กระแส ‘STARTUP’ ในบ้านเรามาแรง เริ่มตั้งแต่รัฐบาลทีมุ่งก้าวสู่ยุคที่ 4 ของการพัฒนาเศรษฐกิจที่ท่านนายก และท่านรองสมคิดใช้คำว่า “Thailand 4.0” โดยมุ่งที่จะยกระดับเศรษฐกิจผ่านขบวนการใช้เครื่องมือสมัยใหม่คือ “DIGITAL” หรือ IT ที่ทุกท่านเข้าถึง เรียกกันว่า Digital Economy / Digital Marketing และจะทำได้ก็ต้องมีการส่งเสริมการพัฒนา ดัน Research และความรู้ด้าน IT เป็นฐาน

ในต่างประเทศได้ก้าวเข้ามาสู่ Digital เต็มตัวแล้ว เช่นประเทศ อเมริกา ที่มีนักวิจัยมากมายใช้ IT เป็นฐานก้าวกระโดดในธุรกิจ และยกระดับเศรษฐกิจ เช่นที่ Silicon Valley ในซานฟรานซิสโกนับเป็นแหล่งรวมของนักวิจัยด้าน IT เต็มไปหมด โดยมีผู้นำในด้านนี้ เช่น Steve Jobs แห่ง iPhone เป็นต้น

ในญี่ปุ่นก็มีการสร้างเมืองนักวิจัยขึ้นอยู่แถบโอซาก้า เป็นแหล่งเพาะพันธุ์มนุษย์ยุค 4.0 นี้ อีกประเทศคือเกาหลีที่ต้องการก้าวกระโดด ซึ่งขณะนี้บริษัทซัมซุงนับเป็นบริษัทชั้นนำของโลกด้าน IT และ Digital ซึ่งผลิตมือถือ Smart Phone นำหน้าทั่วโลกไปแล้ว และเกาหลีกำลังเป็นผู้นำในด้าน “Smart” ทั้งหลาย เช่น Smart Phone และ Smart City เป็นต้น

ในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์นี้เปิดโอกาสให้ผู้รู้สามารถจะพัฒนาสินค้าจากองค์ความรู้พื้นฐาน สร้าง Application ซึ่งเป็นที่ต้องการด้านคมนาคมมากมาย ตัวอย่างอีกสินค้าหนึ่งคือ “Uber Taxi” ที่กำลังเติบโตในเมืองใหญ่ทั่วโลก โดยเอาความต้องการของผู้โดยสารมาผสมกับระบบ GPS และระบบ Smart Payment โดยผู้โดยสารจะต้องสมัครเป็น Member จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ซึ่งการเรียก Uber Taxi นั้น ผู้โดยสารจะได้รู้จักรถ เบอร์รถคนขับ และบอกที่ตั้งเพื่อจะได้มารับไปส่งสถานที่ที่ต้องการจะไป

คนขับและรถต้องเป็น Member ของ Taxi เช่นกัน ต้องตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัย และสามารถใช้รถส่วนตัวมาให้บริการ Uber ได้ ซึ่งหลายประเทศก็กำลังต่อต้านในประเด็นที่ Taxi ไม่ต้องจดทะเบียนแข่งกับ Taxi ตามถนน ส่วนบ้านเราก็พัฒนาขึ้นไปอีก มีทั้ง All Tail Taxi หรือ Grab Taxi ซึ่งเป็น Inter Brand ที่ใช้ในแถบเอเชีย

เป็นตัวอย่างของนักคิดนักสร้าง Content ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นทางลัดที่จะประสบความสำเร็จ นำเข้าตลาดหุ้นจนร่ำรวยทันตาเห็น แต่ผู้ที่มีความคิดก้าวหน้านี้จะต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ คือ 1.) ต้องเป็นผู้มี Innovation 2.) ต้องมีความรู้ด้าน Digital 3.) ต้องรู้ช่องโหว่ของดีมานด์ในความต้องการของสินค้า และ 4.) ต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneur จากสถิติมีผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จน้อยมาก เพียงแค่ 1 ในแสนหรือล้านคน ส่วนที่เหลือคือผู้มีประสบการณ์ที่ท่องอยู่ในอินเทอร์เน็ตและใช้เว็บไซต์ของคนอื่น เป็นคนอยู่ในยุค E-generation

ที่น่าสนใจอีกด้านคือ แล้ว Startup แตกต่างกับ SME ที่รัฐบาลใช้เป็นฐานการสร้างเศรษฐกิจรากหญ้าอย่างไร ผู้คนเริ่มสับสนว่าถ้าไม่มีความรู้ด้าน IT เลยจะเป็น SME ได้ไหม หรือ SME ทุกคนที่เป็น “Self-employed” จะต้องเก่ง IT และต้อง Startup ได้ ขอบอกว่าไม่จำเป็นเลย SME อาจจะไม่รู้จัก IT หรือใช้ Application เลยก็ได้ เพราะ SME เป็นธุรกิจขนาดเล็ก และมักจะเป็นธุรกิจครอบครัว ทำได้หลายอย่าง เช่น SME อาหารญี่ปุ่น อย่างเช่นราเม็งที่ดังไปทั่วโลก หรือ SME ด้านแฟชั่นในประเทศอิตาลี เป็นร้านเล็ก ๆ ฝีมือดี รับตัดเสื้อผ้ามาแล้วเป็น 2 ชั่วคนก็มี

ประเทศไทยเป็นภาคเกษตรและภาคอาหาร อาจจะต้องเริ่มที่เป็น SME เสียก่อน อย่ารีบก้าวกระโดดเร็วนักให้แน่ใจว่าฐาน SME แข็งก่อน แล้วค่อยก้าวเข้าสู่ Digital Marketing ดูตัวอย่างน้ำพริกเครื่องแกงของเรา มีทั้งพันท้ายนรสิงห์ แม่ประนอม ส่งออกทั่วโลก ซึ่งก็คือ SME เดิม แล้วมาเสริมแต่งด้วย Digital Market มิใช่ก้าวกระโดดใช้ Startup Digital Electronics เลย ก็ขอฝากไว้ครับ “SME คือรากฐานของเศรษฐกิจ” และ “Startup” เป็นเครื่องมือที่ก้าวไปสู่ M หรือ L Company อย่าตามกระแสจนลืมฐานเศรษฐกิจก็แล้วกันครับ

นิตยสาร Builder Vol.34 AUGUST 2016

Previous article‘Urban SOS Student Competition’ การประกวดไอเดียยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมือง
Next articleกลุ่ม บิวท์ ทู บิวด์ เดินหน้าลุยต่อ 4 เดือนสุดท้าย หวังปิดยอดตามเป้า 800 ล้าน
รศ.มานพ พงศทัศ
ที่ปรึกษานิตยสาร Builder อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย