หลังจากส่งต่อความรู้เรื่องวัสดุมาหลายบทความต่อเนื่อง ทั้งเรื่องของดีไซเนอร์คนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมวัสดุ เรื่องของวัสดุที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ไปจนถึงการเปลี่ยนวัสดุที่ช่วยทำให้บ้านน่าอยู่ ครั้งนี้เราขอเปิดมุมมองของโลก “วัสดุ” อีกครั้งกับรางวัลที่หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงสถาปัตย์อาจยังไม่คุ้นเคย รางวัลที่มีพระเอกเป็นวัสดุประเภทเดียวในการตัดสินการออกแบบอย่าง Wienerberger Brick

Wienerberger Brick Award เป็นรางวัลระดับนานาชาติ ที่ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี คศ. 1819 จัดโดย Wienerberger ซึ่งเป็นผู้ผลิตอิฐที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศออสเตรีย และรายใหญ่ที่สุดของโลก มีวัตถุประสงค์ต้องการให้ “อิฐ” ได้ฉายแสง แสดงความน่าสนใจให้ผู้คนได้พบเห็นว่าวัสดุที่คนภายนอกอาจจะมองว่าคร่ำครึ เพราะเป็นวัสดุที่กำเนิดมายาวนาน สามารถผสมผสานเข้ากับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ได้เป็นข้อจำกัดด้านการออกแบบ

แล้วผู้ผลิตอิฐเขาต้องการจะไทด์อินเรื่องการซื้อของ ๆ เขาหรือเปล่า ? การประกวดมันต้องไม่โปร่งใสแน่เลย บางคนที่กำลังอ่านอาจจะกำลังคิดอย่างนี้ แต่เราขอยืนยันให้สบายใจได้ว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะเขาระบุว่าการส่งประกวดสิ่งปลูกสร้างจากอิฐที่เข้าร่วมการประกวดนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ “อิฐ” ของ Wienerberger เท่านั้น และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาผลงานที่สถาปัตยกรรมในไทยที่ออกแบบจากสถาปนิกไทยก็เพิ่งไปคว้ารางวัลรายการนี้ไปด้วย

“อิฐ” จะทำอะไรบ้าง จะสวยหรือโมเดิร์นได้มากน้อยแค่ไหน เรานำภาพรางวัลบางส่วนที่เข้าประกวดมาอวดโฉมให้ได้ดูกัน และคุณจะรู้ว่า “วัสดุ” ที่ไม่ค่อยอยู่ในรายการวัสดุบ้านเราตอนนี้ ความจริงแล้วมันโชว์ความเก๋าได้แค่ไหน บอกได้เลยว่าลบภาพอิฐเก่า ๆ ที่ต้องอยู่ตามโบราณสถานได้เลย เราได้คัดเลือก 3 ผลจากที่น่าสนใจที่ได้รับรางวัลจาก 3 ปีล่าสุดมาฝาก ดังต่อไปนี้

2014

Kantana Film and Animation Institute, Bangkok Project Studio © Pirak Anurakyawachon

Grand Prize and Category Winner “Special Solution”

อาคารสถาบันกันตนา, ประเทศไทย

Kantana Film and Animation Institute, Bangkok Project Studio © Pirak Anurakyawachon

สถาปนิกผู้ออกแบบ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญเสริม เปรมธาดา หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Kantana Film and Animation Institute, Bangkok Project Studio © Pirak Anurakyawachon

Kantana Film and Animation Institute, Bangkok Project Studio © Pirak Anurakyawachon

Kantana Film and Animation Institute, Bangkok Project Studio © Pirak Anurakyawachon

สถาบันกันตนา สร้างสถาปัตยกรรมที่นำอิฐ hand-made กว่า 6 แสนก้อนจากหมู่บ้านอิฐแห่งสุดท้ายของประเทศไทย แต่ละก้อนมีความหนากว่าอิฐธรรมดาถึง 2 เท่า ก่อสร้างด้วยภูมิปัญญา สร้างความโดดเด่นสะท้อนนวัตกรรมเชิงรูปลักษณ์ และเชื่อมโยงเรื่องการออกแบบที่ยั่งยืน เพราะการออกแบบช่องแสงที่ช่วยลดการใช้พลังงานได้ ประกอบกับฟังก์ชันการใช้งานครบครัน แต่ยังคงไว้ซึ่งความกลมกลืนกับธรรมชาติสีเขียวรอบข้าง สร้างความรู้สึกที่ทรงพลังและลึกลับทำให้สะดุดตาจนกวาดรางวัลนี้ไปได้อย่างน่าชื่นชม

2016

Auditorium AZ Groeninge Vzw, Dehullu Architecten © Dennis de Smet

Winner Public Use

สถานที่ : Auditorium AZ Groeninge, ประเทศเบลเยี่ยม

Auditorium AZ Groeninge Vzw, Dehullu Architecten © Dennis de Smet

สถาปนิกผู้ออกแบบ : Bert Dehullu

Auditorium AZ Groeninge Vzw, Dehullu Architecten © Dennis de Smet

Auditorium AZ Groeninge Vzw, Dehullu Architecten © Dennis de Smet

Auditorium AZ Groeninge Vzw, Dehullu Architecten © Dennis de Smet

AZ Groeninge คือหนึ่งในศูนย์สุขภาพที่ใหญ่ที่สุดของเบลเยี่ยมรองรับการเรียนการสอนสำหรับโรงพยาบาลจึงก่อสร้างส่วนหอประชุมขึ้น อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยอิฐหยาบที่นำมาก่อสร้างให้เห็นความโค้งของอาคารหอประชุม หน้าตาเหมือนพรมที่ถักทอขึ้นเพราะมีลักษณะมองไกล ๆ คล้ายพิกเซลที่เรียงต่อกัน หากเงาพาดผ่านแสงเงาจะกระเพื่อมเป็นระลอกคล้ายคลื่นชวนให้พิศวง

เมื่อยื่นหน้าเข้าไปดูใกล้ ๆ จะเห็นชัดว่าสร้างขึ้นด้วยอิฐ ซึ่งการออกแบบและใช้อิฐเป็นวัสดุของหอประชุมแห่งนี้สัมพันธ์กับโครงสร้างส่วนอื่น ไม่ว่าจะเป็นประตู หรือวงกบ ได้อย่างลงตัว จึงคงความโดดเด่นและได้รับคัดเลือกให้ได้รางวัล

2018

San Bernardo Chappel, Argentinia © Nicolás Campodónico

Special Prize Winner: Sharing public spaces

สถานที่ : San Bernardo Chapel, ประเทศอาร์เจนติน่า

San Bernardo Chappel, Argentinia © Nicolás Campodónico

สถาปนิกผู้ออกแบบ : Nicolás Campodonico Estudio

San Bernardo Chappel, Argentinia © Nicolás Campodónico

San Bernardo Chappel, Argentinia © Nicolás Campodónico

โบสถ์ San Bernardo หลังนี้เป็นโบสถ์ขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ใน Argentine Pampa พื้นที่ที่ขาดการเข้าถึงด้านสาธารณูปโภคทั้งน้ำและไฟฟ้า ดูจากภาพแล้วแวบแรกหลายคนอาจจะรู้สึกละม้ายกับโบสถ์ของญี่ปุ่นที่อาศัยช่องแสงทางสถาปัตย์สร้างเครื่องหมายไม้กางเขน จากช่องแสงที่สถาปนิกสร้างเพื่อให้ลอดผ่านช่องด้านนอกให้ลอดเข้ามาในอาคารด้านในที่เป็นห้องมืด กลายเป็นแสงสว่างรูปไม้กางเขน เพื่อให้คริสตศาสนิกชนสามารถมาประกอบพิธีกรรมได้ แต่สำหรับโบสถ์หลังน้อยแห่งอาเจนตินาหลังนี้ใช้หลักการให้แสงพาดทับเสาไม้สองท่อน ก่อเป็นเงารูปไม้กางเขนพานทับผนังโบสถ์แทน

San Bernardo Chappel, Argentinia © Nicolás Campodónico

หากไม่เห็นความแตกต่างที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นจากแสงอาทิตย์เชื่อว่าเราคงไม่มีทางทราบว่าสถานที่แห่งนี้คือโบสถ์ สัญญะที่ถูกซ่อนไว้นี้จึงเป็นหนึ่งความลับทางสถาปัตย์ที่สถาปนิกผู้ออกแบบชวนให้ผู้ที่ก้าวเข้ามาเกิดสัมผัสทางจิตวิญญาณมากยิ่งขึ้น ความมินิมัลที่ดึงความสงบตามวัตถุประสงค์ของสถานที่ประกอบกับความขลังของวัสดุเป็นสิ่งที่น่าสนใจและจับตามอง

San Bernardo Chappel, Argentinia © Nicolás Campodónico

นอกจากนี้ เอกลักษณ์ที่เลือกหยิบอิฐซึ่งเป็นวัสดุทรงเหลี่ยมนำมาสร้างสถาปัตยกรรมที่โค้งมน  ภายในตกแต่งด้วยช่างฝีมือแบบดั้งเดิม ขับเน้นความน่าสนใจชวนค้นหาเพิ่มขึ้น

เหตุผลที่เราเลือกรางวัลนี้มาพูดถึง ส่วนหนึ่งมาจากความรู้ที่เราอยากแบ่งปันให้ชาว BuilderNews ได้รับรู้ว่า “วัสดุ” มีความกว้างขวาง และได้รับความสำคัญไม่แพ้ศาสตร์อื่น ๆ หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบของชาว BuilderNews

ขณะเดียวกันก็อยากแจ้งข่าวดีสำหรับสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญและชื่นชอบการออกแบบด้วยอิฐด้วยว่ารางวัลนี้จัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี และตอนนี้ Wienerberger brick เขาแจ้งข่าวเปิดรับสมัครโปรเจ็กต์ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากอิฐปีหน้าให้เข้าแข่งขันกันแล้วเพื่อรับรางวัลปีหน้าด้วย ใครสนใจสามารถเข้าไปติดตามรายละเอียดและคุณสมบัติที่ต้องมีได้ที่ https://wienerberger-building-solutions.com/expertise/competition

 

อ้างอิงข้อมูล

http://kantana.ac.th/th/news-de.php?ic=1&is=0&id=454&Page=7

https://wienerberger-building-solutions.com/expertise/winner-grand-prize-special-solution-kantana-thailand

Previous articleSmart Makeup ในยุคที่ความงามรอไม่ได้
Next articleAsian Lighting Forum 2019 เวทีชี้เทรนด์แสงสว่างในยุคดิจิทัล