ชุมชนเมืองประกอบด้วยสภาพแวดล้อมที่มีผู้คนอยู่อาศัยร่วมกัน ถือเป็นแหล่งศูนย์รวมของการใช้ชีวิต สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย อาทิ ที่อยู่อาศัย การคมนาคมขนส่ง อาหาร และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น จากข้อมูลอ้างอิงการสำรวจโดยสหประชาชาติพบว่าในปืที่ผ่านมา 54% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองเป็นหลัก และจำนวนประชากรที่อาศัยในเมืองใหญ่ทั่วโลกก็มีการเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ โดยคาดการว่าจะมีการเพิ่มสูงขึ้นถึง 66% ภายในปีค.ศ.2050 ดังนั้นชุมชนเมืองจึงต้องสร้างความน่าอยู่ให้มากขึ้นตาม เพื่อตอบสนองคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนในอนาคตได้อย่างสมบูรณ์

‘เมืองอัจฉริยะ’ (Smart City) และ ‘เมืองยั่งยืน’ (Sustainable City) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของกระบวนการพัฒนาความน่าอยู่ของชุมชนเมือง โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นมีการส่งเสริมและพัฒนาเมืองให้ก้าวสู่ความเป็น Smart City รวมทั้งการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับชุมชนเมืองด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ เพื่อสร้างสังคมคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชากรผู้อยู่อาศัย

2Fujisawa Conceptual Layout

ไม่ไกลจากกรุงโตเกียว ณ ชุมชนแห่งหนึ่งในเขตคานากาว่า ‘Fujisawa Sustainable Smart Town’ (FSST) หนึ่งในชุมชนที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน ชุมชนแห่งนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยการร่วมมือกันของภาครัฐและภาคเอกชนหลายราย โดยเฉพาะผู้พัฒนาโครงการอย่าง Panasonic ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่ได้เนรมิตพื้นที่กว่า 19 เฮกเตอร์ (ประมาณ 190,000 ตารางเมตร) สร้างเป็นชุมชนเมืองแห่งอนาคตขึ้นมา หากใครมีโอกาสได้มาเยือนในเมืองแห่งนี้ ย่อมสัมผัสได้ถึงความน่าอยู่ของเมืองและอยากที่จะอยู่อาศัยในชุมชนนี้อย่างแน่นอน

ชุมชนแห่งนี้มีความน่าอยู่เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของกรุงโตเกียว ทำให้สถานที่แห่งนี้มีความสอดคล้องระหว่างสภาพแวดล้อมของเมืองและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองได้อย่างดีเยี่ยม ทั้งยังมีบรรยากาศที่เงียบสงบและอากาศที่สดชื่น ภายในชุมชนยังมีการวางแผนพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mix Land Used) เพราะนอกจากจะประกอบด้วยที่พักอาศัยแล้ว ยังมีพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่สาธารณะประโยชน์อื่นๆ ด้วยเช่นกัน

ส่วนของที่พักอาศัยจะถูกพัฒนาแบ่งออกเป็น โซนบŒานพักอาศัย (Smart Detached-houses) จำนวน 600 หลังคาเรือน โดยเป็นบ้านของ PanaHome จำนวน 300 หลัง บ้านของ Mitsui Fudosan Residential จำนวน 240 หลัง และอีก 60 หลังจะเป็นบ้านของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่น ๆ โซนอาคารชุดคอนโดมิเนียม (Smart Condominium) จำนวน 400 ยูนิต และคาดว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่ โซนบŒานพักผูŒสูงวัย (Smart Wellness) ขึ้นในอนาคตอีกด้วย เมื่อชุมชนแห่งนี้ถูกพัฒนาแล้วเสร็จในป‚ค.ศ. 2018 จะมีจำนวนที่พักอาศัยอยู่ราว 1,000 ครัวเรือน

ในส่วนของพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ จะประกอบด้วย โซนคŒ้าขาย (Smart Market), โซนธุรกิจ (Smart Advanced Center), โซนรŒานคŒาสะดวกซื้อ (Smart Convenience Store)

นอกจากนี้ภายในเมืองยังมีส่วนของพื้นที่สาธารณประโยชน์และพื้นที่สีเขียว อาทิ โซนสถานีส‹วนกลาง (Smart Station) ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ชุมชน (Community Center) สนามเด็กเล่นและสวนหย่อม (Central Park) โซนจุดบริการเดินทางและขนส‹ง (Smart Spot) ซึ่งเป็นจุดให้บริการรถยนต์ร่วมบริการ (Car Sharing) พร้อมการให้บริการรถเช่าและจักรยานไฟฟ้า (Car Rental) โซนพลังงานของชุมชน (Smart Community Solar Power) ซึ่งเป็นบริเวณที่ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ตลอดแนวถนนทางด้านหน้าของเมืองรวมทั้งยังมีสวนสาธารณะกระจายอยู่ทั่วเมืองอีกด้วย

3

Fujisawa Model

ทั้งนี้เพื่อความสุขของผู้คนภายในชุมชน Fujisawa Sustainable Smart Town (FSST) มุ่งเน้นจะสร้างวิถีแห่งความเป็นอยู่คุณภาพสูงให้แก่ผู้คน โดยชุมชนถูกพัฒนาขึ้นจากพื้นฐานของวิถีการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย 3 ประการ ได้แก่ Smart Community Lifestyle, Smart Spaces และ Smart Infrastructure โดยมุ่งเน้นผ่านการออกแบบโซนนิ่งและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการสร้างชุมชนเมืองที่นำความเป็นธรรมชาติมาผสานระหว่างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Sustainable Town) และเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Smart Town) เข้าด้วยกัน

โดยเป้าหมายของ FSST นั้นมีหลากหลายด้านทั้งด้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พลังงานและความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

4

CO2 70% Reduction
เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 70% ด้วยการติดตั้งระบบการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน เช่น การติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์บนหลังคาบ้านแต่ละหลัง การติดตั้งแบตเตอรี่สำรองสำหรับการเก็บพลังงาน และแหล่งพลังงานอื่นๆ

Water Consumption 30% Reduction
เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการลดการใช้น้ำ 30% ด้วยการนำน้ำฝนที่กักเก็บไว้มาใช้ทดแทนในการชำระล้างสุขภัณฑ์ในห้องน้ำและรดน้ำต้นไม้

Renewable Energy Utilization Rate 30% over   
เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมอนุรักษ์พลังงาน โดยการหันมาใช้พลังงานทดแทน นอกจากนั้นในชุมชนแห่งนี้ยังส่งเสริมให้มีการใช้ยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Lifeline Maintenance for 3 Days
เป็นการตั้งเป้าหมายของการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องของชุมชนในกรณีหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติิ ผู้คนก็ยังคงสามารถอยู่อาศัยภายในเมืองต่อเนื่องได้ 3 วัน จนกว่าภาครัฐหรือหน่วยงานส่วนกลางจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือได้

78ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะนำพลังสู่ชีวิต “Bringing Energy to Life” ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่:

Bringing New Energy from the Sun
การนำพลังจากธรรมชาติมาใช้เป็นพลังงานทดแทน อย่างเช่นนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า ด้วยการสร้างแหล่งพลังงานของตนเองผ่านแผงโซล่าร์เซลล์ ผลิตไฟฟ้าใช้ภายในชุมชนและในครัวเรือน ทั้งนี้ยังรวมถึงการสร้างแหล่งพลังงานอื่น การเก็บสำรองพลังงาน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอีกด้วย

Bringing New Energy to Mobility
การนำพลังสู่การเดินทาง โดยมุ่งเน้นให้การเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเต็มไปด้วยความสะดวกสบายสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่ด้วยรถยนต์ จักรยาน หรือการเดินเท้า อีกทั้งยังต้องเป็นการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Bringing New Energy to Safety and Security
การนำพลังสู่ความปลอดภัยและมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย ด้วยระบบบริการรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Virtual Gated Town’ซึ่งเป็นการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยและกล้องวงจรปิดทั่วเมือง

Bringing New Energy to Healthcare
การนำพลังสู่สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ โดยการสร้างพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ ช่วยให้แต่ละบุคคลได้พัฒนาและดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่ดี เชื่อมโยงกันด้วยการออกกำลังกายและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Bringing New Energy to Community Ties
การนำพลังสู่สังคม ซึ่งเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีภายในชุมชนให้มีการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างมีความสุข และสนุกสนานในการใช้ชีวิต ก่อให้เกิดเป็นสังคมคุณภาพ

9แนวทางเดินเท้าแกนหลักของชุมชน ที่มุ่งหน้าสู่สวนสาธารณะ Central Park ในบริเวณ Smart Station
ด้วยระยะความกว้าง 3.5 เมตร ทำให้สามารถสัญจรได้อย่างสะดวก ทั้งจักรยานและคนเดินเท้า

ภายในชุมชนเมืองแห่งนี้ เน้นให้ความสำคัญทางกายภาพของสภาพแวดล้อมของชุมชน และการมีระบบเชื่อมต่อภายในที่ดี ด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินและกิจกรรมทางสังคมที่ผสมผสาน รวมทั้งการสร้างพื้นที่สีเขียวผ่านการจัดภูมิทัศน์และกำหนดตำแหน่งพื้นที่สวนหย่อมให้สัมพันธ์กับพื้นที่ใช้สอย ก่อให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างโซนนิ่ง ที่พักอาศัยแหล่งการค้า แหล่งนันทนาการ และแหล่งเรียนรู้ ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกในระยะการเดินถึง อีกทั้งยังเป็นการสร้างพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยการเดินเท้าและปั่นจักรยานเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการลดการใช้พลังงานและสร้างสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ของชุมชน

การเชื่อมต่อด้วยพื้นที่สีเขียว Green Corridor เริ่มตั้งแต่ทางเข้าด้านหน้าของชุมชน โดยมีการวางแนวแกน Axis พื้นที่สวนสีเขียวสำหรับใช้เป็นเส้นทางเดินผ่านไปยังโซนต่างๆ ตั้งแต่ Welcome Garden สวนที่ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของชุมชน เชื่อมต่อกับ Central Park สวนสาธารณะในบริเวณ Smart Station ใจกลางโครงการ ซึ่งเป็นศูนย์รวมกิจกรรมของผู้อยู่อาศัย เพราะเป็นที่ตั้งของ Community Center สนามเด็กเล่น และลานสันทนาการ อันเป็นเป้าหมายของการสร้างพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชนแห่งนี้

ต่อเนื่องจากสวนสีเขียว Central Park เชื่อมต่อไปยังสวนทางด้านเหนืออย่าง Breeze Garden ซึ่งเป็นสวนหย่อมที่เชื่อมต่อชุมชนกับพื้นที่ศูนย์การค้าของเมืองฟูจิซาว่า และยังเชื่อมต่อไปยังสวนทางด้านตะวันตก Circle Garden ซึ่งตั้งอยู่อีกฝากหนึ่งของชุมชน ดังนั้นหากเราเดินไปตามแนวทางเดินเท้าเราก็จะพบพื้นที่สีเขียวที่เย็นใจและสบายตาตลอดแนว

10แนวแกนหลักของทางเดินเท้าในชุมชน ที่มุ่งหน้าสู่ Breeze Gardenและต่อเนื่องไปยังศูนย์การค้าของเมืองฟูจิซาว่า

11พื้นที่สวนแทรกตัวอยู่ตามแนวทางเดินเท้า ที่มุ่งหน้าสู่ Welcome Garden ซึ่งเป็นสวนทางเข้าด้านหน้าชุมชน
ตลอดแนวทางเดินปลอดภัยด้วยระบบไฟฟ้าแสงสว่างและกล้องวงจรปิด

12การสร้างพื้นที่สวนหย่อมสีเขียวตามแนวทางสัญจร ยังเป็นการเพิ่มพื้นที่รับน้ำภายในชุมชนอีกด้วย
หากในฤดูมรสุมที่มีฝนตกหนักแนวสวนที่ว่านี้ก็จะช่วยซับน้ำและใช้เป็นแนวระบายน้ำได้ด้วย

ด้วยการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานไว้ใต้ดิน ทำให้บริเวณสองข้างทางตามถนนและทางเดินเท้าภายในเมืองมีทัศนียภาพที่สวยงามเป็นระเบียบ เนื่องจากไม่มีเสาไฟฟ้าหรือสายสัญญาณให้รกตา รวมทั้งยังมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยสูง เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินขึ้น ทั้งนี้ยังช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยและพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองมากขึ้นด้วย นอกจากนี้แนวเส้นทางสัญจรหลักภายในเมืองยังถูกออกแบบโดยคำนึงถึงทิศทางการพัดผ่านของลมประจำฤดูกาล เพื่อให้ลมไหลผ่านตามแนวดังกล่าว ก่อให้เกิดภาวะน่าสบายในบริเวณชุมชน

13บนดาดฟ้าของ Community Center นอกจากจะเป็นพื้นที่ใช้สอยสำหรับกิจกรรมยามว่างของคนในชุมชนแล้ว
ยังเป็นที่ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์จำนวนหนึ่งด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อการผลิตไฟฟ้า
ให้ได้เพียงพอต่อความต้องการใช้สอยในพื้นที่ส่วนกลางทั้งหมด

ที่ Fujisawa Sustainable Smart Town (FSST) มุ่งเน้นถึงแนวคิดในการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานเป็นหลักเช่นกัน ด้วยเป้าหมายที่จะลดการใช้พลังงานและเลือกใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่นี่จึงได้เลือกนำพลังงานทดแทนจากแหล่งธรรมชาติมาใช้ โดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์ ที่เราสามารถมองเห็นได้จากแผงโซล่าร์เซลล์ที่ถูกติดตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ตามหลังคาบ้านแต่ละหลัง หรือตามพื้นที่สวนสาธารณะและพื้นที่ส่วนกลาง เพราะชุมชนแห่งนี้ส่งเสริมให้ผลิตไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนเป็นหลัก นอกจากนั้นไฟฟ้าส่วนที่ผลิตได้หากเกินจากการใช้สอยภายในบ้านจะถูกขายกลับให้แก่หน่วยงานผู้ประกอบการไฟฟ้าซึ่งเป็นการสร้างรายได้สู่ครัวเรือนอีกทางหนึ่ง

นอกจากแนวคิดเรื่องลดการใช้พลังงานแล้ว การลดการใช้น้ำก็เป็นอีกหนึ่งแนวคิดของชุมชนนี้ การกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ใช้สอย อาทิ รดน้ำต้นไม้ ชำระล้างสุขภัณฑ์ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองเป็นการสร้างสังคมที่ยั่งยืน ดังนั้นในยามที่เกิดเหตุภัยพิบัติขึ้น ภายในชุมชนเมืองแห่งนี้ก็ยังสามารถที่จะผลิตพลังงานใช้เองได้และมีแหล่งทรัพยากรสำรองเอาไว้ใช้สอยอย่างต่อเนื่องได้ถึง 3 วัน

ส่วนในเรื่องของการเดินทางสัญจรภายในเมือง ที่นี่สนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัยใช้พาหนะพลังงานสีขาว เช่น รถยนต์ไฟฟ้ารถจักรยานไฟฟ้า จักรยาน และการเดินเท้า เพื่อเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซมลพิษ ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีจุดบริการสำหรับชาร์จพลังงานไฟฟ้าไว้คอยบริการอีกด้วย รวมทั้งในบ้านแต่ละหลังก็มีระบบชาร์จพลังงานให้แก่ยานพาหนะด้วยเช่นกัน
14 ศาลาอเนกประสงค์ในสวนก็มีการนำแผงโซล่าร์เซลล์มาติดตั้งไว้บนหลังคา
สำหรับใช้ผลิตไฟฟ้าใช้ภายในชุมชนด้วยเช่นกัน

15Smart Community Solar Power ตลอดแนวทางเดินเท้าทางด้านหน้าของโครงการมีการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ขสำหรับการผลิตไฟฟ้าใช้ในพื้นที่ส่วนกลางภายในชุมชน

16เพื่อความปลอดภัยภายในชุมชน จึงมีการติดตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างและกล้องวงจรปิดไว้โดยรอบ
ซึ่งดวงโคมทั้งหมดก็ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซล่าร์เซลล์ทั้งสิ้น

17Community Center ศูนย์รวมกิจกรรมที่ให้ผู้คนในชุมชนได้ทำากิจกรรมร่วมกัน โดยชั้นบนจะเป็นพื้นที่ดาดฟ้า
สำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจ หรือช่วงเวลาปิกนิกของครอบครัว

18ภายในพื้นที่ Community Center จะมีห้องประชุมและห้องจัดเลี้ยง
ที่สมาชิกในชุมชนสามารถเข้ามาหมุนเวียนใช้บริการกันได้

19นาฬิกาแดดบริเวณลาน Central Park

“การสร้างชุมชนให้น่าอยู่นั้น ชุมชนเมืองต้องส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สาธารณะสำหรับทำกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ให้มากขึ้น เช่น สวนสาธารณะ สวนชุมชน ลานกิจกรรม เป็นต้น โดยขนาดและรูปแบบสามารถยืดหยุ่นให้มีความสอดคล้องกับลักษณะกายภาพของแต่ละพื้นที่ที่เมืองแห่งนี้เองก็มีการออกแบบพื้นที่โล่งต่าง ๆ ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดรูปแบบการใช้ชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ อันได้แก่ การเข้าถึงสถานที่ซึ่งถูกใช้เป็นประจำด้วยกิจกรรมทางกาย เช่น การเดินเท้าและการปั่นจักรยาน”

นอกจากนั้นพื้นที่ดังกล่าวยังถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกภายในชุมชน กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ พร้อมทั้งความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน ทั้งนี้พื้นที่สถานที่สาธารณะภายในชุมชนยังได้รับการออกแบบให้เป็นสถานที่ที่มีความงดงาม มีคุณภาพระดับสูง และมีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้อยู่อาศัยได้ใช้พื้นที่ร่วมกันอีกด้วย

20พื้นที่โซนการค้า Smart Market ของชุมชน ซึ่งประกอบไปด้วย ร้านอาหาร ร้านค้า ร้านหนังสือ ห้องสมุด เป็นต้

21บริเวณโดยรอบโครงการจะมีจุดบริการ Power Station
สำหรับบริการชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับรถยนต์ไฟฟ้า และรถจักรยานไฟฟ้า

22พื้นที่สำหรับจอดรถจักรยานไฟฟ้าบริเวณโซนร้านค้า เนื่องจากในชุมชนเมืองแห่งนี้สนับสนุนให้มีการใช้พาหนะที่
ลดการปล่อยมลพิษ ดังนั้นในชุมชนจึงมีบริการรถจักรยานไฟฟ้าให้เช่าสำาหรับใช้เดินทางภายในเมืองได้สะดวกสบาย

ทั้งนี้ Fujisawa Sustainable Smart Town (FSST) ถือได้ว่าเป็นเมืองต้นแบบที่ผสานระหว่างความยั่งยืน (Sustainability) และเทคโนโลยี (Smart) ที่ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี จากการพัฒนาโครงการของทาง Panasonic ซึ่งสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งที่อยู่อาศัย ผ่านบ้านของ PanaHome และเทคโนโลยีอัจฉริยะของทาง Panasonic สร้างให้เกิดเป็นชุมชนเมืองที่แสนจะน่าอยู่นี้ขึ้นมา

อย่างไรก็ตามการพัฒนาชุมชนเมืองแห่งอนาคตนั้นยังเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก เพราะจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายทั้งนโยบายจากภาครัฐ การสนับสนุนจากภาคเอกชนและองค์กรด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ อาทิ การประปา การไฟฟ้า หน่วยงานทางด้านพลังงาน รวมถึงการร่วมมือกันระหว่างนักออกแบบผังเมือง นักลงทุน องค์กรเอ็นจีโอ ไปจนถึงการมีส่วนร่วมของผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชนเมืองนั้น ๆ ประกอบเข้าด้วยกันจึงจะสำเร็จได้

นิตยสาร Builder Vol.25 NOVEMBER 2015
Previous articleสารเคลือบผิววัสดุทำจากกระจก ช่วยลดความร้อนภายในอาคารได้
Next articleUSGBC จัดอันดับ 10 ชาติผู้นำด้านอาคารเขียว (LEED) แห่งปี 2015
Builder
กองบรรณาธิการนิตยสาร Builder - เดิมเคยเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ ภายใต้ชื่อ Builder News เผยแพร่เนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับวงการธุรกิจก่อสร้างมากว่า 10 ปี ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นนิตยสารรายเดือนในชื่อว่า Builder เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปในยุคปัจจุบัน มุ่งนำเสนอเรื่องราวในวงการก่อสร้าง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง ตลอดจนความรู้เรื่องวัสดุอย่างครบวงจร