นายพชร อนัตศิลป์ อธิบดีกรมธนารักษ์ นำสื่อมวลชนลงสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง หอชมเมืองกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สร้างหอชมเมืองกรุงเทพมหานคร ที่มีความสูงถึง 459 เมตร มีพื้นที่ใช้สอยรวม 22,281 ตร.ม. มูลค่า 4,621 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณเอกชน บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลข กท.3257 เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

โดยพื้นที่ดังกล่าวมีขนาด 4 ไร่, 2 งาน, 34 ตารางวา ราคาประเมินที่ 198 ล้านบาท เดิมเป็นที่ราชพัสดุของตำรวจน้ำ แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ประโยชน์และถูกทิ้งร้าง อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ตาบอด หากเช่าเพื่อการพานิชณ์จะไม่คุ้มทุน รวมทั้งรถยนตร์ไม่สามารถเข้าถึงได้ ด้านการสัญจรทางน้ำใกล้กับท่าเรือคลองสาน อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวว่า โครงการสร้างหอชมเมืองแห่งนี้ คาดว่าจะเสร็จแล้วภายใน 3 ปี ซึ่งรัฐจะได้ผลประโยชน์จากสะพัดตลอดระยะเวลา 30 ปี ราว 46,000 ล้านบาท
ในส่วนภาพรวมของเศรษฐกิจจะมีตัวเลขนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เละกระตุ้นการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมทัศนียภาพริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นเเลนมาร์คแห่งใหม่ ส่วนด้านในเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติไทยเเละพระมหากษัตริย์ หากดำเนินการโครงการนี้แล้วเสร็จ จะสามารถเปิดรับผู้เข้าชมวันละ 4,000 คน เเบ่งเป็นรอบละ 400 คน เปิดวันละ 10 รอบ โดยคาดว่าจะมีผู้มาเยือนทั้งสิ้น 1.1-1.4 ล้านคนต่อปี โดยประมาณการราคาตั๋วที่เข้าชมคนละ 750 บาทต่อคน ส่วนคนไทยลด 50% หรือคนละ 375 บาท


แต่อย่างไรก็ตามการก่อสร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่นี้ ถูกตั้งข้อสังเกตว่าอาจส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง โดยกลุ่มชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้าง พบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีบ้านติดกับที่ดินราชพัสดุดังกล่าวในรัศมี ไม่เกิน 50 เมตร ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยด้วยการจ่ายค่าเช่าบ้านให้เเก่บริษัทเอกชนผู้เป็นเจ้าของโฉนดในอัตราเดือนละ 300 บาท เเละเช่าอยู่มาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ถึงแม้อยากให้มีการพัฒนา แต่ก็กลัวว่าจะถูกไล่ในอนาคต เพราะสภาพความเป็นอยู่แออัดและทรุดโทรม อาจไม่เหมาะกับการอยู่ใกล้หอชมเมือง จึงวอนขอให้รัฐบาล มูลนิธิหอชมเมืองกรุงเทพ เเละผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีมาตรการเยียวยาดูเเล เเละให้ความชัดเจนกับชาวบ้านในจุดนี้ด้วย

 

Source : prachachat

Previous articleเผยจุดเชื่อมต่อรถไฟสายสีม่วง ผู้พักอาศัยคอนโดฯเตรียมเฮ
Next articlefarming-architecture สร้างสรรค์ผลงานออกแบบที่แสดงถึงวัฒนธรรมและความสวยงามของประเทศเกาหลีจากการใช้ ‘ฮันบก’