โดยปกติแล้ว “ไม้” เป็นวัสดุที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในแวดวงการก่อสร้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบทบาทส่วนใหญ่มักจะใช้ออกแบบตกแต่งภายในหรือก่อสร้างอาคารหลังเล็กๆ เท่านั้น จนกระทั้งได้มีการคิดค้นนวัตกรรมไม้แปรรูป ที่มีความแข็งแรงและสามารถทนต่อไฟได้มากกว่าเดิม ส่งผลให้เกิดการจุดประกายก่อสร้างอาคารไม้ที่มีขนาดและความสูงที่ทัดเทียมกับอาคารคอนกรีตทั่วไป วัสดุไม้แปรรูปจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ช่วยกระตุ้นตลาดวัสดุก่อสร้างให้เติบโตมากขึ้น

ขอนำทุกท่านข้ามทะเลไปยังโรงงานผลิตไม้เพื่อการก่อสร้างของบริษัท D.R. Johnson Wood Innovations ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับป่าสนดักลาสในเมือง ริดเดิล รัฐโอไรก้อน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยโรงงานแห่งนี้ได้มีการผลิตไม้แปรรูป Cross-Laminated timber หรือ CLT ซึ่งมีความแข็งแกร่งทนทานสูงมากกว่าไม้ทั่วไปและยังมีคุณสมบัติที่กันไฟได้เสมือนเหล็กหรือคอนกรีตเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ไม้ CLT จึงเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่น่าสนใจ และคาดว่าจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาอันใกล้นี้

บริษัท Johnson สร้างชื่อเสียงจากการผลิตแผ่นไม้ลามิเนตสู่ท้องตลาดมาเป็นเวลานานกว่า 50 ปี ซึ่งก็ฝากผลงานในแวดวงการก่อสร้างไว้อย่างมากมาย ด้วยประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญประกอบกับทัศนวิสัยของคุณValerie Johnson ผู้เป็นเจ้าของบริษัท D.R. Johnson Wood Innovations ในยุคปัจจุบัน ได้เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของไม้แปรรูป CTL จึงทุ่มงบประมาณจัดซื้ออุปกรณ์เพื่อผลิตไม้ CTL สู่ท้องตลาดโดยเฉพาะ และในท้ายที่สุดก็ได้ประสบความสำเร็จ สามารถผลิตผนังและพื้นไม้ CTL มาใช้เบิกร่องกับโครงการอาคาร 4 ชั้น ใน Portland เป็นครั้งแรก รวมถึงยังมีการพัฒนากระบวนการผลิตให้รองรับกับโครงการก่อสร้างอาคารไม้อื่นๆ ในอนาคตอีกด้วย

Valerie Johnson เจ้าของกิจการ D.R. Johnson Wood Innovations เปิดเผยว่า “เราเล็งเห็นถึงประโยชน์อันมหาศาลของผลิตภัณฑ์ไม้ CTL สิ่งก่อสร้างทางวิศกรรมหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้ไม้เป็นโครงสร้างหลักมักเกิดขึ้นจากผลงานเราแทบทั้งสิ้น เนื่องจากในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตไม้เพียงไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถสร้างไม้ให้มีความทนทานสามารถใช้ในงานโครงสร้างขนาดใหญ่ได้ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างเลยทีเดียว

-1x-1 (1)

ในปัจจุบันนี้บริษัท D.R. Johnson Wood Innovations มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 125 คน โดยจะแบ่งทำงานทั้งในโรงเลื่อยและโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ บนพื้นที่ขนาด 13,000 ตารางฟุตเพื่อรองรับการการผลิตไม้ CTL โดยเฉพาะ และผลิตภัณฑ์ไม้ CTL ก็ได้รับความสนใจจากผู้รับเหมาะก่อสร้างเพิ่มขึ้น รวมถึงองค์กรวิศกรรมก่อสร้างด้วยวัสดุไม้ Engineered Wood Association ก็ได้รับรองคุณภาพไม้ CTL ของบริษัท Johnson อย่างเป็นทางการแล้วพร้อมกับบริษัทผู้ผลิตอีกสองแห่งในประเทศแคนาดา

ด้วยคุณลักษณะพิเศษของไม้ CTL ทำให้เหล่าสถาปนิกรวมถึงนักออกแบบก่อสร้างหันมาให้ความสนใจกันแพร่หลาย ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้สร้างสรรค์อาคารวัสดุไม้ได้หลากหลายประเภทรองรับกับความต้องการของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างมูลค่าเปิดตลาดวัสดุก่อสร้างประเภทไม้ให้เติบโตขึ้น และที่สำคัญคือเป็นการปฏิวัติวงการก่อสร้างให้สามารถสร้างอาคารไม้ที่มีความสูงหลายสิบชั้นได้เช่นเดียวกับกับอาคารคอนกรีตทั่วไป

ทั้งนี้ไม้ CLT และไม้แปรรูปอื่นๆ ได้เคยถูกบุกเบิกสำหรับการก่อสร้างมาแล้วในแถบยุโรปตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1990 เพื่อที่จะนำมาใช้แทนบล็อกคอนกรีตในการก่อสร้างบ้าน เนื่องจากคุณสมบัติของไม้มีการดูดซับคาร์บอนจากสภาพแวดล้อมโดยรอบ ตรงข้ามกับคอนกรีตที่มักจะปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศซึ่งส่งผลต่อภาวะโลกร้อน จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ไม้แปรรูปเป็นวัสดุก่อสร้างและก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนเกิดการจุดประกายที่จะสร้างอาคารโครงสร้างไม้ให้มีขนาดและความสูงเทียบเท่ากับตึกระฟ้าทั่วไปขึ้นมา ดังเช่นเมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้มีโครงการสร้างตึกไม้ที่มีความสูง 100 ชั้น ใจกลางกรุงลอนดอน รวมถึงโครงการตึกไม้สูง 40 ชั้นที่กรุงสตอกโฮม

-1x-1 (2)

กระแสความร้อนแรงของการสร้างอาคารไม้ได้แพร่กระจายจากทวีปยุโรปไปสู่อเมริกาเหนือ โดยเมื่อปี 3 ปีที่ผ่านมา Michael Green สถาปนิกเมืองแวนคูเวอร์ได้พูดถึงวัสดุไม้เพื่อการก่อสร้างในรายการทอล์คโชว์ TED Talk ซึ่งก็ได้รับความนิยมจนมียอดเข้าชมทะลุ 1 ล้านครั้ง และถัดมาในปีเดียวกัน SOM บริษัทสถาปนิกชื่อดังจากชิคาร์โก้ก็ได้เผยแบบร่างโครงสร้างตึกไม้สูง 42 ชั้นสู่สายตาสาธารณชนเช่นกัน และล่าสุดเมื่อปีที่มาหน่วยงานเกษตรของสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการอนุมัติให้ไปทำงานบนตึกไม้ระฟ้าที่นครนิวนิวยอร์คและเมืองพอร์ตแลนด์ในรัฐโอไรก้อนอีกด้วย

นอกจากนี้ Jeff Merkley วุฒิสมาชิกประจำรัฐโอไรก้อนยังมีแผนสนับสนุนเงินทุนวิจัยไม้ CLT โดยให้เหตุผลว่าไม้แปรรูปดังกล่าวมีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ส่งผลช่วยขยายตลาดวัสดุก่อสร้างจากการใช้ในงานก่อสร้างบ้านอยู่อาศัยไปสู่อาคารไม้ที่มีขนาดโครงสร้างใหญ่โตมากขึ้น พร้อมทั้งช่วยต่อการจ้างงานเพิ่มช่วยกระตุ้นเศรฐกิจได้อีกทางหนึ่ง

ความท้าทายต่อไปคือการเชิญชวนให้หน่วยงานผู้ดูแลอาคารก่อสร้างทั่วโลกได้ยอมรับการใช้ไม้แปรรูปเป็นวัสดุสำหรับโครงสร้างอาคาร ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าไม้แปรรูปมีคุณสมบัติทนต่อไฟและมีความคงทนแข็งแรงไม่แพ้เหล็กหรือคอนกรีต สามารถใช้งานได้อย่างยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงยังสามารถตอบโจทย์สภาพงานก่อสร้างได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานเช่น คนที่ต้องการอยู่อาศัยและทำงานในอาคารไม้สูง ทั้งนี้อาจต้องใช้เวลาอีกสักระยะเพื่อให้ไม้แปรรูปเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก

source : bloomberg

Previous article‘Venticello’ คอลเล็คชั่นใหม่ล่าสุดจาก วิลเลรอย แอนด์ บอค รุกตลาดธุรกิจสุขภัณฑ์หรู
Next articleแลนดี้โฮม ลุยเปิดสำนักงานขายแห่งใหม่บนถนนรามอินทรา รับการเติบโตของเมืองและความต้องการด้านที่อยู่อาศัย
วีรศักดิ์ ประสพบุญ
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยปฏิบัติงานเป็นนักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านรถเพื่อการพาณิชย์ การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม