ด้วยความพยายามของนักวิจัยทั้งหลายที่พยายามวิจัย คิดค้น และพัฒนา นวัตกรรมวัสดุทดแทน หรือวัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ขึ้นมา ให้เรานำมาใช้งานอยู่เสมอ วันนี้จึงขอนำไอเดียนวัตกรรมที่แปลกๆ และน่าสนใจมาเป็นไอเดียสร้างแรงบันดาลใจกับกลุ่มผู้อ่านกันบ้าง

อุปกรณ์ที่เปลี่ยนปัสสาวะให้กลายเป็นเครื่องดื่ม

1Beer-Made-From-Urine-889x666

กลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกนต์ ในประเทศเบลเยียม ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนน้ำปัสสาวะให้กลายเป็นน้ำดื่มได้ โดยกระบวนการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นนี้ เริ่มด้วยการใช้ความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ต้มปัสสาวะที่ถูกเก็บไว้ในแท็งก์น้ำขนาดใหญ่ น้ำดังกล่าวจะถูกผ่านกระบวนการกลั่นภายในเครื่อง ได้เป็นน้ำบริสุทธิ์ที่สามารถดื่มได้ ในขณะที่ธาตุที่อยู่ในปัสสาวะ อาทิ โปแตสเซียม และฟอสฟอรัส จะถูกนำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป

ทางทีมวิจัยได้ทดลองนำอุปกรณ์ดังกล่าวไปจัดแสดงที่งานเทศกาลภาพยนตร์และดนตรีในเมืองเกนต์ ซึ่งผลที่ได้ก็คือ
มันสามารถเปลี่ยนปัสสาวะของผู้ที่มาร่วมงานให้กลายเป็นน้ำดื่มปริมาณ 1,000 ลิตร ซึ่งน้ำที่ได้นี้จะถูกนำไปใช้ผลิตเบียร์ต่อไปด้วย ซึ่งทีมนักวิจัยหวังว่ากรรมวิธีดังกล่าวจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เพื่อช่วยผลิตน้ำสำหรับดื่มได้

Via: inhabitat

แปรรูปขยะพลาสติกให้กลายเป็นอิฐบล็อค

1ByFusion-RePlast-recycled-plastic-blocks-1020x610ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทรนับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของโลก ซึ่งส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากพยายามจะหาวิธีที่จะกำจัดขยะดังกล่าว ด้วยการนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ล่าสุดบริษัทสตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกา ByFusion ซึ่งนำโดย Peter Lewis นักประดิษฐ์ชาวนิวซีแลนด์ ได้คิดค้นวิธีการรีไซเคิลขยะพลาสติกในมหาสมุทรให้เป็นก้อนอิฐบล็อคสำหรับการก่อสร้างที่แข็งแรงทนทาน ที่ถูกเรียกว่า ‘Replast’

กระบวนการดังกล่าวเริ่มจากการใช้เครื่องจักรอัดเศษพลาสติกให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ และมีความหนาแน่นได้ตามต้องการ โดยระบบการแปรรูปนี้ถูกออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้า และไม่จำเป็นต้องคัดแยกและทำความสะอาดขยะพลาสติกแต่อย่างใด นอกจากนี้ กระบวนการแปรรูป ‘Replast’ ไม่ส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ไม่มีสารพิษตกค้าง และสามารถนำไปใช้ในงานก่อสร้าง ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ ขณะนี้ก้อน ‘Replast’ ถูกออกแบบให้ใช้เพื่องานก่อสร้างกำแพงเท่านั้น แต่ในอนาคตจะมีการพัฒนารูปแบบให้สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการที่สามารถกำจัดขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ แถมยังมีสีสันที่สวยงามกว่าก้อนอิฐทั่ว ๆ ไปอีกด้วย

Via: inhabitat

แบตเตอรี่กราฟีนชาร์จไฟเร็ว ใช้งานได้ตลอดกาล

1Graphene-super-battery-2-1020x609นักวิจัยชาวจีน Lin Han แห่งมหาวิทยาลัย Swinburne ประเทศออสเตรเลีย ได้พัฒนาแบตเตอรี่ที่สร้างขึ้นจากวัสดุคาร์บอนที่เรียกว่า ‘กราฟีน’ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวัสดุที่แข็งที่สุดในโลก แบตเตอรี่นี้สามารถชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็วและใช้งานได้ตลอดกาล โดยยังคงประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ไว้เช่นเดิม มีประสิทธิภาพดีกว่าแบตเตอรี่อิออนลิเธียม ซึ่งใช้เวลาในการชาร์จนาน อายุการใช้งานสั้น และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

1Graphene-structure-1020x610

เป็นเวลานานหลายปีที่นักวิจัยทั่วโลกพยายามเพิ่มศักยภาพของตัวเก็บประจุยิ่งยวด (supercapictor) แต่จากการทดลองมักจะพบข้อจำกัดในเรื่องความจุของหน่วยเก็บข้อมูล แต่ล่าสุด Han ได้แก้ปัญหานี้ได้โดยการเพิ่มแผ่นกราฟีนซึ่งมีพื้นผิวที่ใหญ่สำหรับเก็บพลังงาน อีกทั้งยังแข็งแรงและสามารถยืดหยุ่นได้ในเวลาเดียวกัน โดยเขาได้ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติในการสร้างแผ่นกราฟีน ส่งผลให้สามารถเก็บพลังงานในปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแบตเตอรี่กราฟีนนี้จะมาแทนแบตเตอรี่ของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน หรือแม้กระทั่งรถยนต์ในอนาคตอีกด้วย

Via: inhabitat

‘Ice Bear’ เครื่องปรับอากาศรักษ์โลก

1Ice-Bear-residential-duct-vs-ductlessIce Energy บริษัทด้านพลังงานในแคลิฟอร์เนีย ได้คิดค้นนวัตกรรมเครื่องปรับอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงานที่มีชื่อว่า ‘Ice Bear’ ซึ่งเป็นระบบทำความเย็นที่เกิดจากคอนเซ็ปต์ง่าย ๆ จากหลักการการใช้น้ำแข็งช่วยทำให้อากาศเย็นลงได้ โดยนำน้ำแข็งมาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีอัฉริยะที่สามารถตอบสนองความต้องการของโลกในยุคปัจจุบัน ทำให้สามารถติดตั้งได้ทั้งในบ้านและอาคารพาณิชย์ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเครื่องปรับอากาศแบบเดิม

1Ice-Bear-30-commercial-unit-1020x610

เครื่องปรับอากาศ ‘Ice Bear’ จะช่วยลดกำลังการใช้ไฟฟ้าได้มากถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลให้สามารถประหยัดพลังงานได้ 40 เปอร์เซ็นต์ โดยระบบจะผลิตน้ำแข็งเพื่อสร้างความเย็นและคงความเย็นได้นานถึง 4 ชั่วโมง โดยไม่ต้องอาศัยการทำงานของคอมเพรสเซอร์แต่อย่างใด สามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยรีโมทในระยะไกลได้ อีกทั้งยังมาพร้อมคุณสมบัติการแสดงข้อมูลกราฟการใช้พลังงานให้เจ้าของบ้านได้ทราบอีกด้วย

Via: inhabitat

นิตยสาร Builder Vol.35 SEPTEMBER 2016

Previous articleE-Newsletter Vol.10
Next articleจิบกาแฟยามบ่ายไปกับ ‘Paras Cafe’ ที่ให้คุณผ่อนคลายเหมือนลอยล่องอยู่กลางทะเล
หนึ่งฤทัย คาทุสเซฟสกี้
นักเขียนนิตยสาร Builder สำเร็จการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโทจากคณะการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง อดีตนัก Marketing ที่ปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นนักเขียน และนักแปลอิสระ ให้กับนิตยสารและบริษัทต่าง ๆ