เมื่อตอนที่แล้วผมได้เขียนถึงหน้าร้อนที่ผ่านมาที่ถือว่าโหดมาก และส่วนหนึ่งก็เพราะเราสร้างพื้นผิวคอนกรีตในเมืองไว้มาก ซึ่งพื้นผิวเหล่านี้เป็นตัวการในการทำให้อากาศในเมืองที่ร้อนอยู่แล้วยิ่งร้อนมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะวัสดุจะดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ และจะปล่อยออกมาเมื่อสะสมไว้ระดับหนึ่งรวมกันทั้งเมืองก็ทำให้เมืองร้อนไปหมดนั่นเอง

ผมจึงได้เสนอไปว่าน่าจะมีการเว้นที่ว่างบางส่วนของโครงการที่ไม่ได้ใช้ เว้นไว้ปลูกต้นไม้หรือปลูกหญ้าบ้าง เหลือเป็นพื้นดินธรรมชาติที่ความชื้นสามารถระเหยขึ้นมา ซึ่งนั่นจะช่วยลดความร้อนบนผิวปูนได้บ้าง แต่หลายๆ พื้นที่ก็ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ ด้วยการที่ที่ดินมีราคาสูงมากทำให้การลงทุนจะต้องคุ้มค่าที่สุด นักวางผังโครงการที่เก่งคงไม่วางให้เหลือเศษเป็นที่ว่างที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเป็นแน่ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่สามารถมีส่วนช่วยในการลดความร้อนของเมืองได้ สิ่งที่ต้องทำก็คืออาศัยการศึกษาและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วย และสุดท้ายก็คือสำนึกว่าโครงการควรมีส่วนช่วยสังคมให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีด้วย

2

Cool pavement หรือขอเรียกว่าพื้นเย็น เป็นหนึ่งในคำรวม ๆ ของกลุ่มเทคโนโลยีที่ถูกสร้างมาเพื่อลดการปลดปล่อยความร้อนจากพื้น โดยเฉพาะพื้นคอนกรีตหรือพื้นลาดยางมะตอย (Asphalt) ซึ่งผมขอยกตัวอย่างของเทคโนโลยีนี้สัก 2-3 อย่าง เผื่อท่านผู้อ่านที่มีความต้องการสำหรับงานออกแบบหรือโครงการก่อสร้างของท่านจะลองหามาใช้กันนะครับ
อย่างแรกที่จะแนะนำคือ ผลิตภัณฑ์ในลักษณะ Pervious Concrete หรือคอนกรีตที่ให้น้ำซึมผ่านได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างในประเทศไทยได้ทำตลาดผลิตภัณฑ์นี้อยู่แล้ว อาทิ คอนกรีตน้ำซึมผ่านได้จากปูนตราอินทรี คอนกรีตพรุนซีแพคของเอสซีจีที่เป็นวัสดุหล่อในที่ รวมถึงผลิตภัณฑ์บล็อกปูพื้นเอสซีจี

รุ่นที่น้ำสามารถซึมเข้าไปในผิวของบล็อกคอนกรีตได้ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็มีหลักการคล้ายกัน คือการที่น้ำหรือความชื้นสามารถผ่านเนื้อคอนกรีตของพื้นได้ และเมื่อพื้นคอนกรีตที่น้ำซึมผ่านได้โดนแสงแดด น้ำที่อยู่ใต้พื้นหรือน้ำที่ถูกเก็บไว้ก็จะระเหยขึ้นมาเป็นไอ ส่งผลให้อุณหภูมิบริเวณที่ปูพื้นลดลง

1

สำหรับทางเดินเท้าทั่วไป แทนที่จะใช้คอนกรีตเทพื้นก็ลองเปลี่ยนมาใช้ผิวที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ ได้แก่ Eco Resin Bound Surfacing ซึ่งเป็นเม็ดเรซิ่นหรือพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีความทนทานสูง ผลิตมาเป็นเม็ดใช้แทนเม็ดหินคลุกสำหรับการปูพื้นในแบบเดียวกับยางมะตอย แต่ข้อเด่นของเทคโนโลยีนี้ก็คือการที่พื้น Eco Resin Bound Surfacing นั้นมีช่องว่างเล็ก ๆ ให้น้ำสามารถซึมผ่านได้ จึงทำให้เหมาะกับเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝนให้ซึมผ่านลงดินได้ ทำให้รากต้นไม้ยังมีอากาศเพื่อหายใจได้ และทำให้พื้นผิวด้านบนเย็นลงได้ด้วยการระเหยของน้ำที่อยู่ใต้ดินนั่นเอง นอกจากนี้เทคโนโลยีการผลิตเม็ดเรซิ่นทำให้เรามีพื้นสีต่าง ๆ ได้มากกว่าแค่สีเทาและสีดำ สามารถสร้างงานออกแบบทางเดินที่แตกต่างได้

อีกเทคโนโลยีที่น่าสนใจก็คือการใช้สีทาลงบนพื้นถนนเพื่อสะท้อนความร้อนนั่นเอง เทคโนโลยีนี้ก็เหมือนกับแนวคิดของการทำให้หลังคาหรือพื้นที่ของอาคารที่โดนแสงแดดลดการสะสมความร้อน ด้วยการใช้สีและสารเคมีจำพวก
Titanium Dioxide ที่มีสมบัติสะท้อนคลื่นอินฟราเรด อันเป็นส่วนประกอบของแสงแดดที่นำพลังงานมาสู่พื้นผิวนั้น ดังที่เห็นในผลิตภัณฑ์หลังคา สีทาบ้าน หรือสีดาดฟ้าประเภทที่ช่วยให้บ้านเย็นนั่นเอง

Lawrence Berkeley National Laboratory หรือ Berkeley Lab ในสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดลองนำเอาสีแบบต่างๆ มาทาบนพื้นถนนยางมะตอยและเปรียบเทียบกับผิวถนนแบบปกติ เพื่อศึกษาผลของสีต่อการสะท้อนความร้อน พบว่าสีที่ทาบนพื้นสามารถสะท้อนพลังงานความร้อนจากแสงแดดได้ตั้งแต่ 30-50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงมาก
เมื่อเทียบกับการสะท้อนพลังงานความร้อนของ

3


นิตยสาร Builder Vol.34 AUGUST 2016

Previous articleการใช้ หลอดไฟ LED ในโครงการอาคารเขียว
Next articleEco Expo Asia 2016 กับแนวคิด “โซลูชั่นส์สีเขียวเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ”
ดร.อรช กระแสอินทร์
นักเขียนนิตยสาร Builder สำเร็จการศึกษาด้านการออกแบบ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์