“Burnt Cork” เฟอร์นิเจอร์ไม้คอร์ก
ที่ฟื้นคืนชีพจากเถ้าถ่าน

650

ได้ยินครั้งแรกรู้สึกเซอร์ไพร์สสุด ๆ เลยใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งไม้คอร์กที่เมื่อครั้งหนึ่ง Burnt Cork เคยเป็นเพียงฉนวนกันไฟให้ต้นไม้รอดจากไฟป่า จนเหลือทิ้งไว้เพียงเศษไหม้ดำในชนบทของประเทศโปรตุเกส จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ ด้วยฝีมือของ Made In Situ ดีไซน์สตูดิโอจากโปรตุเกส

Burnt Cork มีแนวคิดจากกระบวนการแปรรูปไม้คอร์ก และเห็นเปลือกไม้คอร์กโอ๊กไหม้ดำมากมายที่ถูกกองทิ้งไว้มากมาย จากการที่ทีมงานได้เริ่มทำการเยี่ยมชมและพบปะกับช่างฝีมือในชุมชนที่ยังทำอุตสาหกรรมไม้คอร์กของโปรตุเกส ซึ่งเป็นหัตถอุตสาหกรรมผลิตบล็อกไม้คอร์กสำหรับเป็นฉนวนในงานสถาปัตยกรรม

จนกระทั่ง Noé Duchaufour-Lawrance นักออกแบบชาวฝรั่งเศส ผู้ก่อตั้ง MADE IN SITU ได้นำเศษซากไม้เหล่านี้ มาสร้างเป็นวัสดุใหม่จากเศษไม้คอร์กไหม้ โดยอาศัยกระบวนการดั้งเดิมของ NF Cork ให้มากที่สุด กระบวนการสร้างสรรค์เริ่มต้นด้วยการทดลองขึ้นรูปบล็อกไม้คอร์กจากเศษเหลือ agglomerated cork โดยใช้แรงอัดและสารยึดเกาะ แทนการขึ้นรูปแบบไม้คอร์กธรรมชาติ ซึ่งการพัฒนากระบวนการนี้คือหัวใจสำคัญ และใช้เวลานานถึง 2 ปี

ความโดดเด่นของ Burnt Cork อยู่ที่การทำบล็อกไม้คอร์กด้วยมือ จะทำให้เกิดการไล่เรียงของผิวสัมผัสที่หยาบกระด้าง ซึ่งเกิดจากเปลือกส่วนที่ไหม้เป็นถ่าน ไปสู่ผิวสัมผัสเรียบเนียน และการขึ้นรูปเฟอร์นิเจอร์ บล็อกแต่ละก้อนที่ต่อกันกลายเป็นโครงสร้างหลักของชิ้นงาน ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีศาสตร์แห่งศิลป์อย่างเครื่อง CNC 7 แกน ซึ่งมีศักยภาพในการขึ้นรูปประติมากรรม

ในคอลเลกชันประกอบด้วย โต๊ะ เก้าอี้เลาจน์แชร์  เก้าอี้เดย์เบด และเก้าอี้สตูล เฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้น มีผิวสัมผัสที่ไล่จากความหยาบกระด้างขึ้นไปสู่ผิวสัมผัสที่เนียนละเอียด ในรูปทรงโค้งเว้า

นอกจากนี้  Burnt Cork ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์การคืนชีพจากเถ้าถ่าน ที่ตระหนักถึงความเป็นได้จากเศษไม้คอร์กไหม้ ที่บอกเล่าการใช้งาน พร้อมเชิญชวนให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับร่างกายมนุษย์

Source

https://blog.123.design/design/sustainable-furniture/

https://madeinsitu.com/collections/burnt-cork/

Previous articleEditor’s Choice: 7 ไอเทมเพื่อสุขภาพจาก Bewell สำหรับชาว Work from Home
Next articleทีทีเอฟ เตรียมจัดงาน “สถาปนิก’65” ยิ่งใหญ่จัดเต็ม 3 ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็คฯ
พร้อมอัดแน่นกิจกรรมมากมาย
จิตรกมล ขวัญแก้ว
สาวขี้อาย จบการศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ที่ชอบแสงแดดยามบ่าย ไอซ์ลาเต้ และเต็มเปี่ยมไปด้วยความสนใจทางด้านสถาปัตยกรรม