ต้นกำเนิดของความเสมือนจริง ผ่านการใช้เฮดเซ็ตส์และระบบซอฟแวร์ในการทำงาน บริษัทด้านสถาปัตกรรมหลายแห่งเริ่มหันมาใช้ Visual Reality เพื่อเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการออกแบบให้มีความเสมือนจริงมากขึ้น เมคานู บริษัทสัญชาติดัชท์ (Dutch Firm Mecanoo) ให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์อันหลากหลายจากการใช้ VR (Visual Reality) ครอบคลุมมุมมองพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน ลูกค้าจะได้สัมผัสกับภาพเสมือนจริงผ่านเฮดเซ็ตส์ระบบ 3D ได้อย่างเต็มที่

เพื่อให้เข้าใจถึงข้อดีของเจ้าตัว VR มากขึ้น เราจะพาคุณไปพูดคุยกับ โจฮาน ฮาเนแกรฟ (Johan Hanegraaf) สถาปนิกและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการออกแบบแห่ง Mecanoo คุณสามารถอ่านบทสัมภาษณ์ได้ที่ข้างล่างนี้ และดูรูปภาพประกอบได้ที่เว็บไซต์ Meconoo


ครั้งแรกที่คุณเปิดตัว Visual Reality คุณทำให้ทุกคนรู้จักมันได้อย่างไร?

JH (Johan Hanegraaf): ตอนที่แว่นสามมิติ Oculus ออกมา ผมไว้คิดว่ามันสามารถนำมาใช้ต่อยอดทำให้เกิดเฮดเซ็ตส์ VR ที่มีประโยชน์ต่อการทำงานในชีวิตประจำวันของเราได้

คุณช่วยบอกข้อดีของ VR สำหรับใช้ในสตูดิโอออกแบบหน่อยได้ไหม?
JH (Johan Hanegraaf): สำหรับสถาปนิกแล้ว คุณต้องจินตนาการรูปแบบโครงสร้างอาคารต่าง ๆ ผ่านจากประสบการณ์การออกแบบของคุณอยู่เสมอ เรามีวิธีมากมายในการนำเสนอไอเดียของเราไม่ว่าจะผ่านทางแผนภาพ หรือการทำเป็นอนิเมชั่น แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีวิธีไหนเลยที่จะทำให้เราเห็นพื้นที่จริงผ่านมุมมองของเราเอง แต่สำหรับเจ้าตัว VR นี้ ช่วยให้เราได้เข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยระบบดิจิตัลก่อนที่มันจะถูกสร้างให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจริง ๆ

ทีมออกแบบของ Mecanoo ใช้เฮดเซ็ทส์เพื่อที่จะเข้าถึงสิ่งปลูกสร้างในระบบ 3D บ่อยแค่ไหน?
JH (Johan Hanegraaf): ในแวดวงอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรม ไม่ค่อยรอบรู้ที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ได้เร็วเท่าที่ควรนัก แต่ตั้งแต่ที่เรานำ VR มาใช้เป็นเครื่องมือ พวกสถาปนิกก็เริ่มรู้สึกสนุกไปกับมันและเริ่มใช้เครื่องมือนี้ในการนำเสนอไอเดียออกแบบในที่ประชุมได้อย่างคล่องแคล่ว มันเป็นเรื่องดีที่ได้เห็นว่า VR สามารถช่วยให้สถาปนิกได้เข้าถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ นอกเหนือจากแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) ได้ดีมากขึ้น

คุณคิดว่าการทำโปรเจ็กส์ของคุณเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นจากการใช้ VR หรือไม่?
JH (Johan Hanegraaf): VR ช่วยให้เราได้เข้าถึงพื้นที่นั้นได้อย่างเต็มที่ เป็นเรื่องง่ายที่จะให้ทุกคนได้เห็นและสัมผัสถึงรูปแบบโครงสร้าง ทั้งในด้านความสูงของสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ว่าง หรือการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เหมือนที่ Francine พูดอยู่เสมอว่า ‘สถาปัตยกรรมควรเข้าถึงได้ในทุกประสาทสัมผัส’ สำหรับ VR แล้ว ความคิดริเริ่มในการออกแบบนั้นไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะในเรื่องของสิ่งที่คาดหวังไว้หรือจินตนาการที่ถูกสร้างขึ้น เราสามารถจำลองมันออกมาได้เสมือนจริง ให้คุณแชร์และปรับมุมมองความเข้าใจและความคิดเห็นต่าง ๆ ได้ในทุกการออกแบบ

คุณคิดว่า VR จะเปลี่ยนวิธีที่จะให้บริษัทด้านสถาปัตยกรรมได้มีส่วนร่วมกับลูกค้า สื่อ และบุคคลทั่วไปได้อย่างไร?
JH (Johan Hanegraaf): VR มีสมรรถภาพสูงที่จะให้ลูกค้าของคุณมีความเข้าใจในงานออกแบบที่ยังไม่ถูกสร้างเป็นรูปเป็นร่างได้ดียิ่งขึ้น มันช่วยให้เห็นว่าพื้นที่ที่ถูกออกแบบมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เราอาจจะได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมและมีส่วนร่วมกับลูกค้าอีกทั้งยังช่วยให้งานออกแบบของเรามีคุณภาพมากขึ้น ผมว่าอีกไม่นาน VR จะถูกพัฒนาให้เป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ลองคิดดูสิว่า VR สามารถแสดงภาพระยะและมุมมองโครงสร้างต่าง ๆ ในงานของเราให้กับผู้ชมได้อย่างกว้างขวาง และในที่สุด VR จะทำให้เราได้ดื่มด่ำไปกับการแสดงโครงสร้างอาคารต่าง ๆ ได้ดียิ่งกว่าสื่อ 2D ตัวเก่าของเราเสียอีก

คุณรู้สึกมั้ยว่าเฮดเซ็ตส์กำลังจะกลายเป็นเครื่องมือหลักของสถาปนิกในอีกไม่ช้านี้?
JH (Johan Hanegraaf): ผมคิดว่า VR ได้กลายเป็นเครื่องมือหลักของงานสถาปัตยกรรมแล้วล่ะ มันเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงงานออกแบบได้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น และการที่คุณได้สัมผัสพื้นที่นั้นได้อย่างเสมือนจริงก็เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ของการทำงานด้านนี้เหมือนกัน แต่ติดที่ว่าผู้คนที่ยังคงสวมเฮดเซ็ตส์นี้จะตัดขาดออกจากประสบการณ์ที่คนอื่นได้สัมผัสมา และนี่ก็จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ยังคงต้องพัฒนากันอยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้ทุกคนได้มีประสบการณ์ร่วมกันมากขึ้น

แล้วนักศึกษาและสถาปนิกจะเริ่มใช้เจ้าตัว VR นี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งการทำงานได้อย่างไร?
JH (Johan Hanegraaf): ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมมากมายที่สามารถผลิตสเตอริโอ พาโนรามาส์ได้แล้ว ดังนั้น มันค่อนข้างที่จะง่ายในการแผ่ขยายกระบวนการออกแบบ 3D ผ่าน VR โดยการใช้สมาร์ทโฟนและโมบายล์ วิวเวอร์ เหมือนกับการใช้ Google Cardboard ถ้าคุณอยากสัมผัสมันได้อย่างเต็มที่ มีแหล่งออนไลน์มากมายที่สามารถให้ข้อมูลคุณเกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นและวิธีการจำลองแบบเรียล-ไทม์ในงานด้านสถาปัตยกรรม

คุณคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับ VR ในอีกสองสามปีข้างหน้า?
JH (Johan Hanegraaf): ผมคิดว่า VR จะเปลี่ยนแปลงวิธีการออกแบบของเรา เครื่องมือการออกแบบระบบดิจิตัลจะเริ่มซับซ้อนและมีสมรรถภาพดียิ่งขึ้นทุกปี เครื่องมือจะมีหน้าที่ออกแบบโดยอัตมัติ ปรับปรุงการใช้งานร่วมกันและช่วยแพร่ขยายผลผลิต 3D มากขึ้น พวกเราส่วนใหญ่จำเป็นต้องผันตัวเป็นโปรแกรมเมอร์ที่คอยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างเต็มกำลัง ผมฝันอยากให้เครื่องมือต่าง ๆ ใช้งานง่ายกว่านี้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมผมถึงพัฒนาแอพพลิเคชั่นออกแบบ มีชื่อว่า ArchiSpace ที่ปัจจุบันเรากำลังทำการทดลงอยู่ที่ Mecanoo ในแอพพลิเคชั่นสำหรับ VR นี้ ผมพยายามรวบรวมวิธีการทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น การสเก็ตภาพ และการสร้างโมเดลผ่านเครื่องมือคำนวณ ระยะการปฏิสัมพันธ์กับระบบดิจิตัลจะเริ่มเป็นไปอย่างธรรมชาติพร้อมกับตัว VR/AR ดังนั้น ผมหวังว่าแอพพลิแคชั่นของผมจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับสถาปนิกหลาย ๆ คน ที่จะทำให้เห็นมุมมองมากกว่าภาพจำลองเสมือนจริงและสามารถเข้าใจถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

Source : designboom

Previous articleเปิดโลกทัศน์กับ Guangzhou Electrical Building Technology งานเทคโนโลยีวัสดุก่อสร้างครั้งที่ 14
Next articleดูลักซ์ ขยายธุรกิจในกลุ่มผลิตภัณฑ์สี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามืออาชีพ
Builder News
กองบรรณาธิการเว็บไซต์ Builder News - ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่มาพร้อมกับการรับข่าวสารในรูปแบบใหม่ ทั้งจากสื่อออนไลน์ และโซเชี่ยลมีเดีย เว็บไซต์ Builder News จึงถือกำเนิดขึ้น แตกย่อยออกมานอกเหนือจากนิตยสาร Builder โดยเน้นนำเสนอเรื่องราวในวงการก่อสร้าง การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การออกแบบตกแต่ง ตลอดจนความรู้เรื่องวัสดุอย่างครบวงจร ที่มุ่งถึงกลุ่มผู้อ่านออนไลน์มากยิ่งขึ้น