข่งขัน หรือเกี่ยวข้องใด ๆ กับกีฬา แต่เป็นเรื่องน่าเศร้าของโศกนาฏกรรมสังหารหมู่ภายในหมู่บ้านนักกีฬาที่กระทำอย่างอุกอาจระหว่างการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงโลโก้โอลิมปิกประจำปีนั้นแล้ว ก็เป็นที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะถือเป็นงานกราฟฟิกที่ดูแปลกแตกต่างจากปีก่อน ๆ ที่เคยมีมา สร้างสรรค์ขึ้นโดยนักออกแบบชาวเยอรมัน Otto Aicher บุคคลแรกที่ฉีกรูปแบบโลโก้ที่ทำตามกันมาตั้งแต่ปี 1930 ด้วยการไม่ได้นำสัญลักษณ์ 5 ห่วง เข้ามาใส่เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ

Montreal 1976
โอลิมปิคเกมส์ ครั้งที่ 21 ณ กรุงมอนทรีล ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม–1 สิงหาคม 1976 (พ.ศ.2519)

montreal-colum_dezeen_936_0

ห่วงทั้ง 5 ห่วง ถูกเปลี่ยนรูปแบบไปในการออกแบบโลโก้ครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวอักษรภาษาอังกฤษตัว “M” มาจากคำว่า Montreal ออกแบบโดย Georges Huel นักออกแบบกราฟฟิกชาวแคนาดา ซึ่งเป็นคนช่วย Michel Dallaire นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบคบเพลิงโอลิมปิกในปีนั้นเช่นกัน ทั้งนี้ Glaser กล่าวถึงดีไซน์โลโก้ดังกล่าวว่า เป็นดีไซน์ที่เหมาะกับผู้ผลิตกระดาษเช็ดหน้าม้วนใหญ่มากกว่าเป็นโลโก้สำหรับโอลิมปิก

Seoul 1988
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 24 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ระหว่างวันที่ 17 กันยายน–2 ตุลาคม 1988 (พ.ศ.2531)

seoul-column_dezeen_936_0

โลโก้โอลิมปิกลายผ้าฮันบก ซึ่งก็คือชุดประจำชาติเกาหลี ขดเป็นเกลียวซ้อนกันเหมือนหอยทาก อยู่เหนือตราห้าห่วง

Barcelona 1992
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 25 ณ เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 1992 (พ.ศ.2535)

barcelona-column_dezeen_936_0เป็นโลโก้ที่อยู่ในรูปของนักกีฬากระโดด ออกแบบโดย Josep M. Trias ศิลปินชาวสเปน เป็นการออกแบบที่เรียบง่าย ทั้งสี รูปร่าง ทุกอย่างดูกลมกลืนไปกับโลโก้ ข้อความ และ ห่วงสี 5 ห่วง

Sydney 2000
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 ณ นครซินีย์ ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 1 ตุลาคม 2000 (พ.ศ.2543)

sydney-column_dezeen_936_0
ภาพกราฟฟิกบนโลโก้โอลิมปิก ปี 2000 ออกแบบโดย Michael Bryce สถาปนิกชาวออสเตรเลีย เป็นอีกหนึ่งผลงานที่ Glaser โปรดปราน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพบนโลโก้ที่มีลักษณะเหมือนคนวิ่งและดีไซน์ตัวอักษรที่ดูพลิ้วไหว ไม่ทื่อ ๆ เหมือนโลโก้ส่วนใหญ่ที่ผ่านมา

London 2012
โอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 30 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม ถึง 12 สิงหาคม ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)

london2012-column_dezeen_936_0

โลโก้โอลิมปิกเกมส์ ที่ดูพิลึกแปลกตานี้ ออกแบบโดย Wolff Ollins ดีไซเนอร์ที่สร้างสรรค์โลโก้และแบรนด์ของบริษัทดัง ๆ มาแล้วหลายแห่ง โดยการออกแบบเน้นเป็นตัวหนา สะท้อนให้เห็นถึงความกล้าหาญ และสื่อถึงคุณภาพของกรุงลอนดอนที่มีความเป็นทันสมัย ภายใต้ความกระสับกระส่ายของเมือง แต่ผลที่ได้กลับไม่เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนส่วนใหญ่ ด้วยตัวอักษรที่ดูเทอะทะ น่าเกลียด และสีสันฉูดฉาดเกินไป

Rio 2016
โอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 31 ณ นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ระหว่างวันที่ 6–21 สิงหาคม 2016 (พ.ศ.2559)

rio-column_dezeen_936_0

โลโก้โอลิมปิกเกมส์ปีล่าสุด 2016 เป็นสัญลักษณ์คนสามคนจับมือกัน มีที่มาจากการที่ประเทศบราซิลเป็นประเทศที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติมาอยู่รวมกัน โดยใช้สีสามสี คือ สีเขียว สีฟ้า และสีเหลือง แฝงความหมายไว้ดังนี้

  • สีเขียว หมายถึง ป่า ป่าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งนึงก็คือ ป่าอเมซอนนั่นเอง
  • สีฟ้า หมายถึง มหาสมุทร ประเทศบราซิลมีชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติคที่มีความยาวถึง 7,491 กิโลเมตร (ประเทศไทยเหนือสุดจรดใต้สุดมีระยะทาง เพียง 2000 กิโลเมตรเท่านั้น)
  • สีเหลือง หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ของแสงแดดที่ประเทศบราซิลได้รับจากดวงอาทิตย์

ด้วยคอนเซปต์ดี ไอเดียเลิศ ทำให้ Frederico Gelli ครีเอทีฟไดเรคเตอร์ แห่ง Tátil Design บริษัทออกแบบในบราซิล ผู้ออกแบบโลโก้ Rio 2016 นี้ สามารถเอาชนะผู้ส่งผลงานเข้าประกวดแบบทั้ง 139 บริษัท ได้ในที่สุด

Tokyo 2020
โอลิมปิกเกมส์ครั้งที่ 32 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

tokyo-column_dezeen_936_0-1

ออกมาให้ได้ยลกันแล้ว สำหรับโลโก้โฉมใหม่ประจำการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2020 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากโลโก้แบบเก่าโดนกระแสวิจารณ์หนักว่าลอกเลียนแนวคิดจากนักออกแบบชาวฝรั่งเศส Oliver Debie ที่ออกแบบโลโก้ให้โรงภาพยนตร์ Theatre de Liege ในเบลเยียม

โดยโลโก้โฉมใหม่ ออกแบบโดย อาซาโอะ โทโกโร่ ศิลปินแดนปลาดิบ เป็นการนำศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่น คือลายตารางหมากรุกที่เรียกว่า “อิชิมัตสุ โมโย” ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยเอโดะ มาผสมผสานกับการจัดวางรูปแบบใหม่ที่กำหนดให้เป็นตัวแทนของความแตกต่างของชนชาติต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “Unity in Diversity” หรือ เอกภาพในความแตกต่างหลากหลาย

Source: dezeen, voathai

Previous articleการวางแผนการตลาดอสังหาฯ รุ่นที่ 4
Next articleการประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ สัมฤทธิ์ผลใน 4 วัน รุ่นที่ 130
สุชยา ตันติเตมิท
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะการสื่อสารมวลชน วิชาเอกวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม