Thomas Winwood นำเสนอพาวิลเลี่ยนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงความสำคัญของน้ำในประเทศออสเตรเลีย และแปรเปลี่ยนความคิดนี้ให้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานสถาปัตยกรรมบนพื้นที่จัดแสดงชั่วคราวที่มีผู้คนมากมายมารวมตัวกัน ภายในงานเทศกาล NGV International 2016 การจัดแสดงสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในฤดูร้อนโดยสถาปนิกและนักออกแบบชื่อดัง จัดขึ้น ณ สวนสาธารณะ Grollo Equiset Garden ที่หอศฺิลป์ Natural Gallery Victoria เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

การออกแบบพาวิลเลี่ยนน้ำสร้างขึ้นโดยเครื่องกัดโฟมซีเอ็นซีแบบ 5 แกน แล้วหุ้มด้วยหลังคากระจกโครเมี่ยมไวนิล เมื่อผู้ชมเข้ามาภายในพาวิลเลี่ยน และเงยหน้ามองด้านบน จะเห็นภาพสะท้อนของตนเอง และมองเห็นน้ำไหลเป็นสาย ซึ่งติดตั้งระบบระบายความร้อนไว้ด้านใน เพื่อจะได้ถ่ายเทความร้อนในช่วงฤดูร้อนไปสู่ธรรมชาติที่ถูกสร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ หากตกกลางคืนผู้ชมจะได้ตื่นตาตื่นใจไปกับแสงไฟและสายน้ำที่เคลื่อนไหวไปรอบ ๆ ผนังกระจกด้านนอกซึ่งมีความสูงประมาณ 5 เมตร

น้ำที่ไหลตามผนังกระจก ไหลลงมาตามเสากระจกที่มียอดเสามีรูปทรงคล้ายจานแบน โดยลักษณะของน้ำแต่ละแบบจะส่งผลต่ออารมณ์ของพาวิลเลี่ยน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมการใช้งานแต่ละชนิด

img_2_1464609823_9d2cbed6c56dd9a99b3f6dd2d1e25dff

img_4_1464609823_74da5bd5e6d6c52fdb4f50f686f22b8d

 

img_6_1464609823_35d9304f29d076c77aa8f124511f45d9

img_8_1464609823_bb6a5dbe1d6b0b703e4e85caae304f03

สายน้ำสะท้อนให้เห็นอารมณ์ของพาวิลเลี่ยน ไม่ว่าจะทำกิจกรรมเล่นโยคะตอนเช้า
หรือ พบปะสังสรรค์ และจัดแสดงอีเวนท์ต่าง ๆ

img_9_1464609823_33c4b50ef0c100f6da2e3095a95cfb45

img_10_1464609823_f54d5fcdaa62211627f6050108f1cb39

แสงไฟยามค่ำคืนผสมผสานกับสายน้ำที่เคลื่อนไหวไปรอบ ๆ ผนังกระจก

Source: designboom
All images courtesy of Thomas Winwood architecture

Previous articleตะลอนชมสยามดิสคัฟเวอรี่โฉมใหม่ ทันสมัยด้วยการดีไซน์ โดนใจนักช็อปผู้อินเทรนด์
Next articleปังได้อีก!! กับไอเดียออกแบบสยามดิสคัฟเวอรี่ ที่เหล่าขาช็อปทั้งหลาย
ควรไปสัมผัสซักครั้ง
สุชยา ตันติเตมิท
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะการสื่อสารมวลชน วิชาเอกวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านการก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม