แผนการส่งมอบที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.นี้ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 497 ไร่ บริเวณมักกะสัน เพื่อเป็นการปลดหนี้ก้อนใหญ่ที่ตนมีต่อกระทรวงการคลัง แต่แผนการกลับไม่ราบรื่นเสียแล้ว เพราะเกิดการระงับแผนชั่วคราว จนกว่าจะมีการเห็นชอบด้วยกฎหมาย

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า “การส่งมอบที่ดินยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นที่ปรึกษาตามกฎหมายของรัฐบาล ซึ่งระหว่างนี้ได้เกิดคำถามขึ้นมากมายว่า ผังที่ดินของมักกะสันเหมาะจะนำไปใช้เพื่อพัฒนารถไฟระบบรางโดยเฉพาะหรือไม่ หรือสามารถนำไปพัฒนาเพื่อจุดประสงค์อื่นได้อีก”

การส่งมอบที่ดินนับเป็นหนึ่งในข้อตกลงที่ว่า รฟท.จะอนุญาตให้กระทรวงการคลังเช่าที่ดิน เป็นเวลา 99 ปี ด้วยข้อตกลงมูลค่าสูงกว่า 6 พันล้านบาท เพื่อแลกเปลี่ยนกับหนี้สูญของ รฟท. ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกัน โดยในโครงการนี้ รฟท.จะยกที่ดินจำนวน 105 ไร่ จากทั้งหมด 497 ไร่ ให้กับกรมธนารักษ์ หลังจากที่มีการลงนามความเข้าใจให้กับกรม จากนั้นพื้นที่จำนวน 30 ไร่ จะถูกโอนภายใน 1 ปี และที่ดินส่วนที่เหลือก็จะถูกโอนตามไปภายใน 2 ปีเช่นกัน

กรมธนารักษ์ มีแผนจะพัฒนาที่ดินให้กลายเป็นย่านการค้าและสวนสาธารณะ ด้วยมูลค่าการลงทุนประมาณ 2-3 แสนล้านบาท โดยแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สัญญาเช่าที่ดินนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพื้นฟูสภาพการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่หวังจะจัดการหนี้สินส่วนหนึ่งจากจำนวนกว่า 1 แสนล้านบาท

แผนของรฟท.ในการเสนอที่ดินที่ดีที่สุด 3 แห่งเพื่อการพัฒนาทางการค้านั้น นับรวมพื้นที่ใกล้สถานีรถไฟแม่น้ำ ในเขตคลองเตย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 277.5 ไร่ ขณะเดียวกันก็เตรียมความพร้อมสำหรับประเมินสัญญาเช่าที่ดิน 7.000 ผืน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงราคาที่ดินในตลาดชัดเจนยิ่งขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือซุปเปอร์บอร์ด แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลควบคุมการใช้ที่ดินของรฟท. ภายใต้สัญญาเช่าที่ดินที่มีมากกว่า 10,000 ผืน ครอบคลุมพื้นที่ 36,000 ไร่ โดยสัญญาเช่าทั้งหมด 7,000 ฉบับ จะสิ้นสุดภายในเดือนนี้

จะเห็นได้ว่า แผนการพัฒนาที่ดินบริเวณมักกะสัน นับเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนที่เรียกร้องอำนาจเพราะต้องการให้เกิดการรับรู้ของภาคประชาชน ก่อนที่จะมีการดำเนินการพัฒนาต่อ ๆ ไป

โดยพื้นที่ 497 ไร่ของที่ดินในปัจจุบัน ถูกแปรสภาพให้เป็นพื้นที่สีเขียวจำนวน 150 ไร่ ส่วนอีก 30 ไร่ ไว้สำหรับสร้างพิพิธภัณฑ์และอาคารซึ่งมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์เป็นที่น่าจดจำ

และในการสัมมนาเพื่อพัฒนากรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลจัดตั้งมาตรฐานเพื่อการพัฒนาเมกะโปรเจคขึ้นใหม่ โดยเริ่มที่พื้นที่บริเวณมักกะสัน ซึ่งมีนายปริญญา ชูแก้ว สถาปนิกและผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ออกมากให้ความเห็นว่า ในการพัฒนาเมกะโปรเจคนั้น รัฐบาลควรรวมเอาชุมชนท้องถิ่น และภาคประชาชนเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งกระบวนการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากส่วนรวมนั้นต้องอาศัยเวลาเป็นตัวช่วยในช่วงแรกเริ่ม จากนั้น การดำเนินการจะเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการคัดค้าน ต่อต้าน

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ผู้นำกลุ่มสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “นักวิจารณ์การพัฒนาในครั้งนี้ไม่คัดค้านให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงต้องการอำนาจในการมองไปยังแง่มุมอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่การมองแค่ผลกำไรทางเศรษฐกิจ

มักกะสัน มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และควรจะพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ให้สำเร็จลุล่วงอย่างยั่งยืน ไม่ใช่แค่การเคลียร์หนี้สิน แต่ยังเกี่ยวเนื่องกับนโยบายของรฟท.ในการให้บริการสาธารณะอีกด้วย” เขากล่าว

Source: bangkokpost

Previous articleใกล้ชิดธรรมชาติ ด้วยบ้านต้นไม้กระจกรูปแบบใหม่ ที่ดูคล้ายกับนำต้นไม้มาใส่ไว้ในบ้าน
Next articleนอนหนาวสุดขั้วในโรงแรมน้ำแข็ง ‘Ice Hotel’ ตะลึงงันกับน้ำแข็งทั้งหลัง!
ณัฐธิกานต์ อัจฉริยบดี
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านงานออกแบบ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม