เฟอร์นิเจอร์หวายเทียมเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่นักออกแบบสายธรรมชาติ นิยมนำมาตกแต่งบ้าน โรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร สปา ร้านกาแฟ ฯลฯ เพราะเหมาะกับสภาพอากาศทุกประเภท ทนทั้งแดด ทนทั้งฝน สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร และหากเป็นเส้นหวายเทียมคุณภาพสูง สีก็จะไม่หลุดลอกแม้เวลาจะผ่านไปนานก็ตาม

Nature Corners ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ.2548 เริ่มต้นสร้างโรงงานจากพื้นที่ไม่มากนัก และมีคนงานเพียงไม่กี่คน จนขยายเป็นโรงงานขนาดใหญ่ บนพื้นที่ 25 ไร่ มีคนงานกว่า 200 คน พร้อมกำลังผลิตปีละมากกว่า 100 คอนเทนเนอร์

ด้วยความชำนาญพิเศษด้านงานสาน และถักทอที่สั่งสมมานาน จึงสามารถพัฒนารูปแบบได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาด และยอมรับของลูกค้าทุกกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีบริการพิเศษ รับออกแบบเฟอร์นิเจอร์หวายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละราย (Custom made service) ซึ่งทำให้ลูกค้าได้เฟอร์นิเจอร์ที่ลงตัว สวยงาม เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน และการใช้ชีวิตของลูกค้าแต่ละรายอย่างดีที่สุด

เส้นหวายเทียมจาก Nature Corners มีคุณสมบัติหลากหลายมากกว่าเส้นหวายธรรมชาติ ทั้งรูปแบบ สีสัน ลวดลาย และผิวสัมผัสก็ยังมีความยืดหยุ่น ทนต่อรังสี UV และการสึกกร่อน ทนต่อทุกสภาวะอากาศทั้งร้อนจัด-หนาวจัด ทนต่อลมฝน สีไม่ซีด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly)

เมื่อนำมาสานบนโครงเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุต่าง ๆ ก็จะได้เฟอร์นิเจอร์หวายเทียมที่สวยงาม เป็นที่นิยมอย่างมากในตลาดต่างประเทศ เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตทุกชิ้นล้วนเกิดจากความตั้งใจในการสร้างสรรค์ เพื่อให้สิ่งเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของความภาคภูมิใจในบ้าน และสมความตั้งใจที่มุ่งมั่นสานฝันอันสวยงามของลูกค้าทุกท่านให้สมบูรณ์

หากใครที่กำลังมองหาเฟอร์นิเจอร์หวายเทียมคุณภาพเยี่ยม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.naturecorners.co.th/ หรือทาง Facebook: NatureCorners ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์หวายเทียม

Previous articleวิศวกรชาวอังกฤษ เปลี่ยนเนินข้างบ้านเป็นรางรถไฟขนาดย่อม ไอเดียสุดสร้างสรรค์ช่วง Quarantine
Next articleDesigner Talk: จากกระดาษไขสู่โปรแกรมสเก็ตอัพในคอมฯ
คุยกับ “เล็ก ธีรชัย มโนมัยพิบูลย์” ผู้ก่อตั้ง “Map Architect”
ที่สร้างจากประสบการณ์ในแวดวงการออกแบบมานานกว่า 30 ปี
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ