โลกร้อน มลภาวะ สังคม ตึก งานออกแบบ วัสดุก่อสร้าง
6 คำที่ไม่ดูจะไม่มีความเชื่อมโยง แต่จริง ๆ แล้วทั้งหมดนี้คือ cycle  ที่เกี่ยวโยงกันเป็นทอด ๆ จากวิกฤตการณ์ก๊าซคาร์บอนที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนกลายเป็นสถานการณ์ที่ผู้คนในสังคมให้ความสำคัญ
Wazzadu World 2025 ฟอรัมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์คาร์บอนต่ำเพื่อการขับเคลื่อนสุขภาวะที่ดี นอกจากช่วงสัมมนาวิชาการทั้ง 11 เซสชั่น ที่ได้ 17 สปีกเกอร์จากหลากหลายวงการไม่ว่าจะเป็น วงการออกแบบ-ก่อสร้าง หรือวงการอสังหาริมทรัพย์ แม้แต่ในแวดวงการศึกษาก็ดี Wazzadu World 2025 มี Showcase ผลิตภัณฑ์หลากหลายที่มีส่วนช่วยสนับสนุนเทรนด์ wellness ที่ขนทัพมาพร้อมนวัตกรรมวัสดุและโซลูชันสำหรับการออกแบบ-ก่อสร้างยุคใหม่  

การออกแบบในธรรมชาติ

จาก 11 เซสชั่นเสวนาที่ว่าด้วยอสังหาริมทรัพย์คาร์บอนต่ำ หรือกรณีศึกษาจากต่างประเทศ เซสชันไฮไลท์ที่พลาดไม่ได้ซึ่งได้สปีกเกอร์อย่างคุณยศพล บุญสม จากสตูดิโอออกแบบ Shma Company Limited  ร่วมกับคุณไพลิน อินทร จาก Nikken Sekkei Thailand ภายใต้หัวข้อ ‘การใช้วัสดุและการออกแบบสถาปัตย์ฯ เชิงรับอย่างยั่งยืน’

ว่าด้วยธรรมชาติหรือพื้นที่สีเขียวและอาคารหรือที่อยู่อาศัย จากแนวคิด Shma Sustainability Guildline ประกอบไปด้วย

  1. Health and Wellbeing
  2. Inclusive and Community
  3. Landscape Biodiversity
  4. Water Management
  5. Circularity

จากพื้นฐาน Passive Design หรือ Eco Design ที่เข้ามามีบทบาทในการออกแบบ ก่อนที่คำถามต่อมาคือ ผู้คนใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติอย่างไร เช่น การสร้างบ้านทรงไทยที่มีการระบายความร้อนแนวตั้ง และแนวขนานโดยยกใต้ถุนสูงและเพิ่มช่องอากาศในหลังคา

เสน่ห์ของวัสดุ

     ต่อมาในเซสชั่นบ่าย ส่งท้ายด้วยงานด้วยไฮไลท์ประจำ Wazzadu World เสวนาในหัวข้อ ทิศทางสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมวัสดุคาร์บอนต่ำ ในปี 2025-2026 ที่ขนทัพสถาปนิกจาก 3 สดูดิโอ ได้แก่ คุณไพทยา บัญชากิติคุณ จาก ATOM Design คุณณัฐพล เตโชพิชญ์ จาก Looklen Architects และ คุณณัฐพงศ์ เพียรเชลงเอก จาก Gooseberry Design ร่วมกับ ดร. พชรพร พนมวัน ณ อยุธยา จาก Baramizi International  

     การก้าวเข้ามาของสังคมคาร์บอนต่ำและการออกแบบเกี่ยวข้องกันอย่างไร ทาง ATOM Design ให้ทัศนะในเรื่องนี้ว่าสามารถต่อยอดไปถึงสุขภาวะที่ดีได้ ซึ่งเป็นผลประโยชน์จากสังคมคาร์บอนต่ำ ครอบคลุมถึงเทรนด์ wellness และ Ecosystem ที่ผู้คนในสังคมตระหนักรู้มากขึ้น สังคมคาร์บอนต่ำ นั้นควบคู่มากับความสร้างสรรค์ โดยความสร้างสรรค์ก็มาพร้อมการรักษ์โลกได้ Looklen Architects ทำงานภายใต้แนวคิดที่ว่า ‘สถาปนิกอยู่ตรงกลางในกระบวนการทำงาน’ จากผลงานการออกแบบ Thematic Pavilion ‘Raw Line’ ที่งานสถาปนิก’68 
Thematic Pavilion: Looklen Architects x S-ONE ณ งานสถาปนิก’68

     เช่นเดียวกับ Gooseberry Design ที่คุณณัฐพงศ์มุ่งเน้นไปที่วัสดุก่อสร้าง Raw Materials ผสมผสานเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ ออกแบบโดยคำนึงถึงการสร้างความรู้สึกจากธรรมชาติจริง ๆ ผสานกับเน้นแสงธรรมชาติ เน้นแสดงความดิบของวัสดุจากธรรมชาติเป็นหลัก

Previous articleHKTDC สร้างโอกาสทางธุรกิจไร้ขีดจำกัด ด้วยงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ 4 งานในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี 2568 ที่ฮ่องกง เพื่อเสริมสร้างการค้าทวิภาคีระหว่างฮ่องกงและประเทศไทย