สิ่งปลูกสร้างจะมั่นคงได้ ต้องให้ความสำคัญที่เสาเข็ม เนื่องจากเป็นสิ่งที่ถ่ายน้ำหนักอาคารลงสู่พื้นดิน หากเสาเข็มที่เลือกใช้ไม่แข็งแรงแล้วละก็ มีความเสี่ยงที่จะทำให้สิ่งปลูกสร้างเหล่านั้นทรุดตัวลงได้ เพราะพื้นผิวดินไม่สามารถรับน้ำหนักได้ เสาเข็มจึงเป็นเหมือนหัวใจหลักของสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด

หากได้เสาเข็มที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สิ่งปลูกสร้างก็จะมั่นคง แข็งแรง และทำให้ผู้อยู่อาศัยหรือใช้งาน รู้สึกถึงความปลอดภัย “คุณเอกรินทร์ พ่วงรับ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีพี.เอ็นจิเนียริ่ง 2015 จำกัด ได้พัฒนาเสาเข็มที่เหมาะสมกับภูมิประเทศของบ้านเรา ตลอดระยะเวลาร่วม 10 ปี เพื่อให้ครอบคลุมกับสิ่งปลูกสร้างที่หลากหลาย

ด้วยหัวใจในการผลิตที่ยึดถือเอาคุณภาพและมาตรฐาน ทำให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

บริษัท พีพี.เอ็นจิเนียริ่ง 2015 จำกัด ก่อตั้งเป็นทางการปี ค.ศ. 2015 เกิดจากการแก้ปัญหางาน ก่อสร้างในขณะนั้นเรื่องของงานต่อเติมที่มีการทรุดตัว ทางทีมผู้บริหารเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ปัญหาหน้างานและถูกต้องตามหลักวิศวกรรม จึงทำให้เกิด บริษัท พีพี.เอ็นจิเนียริ่ง 2015 จำกัดขึ้นมา ปัจจุบัน บริษัทเป็นผู้เชี่ยวชาญงานเสาเข็มไมโครไพล์ และได้ก่อตั้งบริษัทในเครือ ชื่อ พีพี ไมโครไพล์ เพื่อพัฒนาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานอย่างสูงสุด ควบคุมงานโดยวิศวกรโยธาเฉพาะทางและช่างมืออาชีพที่มีทั้งประสบการณ์และใบเซอร์

ปัจจัยสำคัญในการผลิตเสาเข็มไมโครไพล์ คือ คุณภาพ มาตรฐาน บริการ ความคงที่ พีพี ไมโครไพล์ จะยึดถือคำว่า “คุณภาพตามหลักวิศวกรรมต้องมาก่อนคำว่าธุรกิจ”

พีพี ไมโครไพล์ มีความตั้งใจในการเอาชนะอุปสรรคหน้างานต่าง ๆ ให้สำเร็จ จึงได้คิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์สภาพแวดล้อมในปัจจุบันและผลิต ปั้นจั่น ถึง 5 แบบ เพื่อตอบสนองและตอบโจทย์ในหน้างานอย่างแท้จริง โดยสามารถทำงานได้ในที่แคบ เตี้ย เข้าถึงยาก รับน้ำหนักได้เสมือนเสาเข็มใหญ่ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน แรงสั่นสะเทือนน้อย ไม่ทำลายโครงสร้างหลัก ตอกห่างจากผนังเพียง  50 เซนติเมตร เท่านั้น

พีพี ไมโครไพล์ ก่อตั้งโดย ผู้บริหาร ที่เป็น วิศวกรโยธา เพราะฉะนั้นจึงเข้าใจหลักออกแบบ และทำให้สถาปนิกและนักออกแบบมั่นใจได้เลยว่างานฐานราก รับประกันการก่อสร้างถูกต้องตามหลักวิศวกรรม 100%

มาทำความรู้จักกับ “เสาเข็มไมโครไพล์”

ไมโครไพล์จริง ๆ นั้น มีทั้งหมด หลายประเภท แต่หลัก ๆ ที่นิยมกันแพร่หลายอย่างมากคือ เสาเข็มไมโครไพล์ แบบ เสาเข็มหล่อสำเร็จรูป ยาวราว 1 – 2  เมตร แล้วนำมาตอกโดยปั้นจั่นขนาดเล็ก และต่อเชื่อมด้วยลวดเชื่อม มีด้วยกัน 4 หน้าตัด

1. เสาเข็มไมโครไพล์ หน้าตัดไอ มีลักษณะคล้ายตัวไอ ขนาดหน้าตัด 18 – 26 ซม ใช้เทคนิคการหล่อเสาเข็มแบบเดียวกับเสาเข็มคอนกรีตเสริมแรง เสาเข็มแบบนี้เป็นที่นิยมมากเพราะราคาถูกที่สุด ข้อคำนึงในการใช้คือการรับน้ำหนักได้ไม่สูงมาก เพราะคอนกรีตและเหล็กที่ใช้จะเป็นรองจากเสาเข็มหน้าตัดอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องใช้วิศวกรคำนวณการรับโหลดของเสาเข็มชนิดนี้

2. เสาเข็มไมโครไพล์หน้าตัดกลมรู (สปันไพล์) มีลักษณะเป็นแบบกลม มีรูตรงกลาง ขนาด 20 – 30 ซม. ใช้เทคนิคเดียวกันกับการหล่อเสาเข็มสปันขนาดใหญ่ โดยใช้แรงเหวี่ยง เสาเข็มประเภทนี้มีความแข็งแรง และแรงสั่นสะเทือนที่น้อย

3. ไมโครไพล์แบบกลมตัน มีลักษณะเป็นแบบกลมไม่มีรูตรงกลาง ขนาด 20-30 ซม. เสาเข็มประเภทนี้ ใช้คอนกรีตอัดกำลังสูง หล่อแบบ RC พักเข็มจนได้อายุ จึงมีค่าของคอนกรีตสูง เสาเข็มจึงมีความแข็งเป็นพิเศษ สามารถ เค้นโบเค้าท์ได้สูง รับน้ำหนักได้เต็มหน้าตัด  แรงสั่นสะเทือนน้อย

          

4. เสาเข็มไมโครไพล์สี่เหลี่ยม มีลักษณะเป็นแบบสี่เหลี่ยม ขนาด 25 – 30 ซม ใช้เทคนิคเดียวกันกับการหล่อแบบแรงหวี่ยงและการหล่อแบบRC ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน เสาเข็มประเภทนี้เหมาะกับงานที่รับแรงด้านข้างที่สูงกว่าเข็มหน้าตัดอื่น ๆ

เสาเข็มไมโครไพล์ที่เป็นที่นิยมใน พีพี ไมโครไพล์ จะมีด้วยกัน 2 รุ่น คือ

  • เสาเข็มไมโครไพล์ หน้าตัดกลมตัน มี 2 ขนาด
    • ขนาดหน้าตัด 20 รับน้ำหนัก ได้ 25 ตัน/ต้น
    • ขนาดหน้าตัด 25 รับน้ำหนัก ได้ 32 ตัน/ต้น
  • เสาเข็มไมโครไพล์ หน้าตัดกลมรู (แรงเหวี่ยง) มี 1 ขนาด
    • ขนาดหน้าตัด 30 รับน้ำหนักได้ 40 ต้น/ต้น

พีพี ไมโครไพล์ ได้รับความไว้ใจ จาก SCG Epress.scg และวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ซึ่งเชิญกรรมการบริษัท ไปให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องงานฐานรากและการต่อเติมอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี รวมถึงโรงกลั่นน้ำมันบางจาก, กรมการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย, บริษัท  แสนสิริ จำกัด (มหาชน), บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชล), บริษัท บุญถาวร เซรามิค จำกัด, บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ฯลฯ ที่ไว้ใจและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสาเข็มไมโครไพล์ของ พีพี ไมโครไพล์

มาสัมผัสกับเสาเข็มไมโครไพล์ตัวเป็น ๆ ที่รับน้ำหนักได้เสมือนเสาเข็มใหญ่ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ได้ที่บูธ B202 นอกจากนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัท พีพี.เอ็นจิเนียริ่ง 2015 จำกัด และที่สำคัญภายในงาน ACT FORUM ’20 Design + Built ก็มีบริการดูหน้างานให้ลูกค้าฟรี ภายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แล้วพบกันวันที่ 18 – 22 พฤศจิกายน 2563 ณ อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ เมืองทองธานี

Previous articleDesigner Talk: เพราะการค้นหาความหมายของการออกแบบเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของ “คุณเนี๊ยบ กฤษณะ สุมาตรา” ผู้หลงใหลงาน Conceptual จนเกิดเป็น Soul Concept
Next articleระบายความร้อน ลดความชื้นและเชื้อโรคใต้หลังคา ด้วยระบบพัดลมโซลาเซลล์
จาก Sol-N Tech ในงาน ACT FORUM ’20 Design + Built
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ