แม้ว่าสถาปนิกทั่วโลก รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจะมีมากมายจนนับไม่ถ้วนก็ตาม แต่เหล่าสถาปนิกแต่ละคนก็มักจะมีวัสดุที่ตนชื่นชอบในการออกแบบอย่างแน่นอน วันนี้ Builder News จึงนำเอาวัสดุที่น่าสนใจ ซึ่งคาดว่าจะเป็นวัสดุที่เหล่าสถาปนิกชื่นชอบและใช้เป็นประจำสำหรับออกแบบผลงานแต่ละชิ้น มาดูกันว่า วัสดุชิ้นใด จะนิยามความเป็นสถาปนิกระดับโลกของแต่ละคนได้บ้าง


Oscar Neimeyer + คอนกรีต

Oscar Neimeyer เห็นถึงความสวยงามและศักยภาพของคอนกรีตในการสร้างผลงานออกแบบ เขาเห็นว่าเมื่อนำคอนกรีตมาสร้างเป็นชิ้นงาน จะได้ผลงานที่ดูดีมาก ตัวอย่างเช่น การนำคอนกรีตมาสร้างเป็นโบสถ์ที่ชื่อ ‘Cathedral of Brasilia’ และ UN Headquarters ในนิวยอร์ก

Niemeyer และ Lúcio Costa มองว่าคอนกรีตเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของความทันสมัยในเมืองบราซิลเลีย เมืองหลวงใหม่ของประเทศบราซิล ในปี 1956 คอนกรีตนับว่าเป็นวัสดุคุณภาพดีชนิดหนึ่ง และในส่วนของพื้นเรียบสีขาวหน้าคอนกรีตยังใช้แสดงถึงความรักชาติได้อีกด้วย โดยจะเห็นได้ว่า Neimeyer ได้สร้างผลงานออกแบบจากคอนกรีตไว้มากมายเกินกว่าสถาปนิกท่านอื่น ไม่ว่าจะในยุคสมัยใดก็ตาม

คอนกรีต1 คอนกรีต2

Alvar Aalto + อิฐ

ในฐานะดีไซเนอร์ ประติมากรและจิตรกร Alvar Aalto นับว่าเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่คนรุ่นหลังคนหนึ่งเลยก็ว่าได้ เขาเป็นผู้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งอาคารของเขาเอง ตั้งแต่การออกแบบเครื่องแก้ว ไปจนถึงโคมไฟ ผลงานของ Aalto เกิดขึ้นจากความเข้าใจในภาพรวมของการออกแบบ ตั้งแต่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ในบรรดาโปรเจคต่าง ๆ ของเขานั้น มีการใช้อิฐเป็นวัสดุหลักมากที่สุด ตั้งแต่การสร้างบ้านตัวอย่างบนเกาะ Muuratsalo ประเทศฟินแลนด์ ไปจนถึงการสร้างส่วนหน้าอาคารของมหาวิทยาลัย Jyvaskyla โดยออกแบบให้อาคารมีทั้งมุมและส่วนโค้งที่สวยงาม

อิฐ1 อิฐ2

Zaha Hadid + Composite Fibres

การทดลองสร้างผลงานออกแบบของ Zaha Hadid มักจะใช้วัสดุใหม่ ๆ เพื่อแสดงถึงความซับซ้อนของรูปทรงเรขาคณิตในผลงานที่เธอครีเอทขึ้นเองผ่านเทคนิคการออกแบบ ที่เรียกว่า Parametric Design แม้ว่า Zaha Hadid จะทำให้คอนกรีตดูเหมือนอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว พื้นผิวอาคารในผลงานออกแบบของเธอจะทำจากวัสดุผสมหลากหลายประเภท อย่างไฟเบอร์กลาส เป็นต้น

ไฟเบอร์1 ไฟเบอร์2

Frank Gehry + โลหะ

แม้ว่า Frank Gehry จะมีชื่อเสียงจากการใช้ไทเทเนียมสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ในเมืองบิลบาโอ ประเทศสเปน แต่ก็ยังคงใช้โลหะในการสร้างอาคารอีกหลายแห่งด้วยเช่นกัน

โลหะ1 โลหะ2

Kengo Kuma + ไม้

เมื่อช่วงไม่กี่ปีก่อนหน้า บริษัทออกแบบของสถาปนิกชื่อดัง ‘Kengo Kuma’ ดีไซน์อาคารไม้สวย สะดุดตา ไม้แพ้ผลงานดีไซน์ชิ้นใดในโลก Cité des Arts et de la Culture ศูนย์วัฒนธรรมและศิลปะในประเทศฝรั่งเศส ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาคารไม้ด้านหน้าสามารถเปลี่ยนให้มุมมองภายในอาคารแตกต่างไปจากเดิมได้ นอกจากนี้ Kuma ยังสามารถเปลี่ยนให้วัสดุที่แข็งแรง และมีน้ำหนักมาก ดูเป็นวัสดุน้ำหนักเบาได้ดีด้วยเช่นกัน

ไม้1 ไม้2

SANAA + กระจก

บริษัทสถาปนิก SANAA ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น โด่งดังด้านการใช้กระจกตกแต่งพื้นที่ว่างในอาคาร อย่างการสร้าง Louvre Lens ก็ใช้กระจก และเทคนิคเล็กน้อยในการทำให้กระจกกลายเป็นวัสดุที่เราสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนการออกแบบพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งใหม่ในนิวยอร์กนั้น ก็ใช้กระจก อโนไดซ์อะลูมิเนียม และกำแพงสีขาว มารวมกัน สร้างให้อาคารดูสว่าง และดูโปร่ง

กระจก1


Source: archdaily

Previous articleเปิดตลาดอุตสาหกรรมก่อสร้างสีเขียว ด้วยนวัตกรรมอิฐธรรมชาติจาก BioMason
Next articleสุดทึ่ง! กระดาษไม่กี่แผ่น ทำให้ดินรองรับน้ำหนักได้ถึง 100 ปอนด์
ณัฐธิกานต์ อัจฉริยบดี
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านงานออกแบบ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม