ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสุขภาพ สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในวิกฤตที่เราต่างเผชิญกันอย่างยากลำบากอยู่นั้น ก็มักจะมีคนบางกลุ่ม หรือองค์กรบางกลุ่มจัดตั้งโครงการต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือปัญหาในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการบริจาคเม็ดเงิน หรือสิ่งของก็ตาม

ในบทความนี้ BuilderNews ขอยกชื่อ 3 องค์กรในวงการก่อสร้างและการออกแบบ ขึ้นมาชื่นชมกับการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลืออันเป็นประโยชน์แก่เหล่าบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยในช่วงวิกฤตโรคระบาดตอนนี้

  • SCG หรือ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด

ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจวงการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ SCG ทุ่มงบมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท จากมูลนิธิ SCG ส่งมอบนวัตกรรมดี ๆ ที่จะช่วยป้องกันโควิด-19 ให้กับโรงพยาบาล 7 แห่ง โดยนวัตกรรมที่ส่งมอบนั้น ได้แก่ ห้องตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Screening and Swab), ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล (Tele – Monitoring), ห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom), เครื่อง CT Scan, แคปซูลความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ, ห้องตรวจเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ และกล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย

ซึ่งนวัตกรรมทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ในเรื่องของการป้องกันความปลอดภัย รวมถึงช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ใกล้ชิด ได้จริง ๆ

  • สภาสถาปนิก (Architect Council of Thailand)

ถัดมาที่ด้านองค์กรภาครัฐ อย่างสภาสถาปนิก เป็นองค์กรที่คอยดูแล ควบคุม และดำเนินงานเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ ในช่วงวิกฤตโรคระบาดเช่นนี้ ทางสภาสถาปนิก ร่วมกับศูนย์จุฬาการออกแบบเพื่อสังคม (CUD4S) และสมาคมนิสิตเก่าสถาปัตย์จุฬา ได้จัดตั้งโครงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบปรับปรุงอาคารในส่วนของจุดคัดกรองและส่วนดูแลผู้ป่วย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ให้แก่โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ

สำหรับโรงพยาบาลชุมชนแห่งใดสนใจ กรุณาลงทะเบียนข้อมูลเบื้องต้นในแบบฟอร์ม ที่ลิงก์นี้ https://forms.gle/pbQTEuLwpshMwbG88 และสามารสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณนิธินันท์ บัวขาว เบอร์โทร 086-395-0834 หรือคุณรัตนาภรณ์ วาสนา เบอร์โทร 091-720-0486

  • วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ส่วนทางด้านวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้ร่วมมือกับทางกรมการแพทย์ทหารบก และบริษัท อิตาเลียน-ไทย จำกัด ส่งมองห้อง Negative Pressure Cabinet Version 2 ให้แก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

โดยห้อง Negative Pressure Cabinet Version 2 เป็นลักษณะของห้องเดี่ยว เพื่อแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจแบบความดันลบ ถูกออกแบบมาให้มีขนาดกว้างถึง 1.9 เมตร สามารถบรรจุเตียงผู้ป่วย และอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังมีการปรับพื้นที่เพิ่มเป็นห้อง Ante Room หรือห้องพัก ก่อนเข้าห้องผู้ป่วย เพื่อเป็นพื้นที่ไว้สำหรับป้องกันไม่ให้มีอากาศเล็ดลอดจากห้องผู้ป่วยไปสู่บริเวณข้างเคียงได้

ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ต้นแบบ

ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ต้นแบบ โดย ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัย COVID-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) วสท. จะมีแบบ และคู่มือผู้ใช้ ให้ดาวน์โหลด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้โรงพยาบาล หรือผู้สนใจสามารถนำไปผลิตเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปหมายเหตุ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำคู่มือผู้ใช้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในสัปดาห์นี้

โพสต์โดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) Engineering Institute of Thailand เมื่อ วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2020

ทางทีมงาน BuilderNews ขอชื่นชมในน้ำใจขององค์กรเหล่านี้ ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาในครั้งนี้ และร่วมด้วยช่วยกัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนไทยทั้งประเทศจะผ่านปัญหาครั้งนี้ไปได้ด้วยดี

อ้างอิงข้อมูลจาก:

Previous articleคลาสสิคร่วมสมัย ชมโปสเตอร์ที่เตือนให้เราป้องกันจากเชื้อโควิด-19
ที่มาในรูปแบบย้อนยุค
Next articleลีฟวิ่ง เซ็นเตอร์ และ มารีโน อินเตอร์เนชั่นแนล มอบ Aerosol Shield
ช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์โควิด-19
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ