แม้โอลิมปิกญี่ปุ่นจะถูกเลื่อนไปแล้วเรียบร้อย แต่ดีไซน์ดี ๆ จากแดนอาทิตย์อุทัยด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างยังคงมีให้เห็นเรื่อย ๆ

ล่าสุดคือผลงานของ Studio Velocity ที่ออกแบบพื้นที่สตูดิโอตัวเอง สร้างหลังคาให้สามารถใช้สอยได้ (ใช่! อ่านถูกแล้ว) จากปกติที่เราเข้าใจว่าหลังคาจะทำหน้าที่กันแดดกันฝน มาวันนี้มันดันกลายเป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่เราใช้งานได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความแข็งแรง

all images courtesy of studio velocity

ออฟฟิศที่แปลงหลังคาเป็นลานกว้างแห่งนี้คือผลงานของ Studio Velocity สาขา sannouno ในเมือง okazaki จังหวัด aichi ตัวอาคารคือบ้านชันเดียวที่แบ่งเป็น 2 ระดับ

ด้านล่างเป็นพื้นที่ทำงานปกติ ตกแต่งคลีนตาด้วยไม้และกระจก เมื่อเดินต่อบันไดขึ้นมาด้านบน จะเป็นห้องระเบียงขนาดพอเหมาะที่ยื่นออก สำหรับใช้สอยเป็นห้องครัวขนาดและมีโต๊ะยาวที่วางไว้สำหรับกินข้าวในร่มได้ ทว่าเมื่อเปิดออกไปหลังคาสีขาวจะหน้าที่คล้ายดาดฟ้าเปิดโล่งให้ออกไปเดินนั่ง ๆ นอน ๆ เล่นได้ตามสบาย

จุดเด่นของอาคารไม่เพียงมีหลังคาที่รองรับเป็นพื้นที่สันทนาการได้เท่านั้น แต่ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่าหลังคาไม่ได้ปิดทึบทั้งหมด แต่เปิดช่องให้แมกไม้โตขึ้นมาได้จากในอาคารด้วยจึงได้บรรยากาศแตกต่างจากความรู้สึกเดิม ๆ ที่เราเคยสัมผัส เพราะบนหลังคาสตูดิโอแห่งนี้ทำให้คนใช้งานรู้สึกถึงความเป็นสวนสาธารณะ

ภาพการทดสอบการรับน้ำหนักของหลังคาก่อนสร้าง

จุดประสงค์ของการสร้างหลังคาทรงนี้มาจากความต้องการเปลี่ยนพื้นผิวโค้งแบบใหม่จากวัสดุเรียบ ที่มีลักษณะตัดขวาง โดยใช้แรงโน้มถ่วงและความตึงของวัสดุจากการบีบอัดเพื่อรองรับน้ำหนัก เช่นเดียวกับหลังคาใช้โครงสร้างแบบอัดแรงและแรงโน้มถ่วงเพื่อทดสอบก่อนติดตั้ง

ถ้าลองดูโครงสร้างที่ออกแบบมาจะรู้ความพิถีพิถันของการสร้างหลังคาทรงโค้งคลายแอ่งที่แข็งแรง เพราะด้านล่างเราสามารถมองเห็นเสาเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักอยู่หลายต้นตามแนวกระดูกงู

แผ่นไม้โครงสร้างหลังคาวางเป็น 2 แนวคือ แนวตั้งและแนวขวาง โดยให้แผ่นไม้ขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นพื้นผิวหลักส่วนหลังคา ส่วนด้านล่างตลอดแนวจะมีไม้มารองรับ หน้าตาก็คับคล้ายกับการสร้างคานในบ้านเราแต่แตกต่างตรงที่ตามปกติคานมันจะรับน้ำหนักด้วยเสาต้นใหญ่ ทว่าอันนี้ใช้เพียงเสาไม้ต้นเล็ก ๆ และคานที่เราเคยเห็น อาจเว้นระยะระหว่างหลังคากับตัวคาน แต่สำหรับบ้านหลังนี้ ไม้ที่ทำหน้าที่คล้ายคานแนบเป็นแนวยาวเกาะระนาบส่วนหลังคายาว ๆ ไปถึง 5 เส้น

เมื่อเจาะรายละเอียดระดับโครงสร้างที่โชว์ให้เห็นความแข็งแรงชวนทึ่งแล้ว อันนี้คงต้องบอกจริง ๆ ว่านี่ถือเป็นแนวทางการออกแบบแบบใหม่ที่เรายังไม่ค่อยเห็นมาก่อน เพราะส่วนมากถ้าตามภาพยนต์เราอาจเห็นคนวิ่งหรือนั่ง ๆ นอน ๆ บนหลังคาก็ไม่น่าจะเกิน 3 คนและองศาเฉียงลาดที่ออกแบบมาเพื่อให้น้ำไม่ค้างบนหลังคายามฝนตกก็อาจจะทำให้อันตรายเกินกว่าจะอยู่บนนั้น แต่นี่เล่นเอาทั้งคน ทั้งเก้าอี้ขึ้นไปวาง

แข็งแรงขนาดนั่งได้ยันริมหลังคา

การสร้างพื้นที่หลังคาให้คนสามารถขึ้นไปใช้งานได้อย่างปลอดภัยสำหรับเราถือว่าค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อคำนวณให้หลังคากลายเป็นแอ่งมีช่องไว้สำหรับปลูกต้นไม้ ซึ่งจากสภาพแอ่งของหลังคาทำให้เชื่อว่าน้ำฝนทั้งหลายจะไม่เป็นอุปสรรคอย่างที่คิดเพราะต้องไหลลงไปรดน้ำต้นไม้ด้านล่างและคนกับพื้นที่ด้านล่างก็ไม่เปียกเพราะเขาออกแบบภายในล้อมเป็นกระจกไว้เรียบร้อยแล้ว

รอบต้นไม้ล้อมด้วยกระจก

การสัมผัส daylight หรือบรรยากาศวันฝนพรำใกล้ธรรมชาติแบบนี้ บอกเลยว่าเป็นสิ่งที่คนทำงานทุกคนใฝ่ฝัน หากบ้านเรานำหลักการนี้มาออกแบบบ้านชั้นเดียว หรือสร้างออฟฟิศเชื่อว่าต้องน่าอยู่และโปรดักทีฟมาก ๆ ยิ่งในสถานการณ์นี้ที่พวกเราไม่ค่อยได้ออกไปไหน เจอแต่ Grab, Food Panda หรือคนส่ง Delivery ถ้ามีสวนในบ้านอยู่เหนือหลังคาคงทำให้รู้สึกว่าการกักกันมันน่าอยู่ขึ้น เราออกไปมองพระอาทิตย์ตกลำพังกับคนรักหรือครอบครัว มองฟ้าและดาวยามค่ำคืนเมื่อถนนโล่ง ๆ ก็คงทำให้จิตใจเบิกบานขึ้นเหมือนกัน

ครั้งหน้าจะมีงาน Design อะไรดี ๆ กลับมาให้ดูอีก อย่าลืมติดตามกันนะคะ

 

อ้างอิงแหล่งข้อมูลจาก: https://www.designboom.com/architecture/studio-velocity-office-japan-roof-03-27-2020/

Previous articleHOME SWEET HOME: The GoTouch Beam โปรเจคเตอร์เปลี่ยนผนังบ้าน
เป็น Interactive ให้สนุกทุกเวลา
Next articleที่จับแขน เปิด-ปิด ประตูสาธารณะพิชิตโควิด-19