อาจารย์เอกชัย เป็งวัง อาจารย์ประจำสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และหัวหน้าโครงการการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรสำหรับทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ได้นำทีมคณะกรรมการอำนวยการโครงการร่วมฯ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทุนร่วมกับทีมงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าเยี่ยมชมการสาธิตและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเครื่องจักรทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ พื้นที่ทดสอบบนอาคาร 89 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ ลงพื้นที่จริงที่โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Sunny Bangchak) ของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อาจารย์เอกชัย เผยความคืบหน้าว่า ปัจจุบัน โครงการ “การพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรสำหรับทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์” ได้ผลิตหุ่นยนต์ 2 รูปแบบ คือ หุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับ solar farm และ หุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับ Solar Rooftop โดยที่ต้นแบบของหุ่นยนต์ Solar farm จะมีลักษณะเป็น Modular Robot ที่สามารถปรับเปลี่ยนความยาวตามลักษณะของแผงต่างๆ (ในช่วง 1 – 4 เมตร) สามารถทำความสะอาดร่วมระหว่างการฉีดน้ำและการขัดด้วยแปรงที่สามารถปรับแรงกดได้

นอกจากนี้หุ่นยนต์มีน้ำหนักเบา ขนย้ายได้ด้วยคน 2 คน ต้นทุนของหุ่นยนต์นี้อยู่ที่ราคา 70,000 – 100,000 บาท สำหรับโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ฟาร์มที่มีขนาด 1 เมกะวัตต์ จะสามารถคืนเงินทุนได้ภายใน 6 เดือน แต่หากฟาร์มที่มีขนาดใหญ่กว่านี้จะสามารถคืนทุนได้เร็วขึ้นอีก สำหรับหุ่นยนต์สำหรับ Solar Rooftop จะมีลักษณะเป็น Mobile Robot ที่สามารถควบคุมให้เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ ถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับประเทศไทยที่นอกจากจะได้นวัตกรรมใหม่แล้ว ยังเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย

ทีมคณะกรรมการอำนวยการโครงการ สกสว. ร่วมกับ ทีมประสานงาน กฟผ. เข้าเยี่ยมชมการสาธิตหุ่นยนต์ทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ (Sunny Bangchak) ของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Previous articleมหกรรมลดราคา “BIG SALE” จาก Material World
Next articleGate of Bright Light ประตูเปลี่ยนมิติจากจอสกรีนที่พระราชวังถ็อกซูกุง เกาหลี
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ