Sheng-Hung Lee นักออกแบบชาวไต้หวัน บรรเจิดไอเดียคิดค้น TetraPOT คอนกรีตแบริเออร์ป้องกันคลื่นตามแนวชายฝั่งรูปแบบใหม่ โดยเจาะรูกลวงไว้ที่แกนกลางแท่นคอนกรีต พร้อมนำเมล็ดพันธ์โกงกางไปเพาะปลูกไว้ในช่อง เมื่อต้นโกงกางโตจะแผ่รากออกมาเป็นแผงเชื่อมกันเป็นแนว ซึ่งนับว่าเป็นการผสมผสานวัสดุสังเคราะห์กับระบบนิเวศทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการกัดเซาะตามชายฝั่งอย่างลงตัว

ในปัจจุบันนี้หลายประเทศต่างป้องกันแรงคลื่นกัดเซาะตามชายฝั่งด้วยการใช้ tetrapod ซึ่งเป็นคอนกรีตรูปทรงคล้ายตัวต่อ นำมาวางเรียงกัน โดยสามารถลดแรงคลื่นได้ในระดับหนึ่ง แต่กระนั้น tetrapod ยังนับว่าเป็นวัสดุที่ไม่ยั่งยืนและส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง ด้วยเหตุนี้ Sheng-Hung Lee นักออกแบบชาวใต้หวันจึงได้คิดค้นสร้าง TetraPOT โดยนำรูปแบบของ tetrapod เดิมมาปรับปรุงใหม่พร้อมผสมผสานกับแนวคิดปลูกพืชตามป่าชายเลนเข้าไป ส่งผลให้มีประสิทธิภาพป้องกันแนวชายฝั่งและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปในตัว

TetraPOT-by-Sheng-Hung-Lee-2-1020x610

ลักษณะรูปแบบของ TetraPOT นั้น จะคล้ายคลึงกับ tetrapod เดิมที่มีสี่ง่าม แต่จะแตกต่างตรงที่มีการเจาะแกนกลางเป็นรูกลวง สำหรับนำเมล็ดพันธุ์โกงกางไปเพาะปลูกไว้ด้านใน และเมื่อนำไปวางเรียงตามชายฝั่ง ต้นโกงกางก็จะเจริญเติบโตแตกแขนงรากออกมาตามช่องที่เจาะไว้ กลายเป็นแนวชายฝั่งป่าโกงกาง ทำให้เป็นการป้องกันคลื่นกัดเซาะตามขอบชายฝั่งประกอบกับปลูกป่าโกงกางได้ในคราวเดียวกัน อีกทั้งรากของโกงกางยังมีคุณสมบัติช่วยกรองสารพิษในนำทะเลอีกด้วย จึงเรียกได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มอบประโยชน์ด้านโครงสร้างและธรรมชาติอย่างแท้จริง

Sheng-Hung Lee ผู้ออกแบบได้ร่างแนวคิดให้ TetraPOT เป็นนวัตกรรมที่สามารถป้องกันแนวชายฝั่งทะเลได้โดยรวมความเป็นธรรมชาติผสมผสานกับวัสดุสังเคราะห์ไว้ด้วยกัน ภายใต้สโลแกนออกแบบ “การป้องกันชายฝั่ง พร้อมเป็นบ้านให้กับสิ่งมีชีวิตตามระบบนิเวศ” โดยจะเป็นการสร้างป่าชายเลนให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้งหลังจากมีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไปแล้วกว่า 35 % ทั่วโลก ทั้งนี้ภายในรูที่เจาะไว้ใน TetraPOT จะเป็นช่องขนาดเล็กสำหรับใส่พ็อตดินและปุ๋ย เมื่อกระแสน้ำเพิ่มสูงขึ้นเมล็ดพันธ์โกงกางก็จะเติบโตแผ่รากฝอยออกมาผ่านช่องว่างภายใน

TetraPOT-by-Sheng-Hung-Lee-3-1020x610

เมื่อเวลาผ่านไปรากของต้นโกงกางก็จะขยายเชื่อมติดกันเป็นแผงยาวรวมกันหลายต้น ซึ่งช่วยป้องกันการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งด้วย นอกจากนี้แนวฝั่งป่าโกงกางยังเป็นระบบนิเวศตามธรรมชาติที่จะดึงดูดสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์เข้ามาอาศัย ยกระดับอากาศและคุณภาพน้ำให้ดียิ่งขึ้น ด้วยคุณประโยชน์อันมหาศาลทำให้ทาง Sheng-Hung Lee ได้ร่วมกับภาครัฐท้องถิ่นดำเนินการทดสอบใช้งาน TetraPOT บ้างแล้วบนเกาะ Chongming ใกล้กับนครเซี่ยงไฮ้

TetraPOT-by-Sheng-Hung-Lee-4-1020x610 TetraPOT-by-Sheng-Hung-Lee-5-1020x610 TetraPOT-by-Sheng-Hung-Lee-8-1020x610 TetraPOT-by-Sheng-Hung-Lee-9-1020x610 TetraPOT-by-Sheng-Hung-Lee-10-1020x610

Source : inhabitat

Previous articleเจ.เอส.พี. ปรับโฉม เตรียมส่ง ‘J ID’ มาตรฐานของบ้านชาญฉลาด การันตีทุกหลังคุ้มค่า ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัย
Next articleGlasshouse @ Sindhorn – ‘OFFICE AT’ รางวัล จากความรักในการทำงาน (ตอนที่ 2)
วีรศักดิ์ ประสพบุญ
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยปฏิบัติงานเป็นนักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านรถเพื่อการพาณิชย์ การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม