Table of Contents
Exhibitions Unleash Potential
“Design as a Driver of Competitiveness in the Exhibition Industry”
เมื่อการจัดงานแสดงสินค้าไม่ใช่เพียงการโชว์สินค้า-บริการอีกต่อไป ในโอกาสวันแสดงสินค้าโลกสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) จัดสัมมนาโดยได้รับความร่วมมือจาก 3 ดีไซเนอร์ที่ผ่านประสบการณ์ในงานแสดงสินค้าอย่าง คุณจุล-จุลสมโณ พงษ์เสฐียร จาก FLAT2x คุณป้อ – กุลธิดา ทรงกิตติภักดี จาก HAS design and research และคุณหมู-นนทวัฒน์ เจริญชาศรี จาก DUCTSTORE the design guru ภายใต้หัวข้อ “Design as a Driver of Competitiveness in the Exhibition Industry”
FLAT12x
เริ่มเซสชั่นด้วยคุณจุลจาก FLAT12x ด้วยการออกแบบในรูปแบบ customize ที่คำนึงถึงความต้องการของผู้ประกอบการ หรือลูกค้าเป็นหลัก โดยมีผลงานในส่วนของการออกแบบคาเฟ่ในธุรกิจ SME เช่น HEY! Coffee ก่อนที่จะนำมาต่อยอดเพื่ออำนวยความสะดวกและ save costs จากการออกบูธตามงานจัดแสดงสินค้าด้วยโครงสร้าง infrastructure จากจุดประสงค์ในการออกแบบมาเพื่อให้พับเก็บได้สะดวก ประหยัดเวลา อีกทั้งสามารถนำมาใช้ซ้ำตามงานอีเว้นท์อื่น ๆ ได้หลายครั้ง นอกจากนี้การออกแบบคาเฟ่ครั้งแรก สามารถต่อยอดเป็นไอเดียหลักในการออกแบบคาเฟ่สาขาอื่น ๆ ได้อีกจากการต่อยอดตัวตนของแบรนด์สาขาหลักไปสู่สาขาย่อยอื่น ๆ
โดยจากประสบการณ์การร่วมงานกับผู้ประกอบการ SME อย่าง HEY! Coffee ทำให้คุณจุลแชร์ถึงสิ่งที่เป็นคีย์พ้อยที่ช่วยให้การออกแบบตรงตามความต้องการระหว่างดีไซเนอร์และผู้ประกอบการคือ “การสื่อสาร” ถือว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ทำให้งานสำเร็จตรงตามความต้องการทุกฝ่าย

ก้าวสู่โลก Net Zero
ปัจจุบันสังคมตระหนักรู้ถึงสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนมากขึ้น เช่นเดียวกับวงการออกแบบ โดยเฉพาะการออกแบบที่ต้องคำนึงถึงการใช้งานในระยะยาว ประกอบกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมปัจจุบัน ทำให้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนในกระบวนการออกแบบ-ก่อสร้างมากขึ้น ประกอบกับ Flat12x นำโครงสร้าง Infrastructure ที่สามารถยก-พับ-เก็บ และนำกลับมาใช้ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในแต่ละโครงการ ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่ออกบูธงานแสดงสินค้า เพราะสะดวกในการติดตั้งและจัดเก็บ อีกทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างบูธในแต่ละครั้ง
HAS design and research
“Design as a Driver”
คงจะคุ้นตากันดีกับสถาปัตยกรรมชั่วคราวที่จัดแสดงภายในงานสถาปนิก’67 บริเวณพื้นที่ไฮไลท์ Thematic Pavilion กับฝีมือการออกแบบให้แบรนด์ S-ONE ภายใต้ชื่อ Aluminum Grotto ตามชื่อสตูดิโอนี้ HAS design and research นอกจากจะเป็นสตูดิโอออกแบบแล้ว ยังมีงานวิจัยที่ว่าด้วยสถาปัตยกรรมที่อยู่คู่กับมนุษย์และวิถีชีวิตในชุมชนตามท้องถนน เช่น งานวิจัยที่กล่าวถึงตลาดร่มหุบ หรือวิถีพุทธศาสนิกชน ปัจจัยเรื่องความยั่งยืนที่เข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญในสังคม คุณป้อแชร์ถึงแนวคิดของ HAS design and research ต่อเรื่องนี้ว่าความยั่งยืนเป็นนอร์ม (norm) ในสังคม ในบทบาทของการออกแบบที่มีส่วนช่วยเรื่องความยั่งยืน เช่น นำพื้นที่สีเขียวหรือธรรมชาติเข้ามาในสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ หรือแสงธรรมชาติก็ดี

ต่อยอดสถาปัตยกรรมในงานจัดแสดงสินค้า
เพราะเชื่อว่างานสถาปัตยกรรมชั่วคราวในงานจัดแสดงสินค้าสามารถต่อยอดได้มากมายกว่านั้น แต่กระนั้นสถาปัตยกรรมชั่วคราวสำหรับงานจัดแสดงก็ไม่อาจเชื่อมกับความคงทนถาวรได้มากเท่าที่ควร ทำให้บทบาทของออแกไนเซอร์เป็นอีกบทบาทสำคัญ พร้อมทั้งความต้องการของลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ ทำให้การต่อยอดไอเดียในการออกแบบจึงออกมาภายใต้ไทม์ไลน์ที่กำหนด และรวบรวมไอเดียที่ได้จากกระบวนการคิดก็เป็นหนึ่งวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานสไตล์ HAS design and research
DUCTSTORE the design guru
DUCTSTORE the design guru สตูดิโอออกแบบที่คว้ารางวัลจากเวทีระดับโลกมาแล้วมากมาย เช่น Red Dot Design Award, A’ Design Award และ Architizer A+ Awards และจากผลงานการออกแบบ Jorakay Pavilion ในงานสถาปนิก’67 ก็ทำให้ DUCTSTORE the design guru ได้รางวัลจากเวที Red Dot Design Award มาครอง โดยเวทีสัมมนาครั้งนี้ได้คุณหมู-นนทวัฒน์ เจริญชาศรี ดีไซเนอร์ชื่อดังมาเป็นสปีกเกอร์ ถ่ายทอดเรื่องราวเบื้องหลังพาวิลเลียนชั่วคราวในงานจัดแสดง ผ่านการถอดรหัส (decode) ตัวตนแบรนด์ให้ออกมาในรูปแบบพาวิลเลียน เพราะพาวิลเลียนนั้นเป็นประสบการณ์ที่สัมผัสได้จริง และเปรียบเป็น Brand Statement

Design & Essence
การคำนึงถึงความคุ้มค่า ในการออกแบบพาวิลเลียนแต่ละครั้ง ทั้งในกระบวนการก่อสร้าง โดยจะมีโครงสร้างบางอย่างที่นำกลับมาใช้ได้ หรือนำไปบริจาค ส่วนมุมมองของการออกแบบ การพยายามหาสาระสำคัญ (essence) จากการออกแบบที่สามารถนำไปใช้ต่อได้ จากข้อคำนึงเรื่อง โครงสร้างเบา สามารถติดตั้งง่าย พับเก็บได้สะดวก และผ่านการวางแผนจากสตูดิโอว่าจะสามารถนำไปใช้ต่อได้อย่างไร
จากวิสัยทัศน์ของดีไซเนอร์ 3 ท่าน จาก 3 สตูดิโอ นอกจากการออกแบบที่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของแบรนด์แล้วนั้น ปัจจัยการเข้าสู่สังคม Net Zero ร่วมถึงการใช้วัสดุที่สามารถใช้ซ้ำได้ก็เข้ามามีบทบาทตั้งแต่ต้นน้ำอย่างการเริ่มออกแบบ ฉะนั้น การออกแบบก็เป็นหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่มีส่วนช่วยเรื่องขยะจากการก่อสร้างบูธ หรือการดีไซน์อย่างยั่งยืนในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้อาคาร