วันนี้ BuilderNews สรุปอัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะการใช้งานที่ต่างกันออกไป

  1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมจัดเก็บ 0.01 – 0.1 % – เพดาน 0.15 %
  2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยจัดเก็บ 02 – 0.1 % – เพดาน 0.30 %
    2.1 เจ้าของจัดเก็บ 0.03 – 0.1%
    2.2 เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยจัดเก็บ 0.02 – 0.1 %
    2.3 ใช้ประโยชน์นอกเหนือ 2.1 และ 2.2 จัดเก็บ 0.02 – 0.1 %
  3. ที่ดินอื่น ๆ เช่น การพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม จัดเก็บ 3 – 0.7 % เพดาน 1.20 %
  4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์จัดเก็บ 3 – 0.7 % เพดาน 3 %
    (หากไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ 3 ปีติดต่อกัน อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก ๆ 3 ปี รวมสูงสุดไม่เกิน 3 %)

ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากมีที่ดิน 1 ล้านบาทที่คำนวณจากเพดานภาษี

  • เสียภาษี “ที่ดินเกษตรกรรม 0.15 %” เท่ากับ 1,500 บาท
  • เสียภาษี “ที่อยู่อาศัย 0.30 %” เท่ากับ 3,000 บาท
  • เสียภาษี “ที่ดินรกร้างว่างเปล่า 00%” เท่ากับ 30,000 บาท

จะเห็นได้ว่า การเสียภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าต้องจ่ายมากกว่าที่ดินเกษตรกรรมถึง 20 เท่า หลายคนที่มีที่ดินจำนวนมากจึงเริ่มหันมาปลูกผัก ผลไม้กันมากขึ้น

ซึ่งการปลูกผักผลไม้นั้น ในประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า “การประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจ แบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสมที่มีชนิดพืชดังต่อไปนี้จะต้องประกอบการเกษตร ให้ได้อัตราขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ จึงจะถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรม”

1.กล้วยหอม 200 ต้น/ไร่ 2.กล้วยไข่ 200 ต้น/ไร่ 3.กล้วยน้ำว้า 200 ต้น/ไร่ 4.กระท้อนเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่ พันธุ์ทับทิม 25 ต้น/ไร่ พันธุ์ปุยฝ้าย 25 ต้น/ไร่ 5.กาแฟ 170 ต้น/ไร่ พันธุ์โรบัสต้า 170 ต้น/ไร่ พันธุ์อราบิก้า 533 ต้น/ไร่ 6.กานพลู 20 ต้น/ไร่ 7.กระวาน 100 ต้น/ไร่

8.โกโก้ 150-170 ต้น/ไร่ 9.ขนุน 25 ต้น/ไร่ 10.เงาะ 20 ต้น/ไร่ 11.จำปาดะ 25 ต้น/ไร่ 12.จันทร์เทศ 25 ต้น/ไร่ 13.ชมพู่ 45 ต้น/ไร่ 14.ทุเรียน 20 ต้น/ไร่ 15.ท้อ 45 ต้น/ไร่ 16.น้อยหน่า 170 ต้น/ไร่ 17.นุ่น 25 ต้น/ไร่ 18.บ๊วย 45 ต้น/ไร่ 19.ปาล์มน้ำมัน 22 ต้น/ไร่ 20.ฝรั่ง 45 ต้น/ไร่ 21.พุทรา 80 ต้น/ไร่

22.แพสชั่นฟรุ๊ต 400 ต้น/ไร่ 23.พริกไทย 400 ต้น/ไร่ 24.พลู 100 ต้น/ไร่ 25.มะม่วง 20 ต้น/ไร่ 26.มะพร้าวแก่ 20 ต้น/ไร่ 27.มะพร้าวอ่อน 20 ต้น/ไร่  28.มะม่วงหิมพานต์ 45 ต้น/ไร่ 29.มะละกอ (ยกร่อง) 100 ต้น/ไร่ (ไม่ยกร่อง) 175 ต้น/ไร่ 30.มะนาว 50 ต้น/ไร่ 31.มะปราง 25 ต้น/ไร่ 32.มะขามเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่ 33.มะขามหวาน 25 ต้น/ไร่ 34.มังคุด 16 ต้น/ไร่

35.ยางพารา 80 ต้น/ไร่ 36.ลิ้นจี่ 20 ต้น/ไร่ 37.ลำไย 20 ต้น/ไร่ 38.ละมุด 45 ต้น/ไร่ 39.ลางสาด 45 ต้น/ไร่ 40.ลองกอง 45 ต้น/ไร่ 41.ส้มโอ 45 ต้น/ไร่ 42.ส้มโอเกลี้ยง 45 ต้น/ไร่ 43.ส้มตรา 45 ต้น/ไร่ 44.ส้มเขียวหวาน 45 ต้น/ไร่ 45.ส้มจุก 45 ต้น/ไร่ 46.สตรอเบอรี่ 10,000 ต้น/ไร่ 47.สาลี่ 45 ต้น/ไร่ 48.สะตอ 25 ต้น/ไร่ 49.หน่อไม้ไผ่ตง 25 ต้น/ไร่ 50.หมาก (ยกร่อง) 100-170 ต้น/ไร่ และ 51. พืชกลุ่มให้เนื้อไม้ 100 ต้น/ไร่

Previous articleน้ำท่วมแก้ไม่หาย!
ปัญหาที่ท้าทายของผู้ว่าฯ กทม.
Next articleความสงบเย็นที่แท้คืออะไร? “คอตโต้” เปิดตัว QUIL คอลเลกชันระดับพรีเมียมภายใต้ 4 องค์ประกอบหลักจากคอนเซปต์ “The Wholeness of Tranquility”
เจตน์สฤษฏิ์ อ้องแสนคำ
Content Writer ผู้คลั่งไคล้การเสพหนัง, แคมป์ปิ้ง และอ่านหนังสือ ที่ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง จึงเข้าสู่วงการสถาปัตยกรรมเพื่อศึกษาและค้นหาแรงบันดาลใจ