นักออกแบบชาวเยอรมัน เผยไอเดียสร้างกระจกสำหรับติดตั้งในมุมโค้งรูปแบบใหม่ “ C–C” โดยบริเวณส่วนรอยต่อของกระจกแต่ละบานนั้น จะโค้งเป็นรูปตัว C ทำมุมชิดกันพอดีไร้ช่องว่าง สร้างอิสระให้สถาปนิกและนักออกแบบปรับแต่งมุมกระจกได้ตามความต้องการ ให้ความสวยงามลงตัวบนราคาที่คุ้มค่ากว่ากระจกโค้งทั่วไป

ในปัจจุบันนี้ เหล่าสถาปนิกและนักออกแบบจำนวนมาก ต่างเลือกใช้กระจกโค้งเป็นวัสดุในการตกแต่งโครงสร้าง ซึ่งการสร้างกระจกโค้งส่วนใหญ่ จะมีขนาดและมุมโค้งที่แตกต่างกันออกไปตามรายการสั่งของ และมักจะมีลักษณะเป็นกระจกแผ่นเดียวที่ขึ้นรูปทรงจากเบ้าแม่พิมพ์แบบพิเศษที่สั่งทำเฉพาะ เพื่อให้กระจกมีความโค้งพอดีกับตำแหน่งติดตั้ง ส่งผลให้กระจกโค้งมีค่าผลิตที่แพงมหาศาล เหล่าสถาปนิกจึงได้หาทางออกด้วยการเลือกใช้กระจกบางขนาดเล็กทรงตัว U หลายชิ้นต่อกันในส่วนบริเวณโค้ง ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้มีราคาถูกลงได้ แต่ก็ยังมีข้อบกพร้องคือ จะเกิดช่องว่างที่บริเวณรอยต่อของกระจก ดูไม่สวยงาม และขาดประสิทธิภาพด้านการใช้งาน

glass-samples-005

ด้วยเหตุนี้ Holger Jahns นักออกแบบชาวเยอรมัน จึงได้คิดค้นวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการสร้างกระจก “ C–C” ซึ่งเป็นกระจกรูปแบบใหม่ที่มีรอยต่อโค้งเป็นรูปตัว C เมื่อนำกระจกสองแผ่นมาเรียงต่อกันจะทำมุมชิดกันพอดี ไม่เกิดช่องว่างขณะติดตั้งเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังสามารถทำมุมต่างๆ ตามความคิดของผู้ออกแบบได้อย่างอิสระอีกด้วย

DETAIL ทีมงานวิจัยจากมิวนิค ได้เคยนำเสนอคุณสมบัติของกระจก “C–C” ในงาน Glasstec 2014 ที่เมืองดึสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี เมื่อปีที่ผ่านมา เผยให้เห็นว่า กระจกรุ่นต้นแบบของ Holger Jahns นั้น มีลักษณะ หลายประเภทให้เลือกใช้ตามการใช้งาน สำหรับการติดตั้งตามความโค้งในแต่ละมุม ซึ่งนับว่าเป็นทางเลือกที่มีราคาถูกกว่าการติดตั้งกระจกโค้งในรูปแบบอื่นๆ แต่กลับสามารถนำไปประยุกต์ติดตั้งในมุมองศาที่หลากหลายตามการดีไซน์ได้อิสระ ส่งผลให้สถาปนิกและนักออกแบบ จะมีอิสระในการปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตามความต้องการได้ แม้ว่าจะดำเนินการสั่งซื้อกระจกมาแล้วก็ตาม

Source : archdaily

01intersecting-walls

12material-combination

glass-samples-007 glass-samples-006 glass-samples-004 glass-samples-003 glass-samples-002 09extrusion-types 08transparent-insulation 06wallsNpillar 05exchange 04array-options02 03array-options01

Previous articleภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: แล้วเราจะทำไงดี
Next articleเหล่าดีไซเนอร์ดัง เปิดใจ ‘สิ่งที่อยากได้จากรั้วโรงเรียน ก่อนก้าวสู่ชีวิตการทำงาน’
วีรศักดิ์ ประสพบุญ
Content Writer เว็บไซต์ Builder News สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เคยปฏิบัติงานเป็นนักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นนักเขียนและผู้สื่อข่าวด้านรถเพื่อการพาณิชย์ การก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ และสถาปัตยกรรม