สถาบันออกแบบและก่อสร้างเชิงคอมพิวเตอร์ (ICD) ร่วมกับสถาบันโครงสร้างอาคารและการออกแบบโครงสร้าง(ITKE) จากมหาวิทยาลัยสตุ๊ดการ์ต ประเทศเยอรมนี ออกแบบและสร้างสรรค์พาวิลเวียนด้วยไฟเบอร์คอมโพสิทชั้นสูง ในสวนที่เมือง Heilbronn ซึ่งเป็นการรวมเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์กับหลักการก่อสร้างเชิงธรรมชาติเข้าด้วยกัน

BUGA Fibre Pavilion ถูกสร้างโดยการวิจัยด้านสถาปัตยกรรมเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งโครงสร้างรับน้ำหนักถูกสร้างด้วยหุ่นยนต์ และใช้เพียงไฟเบอร์คอมโพสิทชั้นสูงเท่านั้น ผลที่ได้นอกจากจะเป็นเรื่องของน้ำหนักที่เบาแล้ว ยังช่วยเสริมความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางสถาปัตยกรรมอีกด้วย

ทีมออกแบบให้ข้อมูลว่าในทางชีววิทยาโครงสร้างที่รับน้ำหนักได้มากที่สุดคือไฟเบอร์คอมโพสิท ซึ่งตัวอย่างของพาวิลเลียนนี้เกิดจากองค์ประกอบของเซลลูโลส, ไคทินหรือโปรตีนคอลลาเจน และวัสดุเนื้อหลัก ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติร่วมกัน โดยทีมออกแบบหวังให้พาวิลเลียนนี้ถ่ายทอดหลักการทางชีววิทยาด้านระบบไฟเบอร์คอมโพสิทให้กับงานสถาปัตยกรรมต่อไป

เนื้อหาและที่มาจาก: https://www.designboom.com/architecture/buga-fibre-pavilion-robotically-produced-fiber-composites-icd-itke-stuttgart-04-17-2019/

Previous articleChiharu Shiota โชว์ศิลปะจัดวาง “Beyond Memory” ที่เบอร์ลิน
Next articleARTchitecture ศิลปะแห่งสีสันของสถาปัตยกรรมในโลกแห่งความจริง