คราวที่แล้วเรานำเสนอเรื่องผลิตภ้ณฑ์สร้างบ้านกับดีไซเนอร์ระดับโลกไปแล้ว คราวนี้เราข้ามมาฝั่งของสถาปนิกชื่อดังกับวัสดุที่น่าสนใจกันบ้าง

ถ้าพูดถึงนักสถาปนิกระดับโลกที่คุณรู้จักขึ้นมาหนึ่งชื่อ คนแรกที่เราทุกคนต้องนึกถึงคือ Frank Lloyd Wright สถาปนิกคนสำคัญคนหนึ่งของโลกในศตวรรษที่ 20 อย่างแน่นอน เพราะเขามีทั้งเรื่องราวชีวิตและผลงานทางสถาปัตยกรรมจำนวนช่วงอายุขัยถึง 362 ชิ้น และประมาณการว่ายังคงอยู่ในปัจจุบัน (ปี 2005) ประมาณ 300 ชิ้น เป็นเครื่องยืนยันความสามารถ ยิ่งบางชิ้นสะท้อนให้เห็นความก้าวไกลของแนวคิดที่น่าสนใจ ซึ่งได้รับความนิยมและเป็นความคิดกระแสหลักของสถาปัตยกรรมสมัยนี้อย่าง Prairie Houses ที่แปลว่า อาคารคือสิ่งมีชีวิตที่งอกขึ้นจากผืนดิน สิ่งปลูกสร้างที่ไม่เป็นปฏิปักษ์กับสภาพแวดล้อม

“The good building is not one that hurts the landscape, but one which makes the landscape more beautiful than it was before the building was built.” – Frank Lloyd Wright

ความอมตะของผลงานและชื่อเสียงเกิดขึ้นจากจิตวิญญาณในผลงาน ความกล้าริเริ่มฉีกกรอบความคิดและลงมือทำในสิ่งที่แตกต่างจากสถาปนิกยุคเดียวกัน ซึ่งขณะนั้นทุกคนเน้นรูปแบบการสร้างที่หรูหราฟุ่มเฟือย การใช้วอลเปเปอร์ลวดลายวิจิตร ขณะที่เขาใช้วัสดุธรรมชาติ ออกแบบรูปทรงให้กลมกลืน แต่ความสมถะของวัสดุก็ควบคู่มากับความพิถีพิถันและใส่ใจจึงสร้างความโดดเด่นให้ผลงานมานับ 100 ปี

ชีวิตสถาปนิกอเมริกันนอกรั้วสถาบัน

Frank Lloyd Wright เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2410 ที่เมือง Richland Center รัฐ Wisconsin ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าศึกษาในสาขาวิศวกรรมโยธาที่มหาวิทยาลัย Wisconsin แต่ค้นพบว่าตัวเองชื่นชอบงานสถาปัตยกรรมมากกว่า ระหว่างทำงานให้กับคณบดีคณะวิศวกรรม และช่วยงานสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่าง Joseph Silsbee ในการก่อสร้าง Unity Chapel เพื่อแลกกับค่าใช้จ่ายมาจุนเจือค่าเล่าเรียนและครอบครัว เพราะระหว่างนั้นพ่อแม่ของเขาหย่าร้างกัน

Unity Chapel

หลังจากทำงานเป็นผู้ช่วย 2 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยที่ดูแลการตกแต่งภายในทั้งหมดของ Unity Chapel เริ่มเห็นวิถีสถาปนิกเด่นชัดขึ้น จึงตัดสินใจลาออกจากคณะวิศวะฯ เพื่อไปทำงานด้านสถาปัตยกรรมอย่างเต็มตัวทั้งที่เรียนไม่จบ เนื่องจากต้องการตาม Joseph Silsbee ไปทำงานที่ Chicago

ความตั้งใจจริงและความชื่นชอบที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา เด็กหนุ่มที่เรียนรู้สถาปัตย์นอกห้องเรียนที่ทำงานให้ Silisbee เพียงปีเดียวก็ได้ไปฝึกงานต่อที่ Adler and Sullivan และทำงานกับ ‘Louis Sullivan’ สำนักงานสถาปนิกชื่อดังในยุคนั้น และสถานที่แห่งนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นในเส้นทางอาชีพสถาปนิกอย่างแท้จริง

Fallingwater ตัวอย่างหนึ่งในผลงานมาสเตอร์พีซของ Wright  Credit photo: http://www.midcenturyhome.com/frank-lloyd-wright-fallingwater/

อิทธิพลของสถาปัตยกรรมสร้างที่ไม่ทำร้ายกัน

อิทธิพลทางความคิดของ Wright เชื่อได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากการหล่อหลอมผ่านการอบรมเลี้ยงดูทางครอบครัว และความเชื่อทางศาสนาที่นับถืออย่างลัทธิ Unitarianism แม่ของเขารักและศรัทธาในธรรมชาติ สิ่งละอันพันละน้อยในฐานะแม่บ้านที่เธอประดิษฐ์ขึ้นแฝงแนวคิดบางอย่างจนเขาซึมซับมา ทั้งการทำผ้าม่านทอมือด้วยตัวเองที่ปล่อยรอยพับต่าง ๆ ให้ทิ้งตัวตามธรรมชาติแทนที่จะชื่นชมผ้าม่านจับจีบที่เป็นที่นิยมในยุคนั้น หรือการตกแต่งห้องด้วยดอกไม้ เธอจะเลือกสรรแจกันใสไร้ลวดลายที่โชว์กิ่งก้านมากกว่า จริตจก้านตามสมัยนิยมจึงไม่ใช่สิ่งที่ครอบครัวเธอดำเนินรอยตาม แต่ความงดงามจากภายใน งดงามอย่างธรรมดา ต่างหากคือสิ่งที่ต้องยึดถือไว้ถึงรากฐานทางจิตวิญญาณ

Ennis House นวัตกรรมวัสดุ Textile block ของ Wright

จากแนวคิดของการสร้างบ้าน Wright ลงลึกถึงระดับวัสดุ ซึ่งหนึ่งในวัสดุที่เรียกได้ว่าเป็นตำนานการตกแต่งที่ต้องจดจำของเขาคือ Textile block บล็อกคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีการเสริมแรงแผงร้อนการใช้เครื่องปรับอากาศแสงกระจายซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เขาคิดค้นขึ้น นำมาทำเป็นโครงสร้างและผนังหลังของบ้าน โดยผลงานที่เราขอนำมาพูดถึงเพื่อยกตัวอย่างคือ Ennis House บ้านที่กล่าวกันว่าเป็นบ้านหลังที่ดีและใหญ่ที่สุดในบรรดา Textile block ทั้งหมดที่เขาสร้าง แต่นอกจากความสวยงามเขายังมีประวัติขัดแย้งกับเจ้าของบ้านที่จ้างมาทำงานด้วย ทำให้ไม่สามารถอยู่เป็นสถาปนิกได้จนสำเร็จ (เจ้าของจ้างสถาปนิกอื่นมาเลียนแบบงานเขาแล้วต่องานจนบ้านสมบูรณ์)

Credit Photo: Flickr by geek_love13 ennis house

Textile block ที่ Wright นำมาใช้เป็นวัสดุ สร้างขึ้นจากหินและดินโดยได้แรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมของชาวมายาทำให้ผลงานออกมาเป็นเอกลักษณ์ น่าสนใจ กรีนแต่ไม่ต้องผ่านการประดิษฐ์จนเกินจริต ทว่าด้วยเทคโนโลยีในยุคนั้นผลงานชิ้นนี้แม้จะทรงคุณค่าแต่ก็มีจุดบอดมหาศาลเรื่องความทนทาน เพราะพอเผชิญสภาพอากาศแล้วเจอปัญหาทั้งเรื่องน้ำซึมและลมฝนกัดกร่อนจนได้รับความเสียหาย ซึ่งด้วยความรู้ที่มีในตอนนั้น เขาใช้วิธีซ่อมแซมมันด้วยสีและน้ำยากันซึม แต่ผลกลับเลวร้ายกว่าเดิมเพราะน้ำก็ซึมเหมือนเดิมแต่ดันระเหยออกมาไม่ได้ทำลายความแข็งแรงของเหล็กเส้นที่วางตามแนวคอนกรีตจนค่าบูรณะวันนี้อาจจะแพงกว่าตัวบ้านเสียอีก

ถึงแม้ว่านวัตกรรมวัสดุของสถาปนิกอย่าง Wright อาจจะไม่ประสบความเร็จในช่วงที่เขาคิดค้น แต่ก็ถือเป็นการบุกเบิกความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในวงการวัสดุก่อสร้าง และเป็นต้นแบบของแนวคิดทางสถาปัตยกรรมที่ยุคนี้ให้ความสำคัญมากขึ้น ทั้งโครงการต่าง ๆ ในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับต้นไม้ใหญ่เดิมที่เป็นเจ้าของพื้นที่แทนการโค่นทำลาย ต่อเนื่องไปจนถึงการก่อสร้างที่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ที่เราอยู่

เราคงไม่อาจพูดว่าสถาปนิกทุกคนจะต้องนำแนวคิดแบบ Wright ไปใช้ก่อสร้าง แต่แค่ต้องการให้เห็นความหลากหลายและสร้างสรรค์ในวงการนี้เท่านั้น สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักสถาปนิกระดับโลก เราหวังว่า “Frank Lloyd Wright” จะเป็นหนึ่งในลิสต์เพื่อพูดคุยและจดจำ

 

ที่มา :

http://ravendesignnews.com/famous-peeps/story-1/

https://ekskort.ru/th/styles/wrights-house-is-a-robbie-houses-of-prairies-f/

http://gotarch.com/blog/?p=819

Previous articleประชันดีไซน์สุขภัณฑ์ โดยดีไซเนอร์ระดับโลก
Next articleจากไร่มันฝรั่งสู่ Co-Living Complex โดยนักออกแบบชาวดัตช์