พื้นเป็นส่วนประกอบภายในอาคารที่ถูกใช้งานอย่างหนักในแต่ละวัน ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุปูพื้นที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ พรมก็เป็นวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ปูพื้นกันอย่างมาก เพราะมีลวดลายที่สวยงาม นุ่มสบายเท้า และสร้างบรรยากาศให้พื้นภายในอาคารดูนุ่มนวลและหรูหรา แต่คุณสมบัติของพรมก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ โดยเฉพาะการดูแลระหว่างใช้งานซึ่งต้องมีความระมัดระวังสูง เนื่องจากเกิดคราบสกปรกและรอยเปื้อนได้ง่าย

หากใครเคยประสบปัญหาเหล่านี้ เช่น ทำเครื่องดื่มหกลงบนพื้นพรมจนเกิดเป็นคราบรอยด่าง หรือเกิดรอยเปื้อนจากคราบฝุ่นและดินโคลนที่ติดจากรองเท้ามาเปื้อนบนพื้นพรม จนเกิดเป็นการสะสมของเชื้อโรคที่หมักหมมอยู่บนพรมก่อให้เกิดผลเสียและเป็นที่มาของการเกิดโรคภูมิแพ้ได้ คงจะเข้าใจดีว่าการใช้งานพรมปูพื้นต้องการการดูแลรักษาอย่างระมัดระวังค่อนข้างมาก และการทำความสะอาดพรมนั้นก็ค่อนข้างมีราคาที่สูงเสียด้วย แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วยเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ ‘Flotex’ ที่จะตอบสนองการใช้งานและสุขอนามัยที่ดีให้กับทุกคน เพื่อใช้ทดแทนพรมในแบบเดิม ๆ

โดย ‘Flotex’ เป็นพื้นไนล่อนเพื่อสุขภาพสำหรับการตกแต่งพื้นภายในอาคาร ที่ช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตในประเทศอังกฤษ มีให้เลือกทั้งแบบม้วนและแบบแผ่นที่มีคุณสมบัติพิเศษของวัสดุ ดังนี้
• ผลิตจากไนลอน 6.6 100% จึงมีความทนทานสูง
• ทอด้วยระบบ Electrostatic Flocking ทำให้เส้นใยมีความหนาแน่นถึง 80 ล้านเส้นต่อตารางเมตร
• ทนต่อการขูดขีดต่างๆ โดยที่เส้นใยไม่หลุดร่วงง่าย
• เส้นใยเคลือบสาร Sanitize ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท Sanitize AG ประเทศเยอรมัน อันเป็นสารที่สามารถป้องกันการก่อตัวของเชื้อรา แบคทีเรีย และเชื้อโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้ปลอดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคตลอดอายุการใช้งาน
• มีหลากสีหลายลายให้เลือก

อีกทั้งยังผ่านมาตรฐานการรับรองในระดับสากล อาทิ
•มาตรฐานการทดสอบเรื่องการทนไฟ ตามมาตรฐาน EN 13501: Bfl-s1 ซึ่งมีอัตราการลามไฟต่ำ
•มาตรฐาน EN 685 33 Commercial Heavy เหมาะกับการใช้สอยในพื้นที่ประเภทอาคารพาณิชย์ที่มีการสัญจรสูง
•การทดสอบการลื่นไถล โดยผ่านมาตรฐาน UK Pendulum Test: Dry-very low slip risk และ Wet-low slip risk และ EN 13893: DS: ≥ 0.30
•มาตรฐานการทนต่อการสึกกร่อน EN 1307 annex F: > 1000 cycles
•มาตรฐานความทนทานต่อการใช้งานล้อเลื่อน (Castor chair) EN 985: r ≥ 2.4 continuous use
•การขยายตัวของแผ่น ตามมาตรฐาน ISO 2551/EN 986 โดยมีค่าน้อยกว่า 0.2%
•การซีดจางของสี ตามมาตรฐาน EN-ISO 105-B02 โดยมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 6
•ค่าการระเหยของสารอินทรีย์วัตถุต่ำ (Low VOC)
•ความสามารถในการดูดซับเสียง ตามมาตรฐาน ISO 354: Sound absorption = 0.10
•ความสามารถในการลดเสียงดังที่เกิดจากการกระแทก ตามมาตรฐาน EN-ISO 717-2: Impact sound Δlw = 19 dB
•ไม่ซับน้ำ ตามมาตรฐาน EN 1307 annex G: Pass

ทั้งนี้จึงเหมาะกับการใช้ŒงานภายในบŒ้านพักอาศัย สำนักงาน โรงแรม สนามบิน หรือแม้Œแต่ภายในห้องพักผู้Œป่†วย เนื่องจากป‡้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ดี อีกทั้งยังมีลวดลายและสีสันให้Œเลือกมากมายตอบสนองทุกการออกแบบได้Œ โดยมีทั้งแบบชนิดแผ่‹น Tile ขนาด 50 x 50 เซนติเมตร และแบบชนิดม้วน Sheet ขนาด 2 x 30 เมตร ให้เลือกใช้Œงานตามความเหมาะสมของพื้นที่อีกด้Œวย

ส่วนวิธีการติดตั้งพื้น ‘Flotex’ ก็สะดวกไม่ยุ‹่งยาก ซึ่งคล้าย ๆ กับการติดตั้งกระเบื้องยางทั่วไป คือ ต้องทำการเตรียมพื้นที่หน้างานให้เรียบและสะอาด หากพื้นหน้างานไม่เรียบต้องมีการทำ Self-Leveling เพื่อปรับระดับใหŒ้เรียบเสมอกันก่‹อน จากนั้นจึงทำการติดตั้งโดยการทากาวและวางเชื่อมต่‹อแผ่‹นแบบชนชิด ทังนี้เมื่อปูพื้นเสร็จแล้Œวควรทิ้งเอาไว้Œ 1 วัน ก่‹อนเข้ŒาใชŒ้งาน เพื่อการยึดตัวได้Œดีของวัสดุตกแต่‹งและพื้นอาคาร ในการดูแลและทำความสะอาดก็สามารถทำได้Œโดยง‹่าย สามารถกวาดและดูดฝุ†น หรือจะใชŒ้น้ำเช็ดทำความสะอาดคราบเปื้„œอนออกŒก็ได้ เนื่องจากตัวเส้นใยและ
Backing ของพื้น ‘Flotex’ มีคุณสมบัติในการกันน้ำและต้Œานทานสิ่งสกปรกได้Œดีด้Œวย

หากใครที่มองหาวัสดุทางเลือกเพื่อใชŒ้ทดแทนพรมเสŒ้นใยทั่วไปแลŒ้ว ‘Flotex’ จึงเปš็นอีกหนึ่งทางเลือก เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีความคงทนสูง เสŒ้นใยไม‹่หลุดร‹วงง‹ายแมŒ้จะโดนขูดดŒวยวัตถุที่มีน้ำหนักมาก อีกทั้งเสŒ้นใยที่ได้ŒรับการเคลือบดŒ้วยสาร Sanitized สามารถยั้งยับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ŒตลอดอายุการใชŒ้งาน เปš็นเสŒนใยที่มีความหนาแน่‹นสูงทำให้Œสิ่งสกปรกไม‹่สามารถเข้Œาถึงชั้นในของตัวพื้นวัสดุ จึงต้Œานทานสิ่งปรกได้Œดี และทำความสะอาดไดŒ้ง่‹ายอีกดŒ้วย

3

 

นิตยสาร Builder Vol.35 SEPTEMBER 2016

Previous articleScaleo ผนังอาคารกันน้ำ แข็งแรง ทนทาน ไม่สึกกร่อน
Next articleHBA ลงนามความร่วมมือกับ JTA และ iforce จากญี่ปุ่น
Builder
กองบรรณาธิการนิตยสาร Builder - เดิมเคยเป็นหนังสือพิมพ์รายปักษ์ ภายใต้ชื่อ Builder News เผยแพร่เนื้อหาข่าวสารเกี่ยวกับวงการธุรกิจก่อสร้างมากว่า 10 ปี ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นนิตยสารรายเดือนในชื่อว่า Builder เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไปในยุคปัจจุบัน มุ่งนำเสนอเรื่องราวในวงการก่อสร้าง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง ตลอดจนความรู้เรื่องวัสดุอย่างครบวงจร