ศูนย์อพยพแห่งนี้มีชื่อว่า เกาะสีเขียว สร้างอยู่ในพื้นที่สีเขียวใจกลางศูนย์คัดแยกขยะตั้งอยู่ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในศูนย์อพยพแห่งนี้มีชาวพม่าอยู่ถึง 400 คน โดยมุ่งเน้นการก่อสร้างที่ยั่งยืน มั่นคง พัฒนาชุมชนและสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ในชุมชนนี้

Estudio Cavernas ใช้เวลากว่า 2 ปี ในการฝึกฝนอบรมผู้คนในชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพเทคนิคการก่อสร้าง ทักษะในการจัดหาวัสดุท้องถิ่นที่จะนำมาใช้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ หลังจากโครงการนี้ได้รับรางวัลและทุนสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในศูนย์คัดแยกขยะ โดยร่วมมือกับ Playonside องค์กรที่มุ่งเน้นในการเสริมสร้างพลังเยาวชนและความเท่าเทียมทางเพศ ได้สร้างพื้นที่อเนกประสงค์ตามความต้องการของชุมชน

ทีมพัฒนาเลือกสถานที่ตั้ง “เกาะสีเขียว” โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายในการเดินทางและความปลอดภัยของเด็ก ๆ ซึ่งต้องการให้เด็ก ๆ มีพื้นที่แสดงออกและการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สร้างโอกาสที่หลากหลายเพื่อเติมเต็มความต้องการของสภาพสังคมทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก ๆ โดยต้องการให้ “เกาะสีเขียว” แห่งนี้เป็นห้องเรียนห้องที่ 2 ของเด็ก ๆ

ภายในพื้นที่มีความยืดหยุ่นทำให้ขยายขอบเขตได้เพิ่มมากขึ้น มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ทำให้สามารถสร้างการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ร่วมกัน ความสัมพันธ์ใหม่ ๆ การเคลื่อนไหวมากขึ้นก็ช่วยในเรื่องของสุขภาพด้วย พื้นที่ภายในก็สามารถแบ่งแยกฉากกั้นห้องได้ ทุกอย่างภายในสามารถเคลื่อนย้ายได้หมดพร้อมใช้สำหรับทุกกิจกรรมต่าง ๆ

การศึกษาในเรื่องของสภาพอากาศของพื้นที่บริเวณนี้ก็สำคัญไม่น้อย ทีมพัฒนาพบว่ามีฝนมากในช่วงฤดูมรสุม ดังนั้นจึงสร้างอาคารที่ยกพื้นสูงเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากน้ำกัดเซาะ และเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ ทีมพัฒนาได้สร้างระบบระบายน้ำแบบฝรั่งเศษราคาประหยัดขึ้น

โครงสร้างอาคารเสริมด้วยเหล็กและไม้ หลังคามุงจากทรงลาดเอียงต่ำด้านในทำจากเหล็กอลูซิงค์ ด้านนอกมุงด้วยยูคาลิปตัสป้องกันรังสียูวีเข้าไปภายใน ทางเข้าทั้งสามด้านของอาคารมีขนาดใหญ่ช่วยให้ระบายอากาศได้ดี สนามฟุตบอลตรงกลางใช้เป็นพื้นที่นันทนาการได้เป็นอย่างดี ให้เด็ก ๆ สามารถทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้บริเวณรอบ ๆ ยังได้ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อให้ชาวบ้านนำไปบริโภคและสามารถให้เด็ก ๆ มาเรียนรู้วิธีการปลูกพืชผักเหล่านี้อีกด้วย

เกาะสีเขียว ถึงแม้ว่าจะไม่เหมือนเกาะทั่ว ๆ ไป แต่ก็ทำให้ชาวบ้านบริเวณนี้ได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของตัวเอง อีกทั้งยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์สำหรับการเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน การแบ่งปันกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ถือเป็นเอกลักษณ์ที่ดีอย่างหนึ่งในชุมชน เกาะสีเขียว แห่งนี้

 

อ้างอิงข้อมูลและภาพประกอบจาก

estudio cavernas uses recycled materials to build a migrant community center in thailand

Previous articleหมดกังวลเสียงรบกวน กับประตูกันเสียง ADR จาก WATTANA
Next articleจากทรายทะเลทรายสู่ก้อนคอนกรีต “FINITE” นวัตกรรมวัสดุทางเลือกลดคาร์บอนให้โลก
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ